เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – ประชาชนจีนเมื่อวันพฤหัสบดี (13) จัดพิธีรำลึกครบรอบ 75 ปีเหตุการณ์หฤโหดที่กองทัพญี่ปุ่นสังหารเช่นฆ่าประชาชนและข่มขืนสตรีชาวเมืองนานกิงจำนวนนับหมื่นนับแสนคน ขณะเดียวกับความขัดแย้งเรื่องอธิปไตยในยุคปัจจุบันก็ระอุขึ้นอีกครั้ง โดยโตเกียวส่งฝูงเครื่องบินขับไล่ไปยังหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ ภายหลังที่เครื่องบินจีนไปบินตรวจการณ์บริเวณนั้น
ผู้คนเกือบๆ 10,000 คนได้ร่วมกันร่วมร้องเพลงชาติจีนในพิธีรำลึกซึ่งจัดขึ้นที่ อนุสรณ์สถานการสังหารหมู่แห่งนานกิง (หนานจิง) ขณะที่ทหารวางพวงหรีดบนเวที มีผู้ขึ้นพูดปราศรัยกระตุ้นเตือนให้จดจำและเก็บรับบทเรียนจากอดีต พระจีนและญี่ปุ่นร่วมกันสวดภาวนาให้โลกมีแต่สันติภาพ และผู้เข้าร่วมงานพากันจุดเทียนสันติภาพ สักการะแด่ดวงวิญญาณของเหยื่อผู้ถูกสังหารหมู่
“เรามาร่วมชุมนุมกันในที่นี้เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ และไว้อาลัยให้แก่เพื่อนร่วมชาติที่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิต รวมทั้งเผยแพร่บทเรียนจากประวัติศาสตร์ให้ประชาชนได้รับทราบ” หยาง เหว่ยซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขานานกิง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลเพียงคนเดียวในงาน กล่าวปราศรัย
ทั้งนี้ จีนระบุว่า มีพลเรือนและทหาร 300,000 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ ข่มขืน และทำลายล้างในช่วง 6 สัปดาห์ตั้งแต่ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าสู่เมืองนานกิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 โดยที่ขณะนั้นนานกิงเป็นเมืองหลวงของจีน
แต่มีนักวิชาการต่างชาติบางคนให้ตัวเลขต่ำกว่านั้น เช่น โจนาธาน สเปนซ์ นักประวัติศาสตร์จีน ที่ประเมินว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีทหารและพลเมือง 42,000 คนถูกสังหาร และผู้หญิง 20,000 คนถูกขืนใจ ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแถลงผ่านเว็บไซต์ยอมรับเพียงว่า มีการสังหารพลเรือนจำนวนมากเกิดขึ้น แต่ยากที่จะระบุตัวเลขที่ถูกต้องได้
ทว่า นักการเมืองอนุรักษนิยมสุดขั้วบางคนของญี่ปุ่นถึงขั้นโต้แย้งว่า เหตุการณ์เลวร้ายในนานกิงดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเลย
อู่ จี้หนาน จากสถาบันเซี่ยงไฮ้เพื่อการศึกษาระหว่างประเทศ กล่าวว่า จีนต้องระแวดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มที่ญี่ปุ่นจะพยายามปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรุกรานของตนเองในช่วงสงคราม
จากการประเมินของจีน ปัจจุบัน ยังมีผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่นานกิงเหลืออยู่ไม่ถึง 200 คน หนึ่งในนั้นคือ หลี่ ซ่ง วัย 87 ปีที่เล่าว่า ไม่เคยลืมเหตุการณ์ที่ชาวบ้านต้องช่วยกันห้ามชายคนหนึ่งที่คว้ามีดจะไปฆ่าทหารญี่ปุ่นหลังจากภรรยาของตนถูกขืนใจ
“พวกเราที่รอดชีวิตมาได้กำลังล้มหายตายจากไปทุกปี แต่เราต้องช่วยกันจดจำต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์”
คาอิ ซาโตรุ บุตรชายของทหารญี่ปุ่นที่ประจำการณ์ในจีน เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมพิธีที่นานกิงปีนี้ ซึ่งมีทั้งนักศึกษา ทหาร และเจ้าหน้าที่จีน ตลอดจนถึงตัวแทนจากองค์การพัฒนาเอกชนแดนอาทิตย์อุทัย
“ผมมาที่นี่เพื่อยอมรับอาชญากรรมที่ทหารญี่ปุ่นสังหารประชาชน” ซาโตรุกล่าว
มีชาวจีน 2 คนเข้าไปทำร้ายผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นซึ่งไปทำข่าวพิธีรำลึก ก่อนที่ตำรวจในเครื่องแบบหลายคนจะเข้าไปขัดขวาง ทำให้ผู้สื่อข่าวคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัสอะไร
พิธีรำลึกครบรอบ 75 ปีของเหตุการณ์สังหารหมู่และข่มขืนแห่งเมืองนานกิงครั้งนี้ ยังมีขึ้นวันเดียวกับที่ญี่ปุ่นส่งฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-15 ไปยังหมู่เกาะเซงกากุ หลังจากเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของจีนลำหนึ่งบินเข้าไปในน่านฟ้าบริเวณดังกล่าว
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุว่า แม้เรือของทางการจีนเข้า-ออกน่านน้ำรอบหมู่เกาะเซงกากุ ซึ่งชาวจีนเรียกว่าเตี้ยวอี๋ว์เป็นประจำมากว่า 2 เดือน แต่นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1958 ซึ่งกองกำลังญี่ปุ่นเริ่มตรวจตราบริเวณดังกล่าว ที่พบว่าเครื่องบินของทางการจีนรุกล้ำน่านฟ้าญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม หง เหล่ย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงที่กรุงปักกิ่งว่า การที่เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของจีนจะบินเหนือหมู่เกาะเตี๋ยวอี๋ว์เช่นนี้เป็น “เรื่องปกติธรรมดาโดยสิ้นเชิง” พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่น “ยุติกิจกรรมผิดกฎหมายในเขตน่านน้ำและน่าฟ้าของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์” ซึ่งเขาย้ำว่าเป็นดินแดนของจีนเรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว
ไม่มีรายงานว่า เครื่องบินญี่ปุ่นและเครื่องบินจีนได้เกิดการปะทะหรือการเผชิญหน้ากันในเหตุการณ์คราวนี้ ขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายรายชี้ว่า จีนกำลังรณรงค์สร้าง “ความปกติอย่างใหม่” ขึ้นมา นั่นคือทำให้กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่กองกำลังของจีนจะเข้าๆ ออกๆ ตามใจปรารถนา ในบริเวณรอบๆ หมู่เกาะที่ตนเองอ้างกรรมสิทธิ์
ผู้คนเกือบๆ 10,000 คนได้ร่วมกันร่วมร้องเพลงชาติจีนในพิธีรำลึกซึ่งจัดขึ้นที่ อนุสรณ์สถานการสังหารหมู่แห่งนานกิง (หนานจิง) ขณะที่ทหารวางพวงหรีดบนเวที มีผู้ขึ้นพูดปราศรัยกระตุ้นเตือนให้จดจำและเก็บรับบทเรียนจากอดีต พระจีนและญี่ปุ่นร่วมกันสวดภาวนาให้โลกมีแต่สันติภาพ และผู้เข้าร่วมงานพากันจุดเทียนสันติภาพ สักการะแด่ดวงวิญญาณของเหยื่อผู้ถูกสังหารหมู่
“เรามาร่วมชุมนุมกันในที่นี้เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ และไว้อาลัยให้แก่เพื่อนร่วมชาติที่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิต รวมทั้งเผยแพร่บทเรียนจากประวัติศาสตร์ให้ประชาชนได้รับทราบ” หยาง เหว่ยซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขานานกิง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลเพียงคนเดียวในงาน กล่าวปราศรัย
ทั้งนี้ จีนระบุว่า มีพลเรือนและทหาร 300,000 คนเสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ ข่มขืน และทำลายล้างในช่วง 6 สัปดาห์ตั้งแต่ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าสู่เมืองนานกิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 โดยที่ขณะนั้นนานกิงเป็นเมืองหลวงของจีน
แต่มีนักวิชาการต่างชาติบางคนให้ตัวเลขต่ำกว่านั้น เช่น โจนาธาน สเปนซ์ นักประวัติศาสตร์จีน ที่ประเมินว่า ช่วงเวลาดังกล่าวมีทหารและพลเมือง 42,000 คนถูกสังหาร และผู้หญิง 20,000 คนถูกขืนใจ ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแถลงผ่านเว็บไซต์ยอมรับเพียงว่า มีการสังหารพลเรือนจำนวนมากเกิดขึ้น แต่ยากที่จะระบุตัวเลขที่ถูกต้องได้
ทว่า นักการเมืองอนุรักษนิยมสุดขั้วบางคนของญี่ปุ่นถึงขั้นโต้แย้งว่า เหตุการณ์เลวร้ายในนานกิงดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเลย
อู่ จี้หนาน จากสถาบันเซี่ยงไฮ้เพื่อการศึกษาระหว่างประเทศ กล่าวว่า จีนต้องระแวดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มที่ญี่ปุ่นจะพยายามปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรุกรานของตนเองในช่วงสงคราม
จากการประเมินของจีน ปัจจุบัน ยังมีผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่นานกิงเหลืออยู่ไม่ถึง 200 คน หนึ่งในนั้นคือ หลี่ ซ่ง วัย 87 ปีที่เล่าว่า ไม่เคยลืมเหตุการณ์ที่ชาวบ้านต้องช่วยกันห้ามชายคนหนึ่งที่คว้ามีดจะไปฆ่าทหารญี่ปุ่นหลังจากภรรยาของตนถูกขืนใจ
“พวกเราที่รอดชีวิตมาได้กำลังล้มหายตายจากไปทุกปี แต่เราต้องช่วยกันจดจำต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์”
คาอิ ซาโตรุ บุตรชายของทหารญี่ปุ่นที่ประจำการณ์ในจีน เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมพิธีที่นานกิงปีนี้ ซึ่งมีทั้งนักศึกษา ทหาร และเจ้าหน้าที่จีน ตลอดจนถึงตัวแทนจากองค์การพัฒนาเอกชนแดนอาทิตย์อุทัย
“ผมมาที่นี่เพื่อยอมรับอาชญากรรมที่ทหารญี่ปุ่นสังหารประชาชน” ซาโตรุกล่าว
มีชาวจีน 2 คนเข้าไปทำร้ายผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นซึ่งไปทำข่าวพิธีรำลึก ก่อนที่ตำรวจในเครื่องแบบหลายคนจะเข้าไปขัดขวาง ทำให้ผู้สื่อข่าวคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัสอะไร
พิธีรำลึกครบรอบ 75 ปีของเหตุการณ์สังหารหมู่และข่มขืนแห่งเมืองนานกิงครั้งนี้ ยังมีขึ้นวันเดียวกับที่ญี่ปุ่นส่งฝูงเครื่องบินขับไล่เอฟ-15 ไปยังหมู่เกาะเซงกากุ หลังจากเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของจีนลำหนึ่งบินเข้าไปในน่านฟ้าบริเวณดังกล่าว
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุว่า แม้เรือของทางการจีนเข้า-ออกน่านน้ำรอบหมู่เกาะเซงกากุ ซึ่งชาวจีนเรียกว่าเตี้ยวอี๋ว์เป็นประจำมากว่า 2 เดือน แต่นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1958 ซึ่งกองกำลังญี่ปุ่นเริ่มตรวจตราบริเวณดังกล่าว ที่พบว่าเครื่องบินของทางการจีนรุกล้ำน่านฟ้าญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม หง เหล่ย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงที่กรุงปักกิ่งว่า การที่เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของจีนจะบินเหนือหมู่เกาะเตี๋ยวอี๋ว์เช่นนี้เป็น “เรื่องปกติธรรมดาโดยสิ้นเชิง” พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่น “ยุติกิจกรรมผิดกฎหมายในเขตน่านน้ำและน่าฟ้าของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์” ซึ่งเขาย้ำว่าเป็นดินแดนของจีนเรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว
ไม่มีรายงานว่า เครื่องบินญี่ปุ่นและเครื่องบินจีนได้เกิดการปะทะหรือการเผชิญหน้ากันในเหตุการณ์คราวนี้ ขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายรายชี้ว่า จีนกำลังรณรงค์สร้าง “ความปกติอย่างใหม่” ขึ้นมา นั่นคือทำให้กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่กองกำลังของจีนจะเข้าๆ ออกๆ ตามใจปรารถนา ในบริเวณรอบๆ หมู่เกาะที่ตนเองอ้างกรรมสิทธิ์