เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล http://www.thaigov.go.th เผยแพร่ภารกิจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ ห้องเชียงแสน ชั้น 3 โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานมอบนโยบายแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และ 2 และภาคเอกชน ในเรื่อง “การพัฒนาภาคเหนือตอนบนในภาพรวม” โดยมีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคเอกชน เข้าร่วมการประชุม
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติราชการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ในการวิเคราะห์ศักยภาพและตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด และการปลูกป่าและพื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เป็นผู้แทน ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวอวยพรปีใหม่ 2556 พร้อมมอบของที่ระลึกแด่นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบโอวาท พร้อมอวยพรปีใหม่แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนว่า ความสุขของนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงที่เราทุกคนได้สามัคคีกันร่วมมือกันทำงานเพื่อประเทศ โดยการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมารัฐบาลทำเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ ต้องการพลังที่เกิดจากการขับเคลื่อนของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่จะทำให้นโยบายต่าง ๆ กลับไปสู่ประชาชน สำหรับการทำงานปี55 ที่ผ่านมานี้มองว่าดีขึ้นกว่าปี 54 แต่เป็นการทำงานที่หนักขึ้น เพราะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เป็นผลพวงจากสถานการณ์อุทกภัยในปี54 ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน และหน่วยงานทุกกระทรวงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่ทำให้เราพร้อมใจกันสามารถกู้สถานการณ์ได้ในไตรมาสที่ 3
ทั้งนี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 จะดีขึ้น ซึ่งเกิดจากพลังที่เราทำงานร่วมใจกัน เหน็ดเหนื่อยกันมาตลอดทั้งปีอันเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจ ขณะที่มีสิ่งที่น่าเห็นใจหน่วยงานราชการคือ ทุกครั้งที่มีวันหยุด หน่วยราชการก็ไม่สามารถหยุดได้เพราะต้องทำหน้าที่ดูแลความทุกข์ยากของประชาชนและเป็นหน้าที่ของทุกคน ซึ่งหวังว่าความทุ่มเทเสียสละของทุกคนที่มีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ต่อความสุขของคนไทย จะส่งผลที่จะกลับมาให้พวกเราทุกคนมีแต่ความสุข รวมถึงส่งผลถึงพลังความมุ่งมั่นของทุกคนที่จะต่อยอดเป็นพลังในการทำงานต่อไปในปี 2556
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขอให้ปี 2556 เป็นปีที่เราทุกคนมีแต่ความสุข มีรอยยิ้ม โดยขอให้ทุกหน่วยงานทั่วประเทศน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 มาร่วมกันทำให้คนไทยอยู่กันด้วยความรัก ความเมตตาธรรม คิดร่วมกันในการที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย ก้าวสู่ความมั่นคงได้ และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทุกคนเคารพนับถือ และขอพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้คุ้มครองดลบันดาลให้ทุกคนมีแต่ความสุขความสำเร็จ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง จะได้เป็นกำลังใจในการร่วมกันสร้างความเจริญให้กับประเทศต่อไป
สำหรับการมอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติราชการการประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. การบูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด
1.1 ขอให้ สศช. และผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศและยุทธศาสตร์ของอาเซียน โดยให้ สศช.กำหนดรูปแบบ ให้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกภาพ
1.2 ขอให้จังหวัดแปลงยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัด ในปี 2556-2557 สู่การดำเนินการระยะยาว ทั้งนี้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มกราคม 2556
2. ข้อเสนอแนะของนายกรัฐมนตรีต่อการวิเคราะห์ศักยภาพและตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด
2.1 จังหวัดพิษณุโลก หากมีความประสงค์จะทำวิจัยด้านการเกษตรต้องทำในสินค้าทางการเกษตรที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด และขอให้ดูรายงานการวิจัยด้านการเกษตรของหน่วยงานอื่น ๆ เทียบเคียง เช่น กรมการข้าว เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน
2.2 จังหวัดขอนแก่น การกำหนด positioning ของจังหวัดจะต้องกำหนดให้เหมาะสม คำนึงถึงจุดเด่นของจังหวัด เช่น เมืองผ้าไหม โดยยุทธศาสตร์ของจังหวัดควรเอื้อประโยชน์ต่อจังหวัดข้างเคียง
2.3 จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอให้จังหวัดฉะเชิงเทรา นำข้อได้เปรียบเรื่องการมีระบบรถไฟรางคู่ ซึ่งมีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างผ่านจังหวัด มากำหนดเป็นแผนงานโครงการของจังหวัดให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และการเชื่อมโยงระบบการขนส่งสินค้าเข้ากับการขนส่งมวลชนโดยระบบรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งการลดความแออัดของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยองมายังจังหวัดฉะเชิงเทรา
2.4 จังหวัดภูเก็ต ขอให้จังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญกับปัญหาความแออัดพื้นที่ โดยขอให้พิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งเอื้อกับจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้มีการกระจายการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดข้างเคียง และให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยว Hi Spending ซึ่งมีกำลังซื้อสูง
2.5 จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอให้จังหวัดกลับไปทบทวนแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับศักยภาพในการพัฒนาที่แท้จริงของจังหวัด
3. สินค้า OTOP (1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์)
ขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรมการพัฒนาชุมชน พิจารณาดำเนินการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ให้เหมาะสมกับกลุ่มของสินค้า OTOP ทั้ง 4 กลุ่ม ตามแนวทางที่วางไว้ ให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นฐานสนับสนุนข้อมูลผู้ประกอบการ OTOP ให้หน่วยงานอื่นเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป ในการนี้ให้กรมการพัฒนาชุมชนทำแบบสำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการถึงความต้องการในการพัฒนาสินค้า OTOP
4. การปลูกป่า และฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี)
ในการดำเนินการปลูกป่าตามโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษามหาราชินี ขอให้พิจารณาถึงปัญหาการรุกล้ำป่าสงวน เพื่อเสนอทางเลือกในการประกอบอาชีพแก่ประชาชน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะมีการใช้ดาวเทียมในการสำรวจเขตพื้นที่
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมพร้อมมอบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติราชการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ในการวิเคราะห์ศักยภาพและตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด และการปลูกป่าและพื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เป็นผู้แทน ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวอวยพรปีใหม่ 2556 พร้อมมอบของที่ระลึกแด่นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบโอวาท พร้อมอวยพรปีใหม่แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนว่า ความสุขของนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงที่เราทุกคนได้สามัคคีกันร่วมมือกันทำงานเพื่อประเทศ โดยการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมารัฐบาลทำเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ ต้องการพลังที่เกิดจากการขับเคลื่อนของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่จะทำให้นโยบายต่าง ๆ กลับไปสู่ประชาชน สำหรับการทำงานปี55 ที่ผ่านมานี้มองว่าดีขึ้นกว่าปี 54 แต่เป็นการทำงานที่หนักขึ้น เพราะต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เป็นผลพวงจากสถานการณ์อุทกภัยในปี54 ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน และหน่วยงานทุกกระทรวงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่ทำให้เราพร้อมใจกันสามารถกู้สถานการณ์ได้ในไตรมาสที่ 3
ทั้งนี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 จะดีขึ้น ซึ่งเกิดจากพลังที่เราทำงานร่วมใจกัน เหน็ดเหนื่อยกันมาตลอดทั้งปีอันเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจ ขณะที่มีสิ่งที่น่าเห็นใจหน่วยงานราชการคือ ทุกครั้งที่มีวันหยุด หน่วยราชการก็ไม่สามารถหยุดได้เพราะต้องทำหน้าที่ดูแลความทุกข์ยากของประชาชนและเป็นหน้าที่ของทุกคน ซึ่งหวังว่าความทุ่มเทเสียสละของทุกคนที่มีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ต่อความสุขของคนไทย จะส่งผลที่จะกลับมาให้พวกเราทุกคนมีแต่ความสุข รวมถึงส่งผลถึงพลังความมุ่งมั่นของทุกคนที่จะต่อยอดเป็นพลังในการทำงานต่อไปในปี 2556
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขอให้ปี 2556 เป็นปีที่เราทุกคนมีแต่ความสุข มีรอยยิ้ม โดยขอให้ทุกหน่วยงานทั่วประเทศน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 มาร่วมกันทำให้คนไทยอยู่กันด้วยความรัก ความเมตตาธรรม คิดร่วมกันในการที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย ก้าวสู่ความมั่นคงได้ และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทุกคนเคารพนับถือ และขอพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้คุ้มครองดลบันดาลให้ทุกคนมีแต่ความสุขความสำเร็จ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง จะได้เป็นกำลังใจในการร่วมกันสร้างความเจริญให้กับประเทศต่อไป
สำหรับการมอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติราชการการประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. การบูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด
1.1 ขอให้ สศช. และผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศและยุทธศาสตร์ของอาเซียน โดยให้ สศช.กำหนดรูปแบบ ให้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกภาพ
1.2 ขอให้จังหวัดแปลงยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัด ในปี 2556-2557 สู่การดำเนินการระยะยาว ทั้งนี้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มกราคม 2556
2. ข้อเสนอแนะของนายกรัฐมนตรีต่อการวิเคราะห์ศักยภาพและตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด
2.1 จังหวัดพิษณุโลก หากมีความประสงค์จะทำวิจัยด้านการเกษตรต้องทำในสินค้าทางการเกษตรที่เป็นจุดเด่นของจังหวัด และขอให้ดูรายงานการวิจัยด้านการเกษตรของหน่วยงานอื่น ๆ เทียบเคียง เช่น กรมการข้าว เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน
2.2 จังหวัดขอนแก่น การกำหนด positioning ของจังหวัดจะต้องกำหนดให้เหมาะสม คำนึงถึงจุดเด่นของจังหวัด เช่น เมืองผ้าไหม โดยยุทธศาสตร์ของจังหวัดควรเอื้อประโยชน์ต่อจังหวัดข้างเคียง
2.3 จังหวัดฉะเชิงเทรา ขอให้จังหวัดฉะเชิงเทรา นำข้อได้เปรียบเรื่องการมีระบบรถไฟรางคู่ ซึ่งมีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างผ่านจังหวัด มากำหนดเป็นแผนงานโครงการของจังหวัดให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกัน เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และการเชื่อมโยงระบบการขนส่งสินค้าเข้ากับการขนส่งมวลชนโดยระบบรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งการลดความแออัดของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยองมายังจังหวัดฉะเชิงเทรา
2.4 จังหวัดภูเก็ต ขอให้จังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญกับปัญหาความแออัดพื้นที่ โดยขอให้พิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งเอื้อกับจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้มีการกระจายการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดข้างเคียง และให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยว Hi Spending ซึ่งมีกำลังซื้อสูง
2.5 จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอให้จังหวัดกลับไปทบทวนแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับศักยภาพในการพัฒนาที่แท้จริงของจังหวัด
3. สินค้า OTOP (1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์)
ขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรมการพัฒนาชุมชน พิจารณาดำเนินการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ให้เหมาะสมกับกลุ่มของสินค้า OTOP ทั้ง 4 กลุ่ม ตามแนวทางที่วางไว้ ให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นฐานสนับสนุนข้อมูลผู้ประกอบการ OTOP ให้หน่วยงานอื่นเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป ในการนี้ให้กรมการพัฒนาชุมชนทำแบบสำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการถึงความต้องการในการพัฒนาสินค้า OTOP
4. การปลูกป่า และฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี)
ในการดำเนินการปลูกป่าตามโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษามหาราชินี ขอให้พิจารณาถึงปัญหาการรุกล้ำป่าสงวน เพื่อเสนอทางเลือกในการประกอบอาชีพแก่ประชาชน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะมีการใช้ดาวเทียมในการสำรวจเขตพื้นที่