ศูนย์ข่าวหาดใหญ่-สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีมติประกาศปิดโรงเรียน 1,200 แห่ง 13-14 ธ.ค. กดดันความมั่นคงปรับแผน รปภ.ครูให้เข้มข้นขึ้น หากไม่พอใจ 19 ธ.ค. ปิดต่อ พร้อมเคลื่อนไหวกดดันใหญ่ "ปู" เต้นลงปัตตานีวันนี้ให้กำลังใจครูหลังโดนยิงถี่ รับกำลังพล-อุปกรณ์เป็นช่องโหว่ สั่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงพื้นทำงานใกล้ชิด ส่อไม่ตั้งศูนย์เฉพาะกิจดูแลครู อ้างเจ้าหน้าที่ไม่พอ "ยูนิเซฟ" ประณามโจรใต้ เรียกร้องให้ยุติใช้ความรุนแรงต่อเด็ก
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (12 ธ.ค.) ที่โรงแรม ซีเอส จ.ปัตตานี นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประชุมร่วมกับนายวิทยา พานิชพงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อหารือถึงมาตรการการดูแลความปลอดภัย หลังจากที่คนร้ายบุกเข้ามายิงนางตติยารัตน์ ช่วยแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน และนายสมศักดิ์ ขวัญมา ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านบาโง อ.มายอ จ.ปัตตานี เสียชีวิต 2 รายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศในที่ประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด
ในที่ประชุมได้มีการเสนอแนวทางต่างๆ เพื่อให้หน่วยกำลังในพื้นที่ที่รับผิดชอบนำไปแก้ไขข้อบกพร่องกรณีแผนการรักษาความปลอดภัยครู โดยสรุปได้ว่า 1.ให้มีเจ้าหน้าที่ตั้งฐานย่อยอยู่ติดกับรั้วโรงเรียน เน้น โรงเรียนที่มีครูไทยพุทธ 2.ให้เจ้าหน้าที่เร่งจับกุมผู้ที่กระทำผิด และให้แจ้งข่าวให้ครูทราบทุกครั้ง หากเกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัย 3.การรับสมัครครูควรให้บุคคลนอกพื้นที่เข้ามาเป็นครูบ้าง เพราะที่ผ่านมาครูส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ที่มาจากผู้มีอิทธิพลฝาก 4.ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยกำลัง และครูเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ว่าอยู่ในแผนที่วางไว้หรือไม่
นายบุญสมกล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เพื่อพิจารณาแผนมาตรการความปลอดภัยครู และร่วมกันให้กำลังใจครู เพื่อให้มีชีวิตต่อไป แต่ขณะนี้ครูมีความหวั่นไหว หวาดผวาหวาดกลัวกันมาก โดยเฉพาะครูไทยพุทธ ความสูญเสียของครูขณะนี้เป็นรายที่ 157 แล้ว มันมากพอกับความสูญเสียกับความทุกข์ระทมของครู และทายาท การประกาศปิดโรงเรียนครั้งนี้ ก็ยังมองถึงคุณภาพทางการศึกษา และครูใต้ก็ไม่ใช้นักเรียนมาเป็นเครื่องมือในการเรียกร้อง คนที่มีชีวิตต้องดูแลให้ครูมีความปลอดภัย
โดยมติในครั้งนี้ คือ 1.ให้โรงเรียนทุกโรงทุกสังกัดหยุดเรียนในวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ เพื่อให้ฝ่ายความมั่นคงทุกฝ่ายได้ประเมินประสิทธิภาพของตนเองในการดูแลครู หาผู้ที่กระทำต่อครู ให้นำเสนอแผนรักษาความปลอดภัยครู หากการนำเสนอแผนต่อคณะกรรมการเป็นที่น่าพอใจก็จะเปิดเรียนในวันที่ 17 ธ.ค. แต่ถ้าแผนไม่เป็นที่น่าพอใจก็จะปิดเรียนต่อไป 2.ให้ทำ MOU ระหว่างโรงเรียนกับกองกำลังในพื้นที่เพื่อจะได้รู้ว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายบกพร่องหรือต้องปรับปรุงอย่างไร หากโรงเรียนไหนไม่ทำ MOU ก็ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่ประชุมครั้งนี้ ซึ่งรายละเอียดนั้นทางสมาพันธ์จะเป็นผู้กำหนด 3.ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีความเสี่ยงสูงได้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา ที่มีความปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.ในขณะที่ปิดเรียนคณะกรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อ จะหารือกับหน่วยกำลังเพื่อกำหนดมาตรการดูแลครู 5.ให้เขตพื้นที่ทุกจังหวัดประชุมพร้อมกันในวันศุกร์ที่ 14 ธ.ค.นี้ เพื่อชี้แจงให้ครูทุกโรงเรียนทราบเกี่ยวกับแผน รปภ.และการครองตนให้ปลอดภัย และ 6.หากทุกเรื่องเป็นไปตามร้องขอตามเงื่อนไข โรงเรียนก็จะเปิดเรียนตามปกติ แต่ถ้าการเรียกร้องไม่เป็นผล ครูก็จะปิดเรียนต่อไป และอาจจะแสดงพลังของครูทั้ง 3 จังหวัด ออกมาเคลื่อนไหวกดดันต่อไป
"การลอบยิงครูในโรงเรียนไม่เคยเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคอื่น นอกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องสวัสดิการจะไม่ร้องขอแล้ว รัฐบาลควรรู้ว่าจะให้หรือไม่ ตนไม่ยกย่องกับความตายของครู แต่ขอความปลอดภัยเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยกำลังของรัฐ หากครูมีความปลอดภัยเชื่อว่าคุณภาพการศึกษาจะดีขึ้น เพราะครูใต้มีความจริงใจในการทำงาน" นายบุญสมกล่าว
**เผยโรงเรียน3จชต.1,200แห่งปิดหมด
นายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาสและที่ปรึกษาสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สมาพันธ์ครูฯ ได้มีมติให้โรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 1,200 แห่งปิดการเรียนการสอนระหว่าง 13-14 ธ.ค.นี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เข้าไปตรวจสอบและวางมาตรการตลอดจนการทบทวนแนวทางการวางระบบการดูแลความปลอดภัยให้ชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบาโง 2 รายนั้นเป็นสิ่งที่อุกอาจและสะเทือนขวัญมาก
"ในฐานะตัวแทนครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขอยืนยันว่า การปิดเรียนชั่วคราวในแต่ละครั้ง ครูทุกคนมุ่งหวังแค่อยากให้เจ้าหน้าที่ เข้ามาดูแลชีวิตครูให้ปลอดภัยเพื่อจะได้ร่วมกันจัดการการศึกษาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้นักเรียนเป็นเครื่องมือทางการศึกษาเรียกร้องสิทธิแต่อย่างใด ขอให้สังคมเข้าใจความเครียดและความเสี่ยงของครูในพื้นที่ซึ่งต้องอยู่อย่างหวาดระแวงไม่เป็นสุขด้วย"
**"ปู"ถกแก้ไฟใต้หลังครูตกเป็นเหยื่อ
เวลา 13.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ครั้งที่ 1/2555 ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ ชั้น 3 อาคารสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมได้เน้นย้ำเรื่องของการทำงานบูรณาการของพื้นที่ที่ต้องการให้เกิดเอกภาพ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันหลายกระทรวง รวมทั้งมีการพูดคุยถึงเรื่องเร่งด่วน คือ เรื่องการเร่งจัดสรรงบประมาณลงไปทั้งส่วนงานพัฒนา และงานด้านความมั่นคง ที่ต้องจัดสรรตามความเร่งด่วนและถูกกับความต้องการในพื้นที่
"สิ่งที่เราพบคือจำนวนเจ้าหน้าที่ ซึ่งวันนี้เรากระจายไปหลายพื้นที่จริงๆ แต่กำลังมีไม่เพียงพอ และอุปกรณ์ในการดูแลความมั่นคง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ยิงครูนั้น โรงเรียนมีจำนวนมากก็ไม่สามารถมีเจ้าหน้าที่ดูแลคุ้มครองทั้งหมด เราก็คงหารือและรับฟังในรายละเอียดและข้อคิดเห็นต่างๆ ว่า เราจะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างไร และจะจัดสรรงบประมาณและกำลังให้มีประสิทธิภาพ และในพื้นที่จะทำอย่างไรให้ปลอดภัยโดยให้ภาคประชาชนช่วยกันดูแล" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ นายกฯจะลงพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยิ้มแล้ว กล่าวว่า "เดี๋ยวพรุ่งนี้ (13ธ.ค.) บอกค่ะ"
**"นายกฯปู"ลงใต้ให้กำลังใจครูวันนี้
ต่อมานายธงทอง จันทรางสุ ปลัดสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุม กปต.ว่า ที่ประชุมเน้นย้ำนโยบายการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 4 เรื่อง คือ 1.การพัฒนา 2.ความมั่นคง 3.ความยุติธรรม 4.การศึกษา โดยในส่วนของการพัฒนาจะดำเนินการควบคู่ไปกับงานด้านความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (13ธ.ค.) นายกฯ จะเดินทางลงพื้นที่โดยเริ่มที่ จ.ปัตตานี และจะมีโอกาสเข้าพบคุณครูในพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาต่างๆ
**"เสริมศักดิ์"เล็งตั้งศูนย์ ฉก.ดูแลครู
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุม กปต.ว่าอยากให้มีศูนย์เฉพาะกิจรักษาความปลอดภัยครูโดยตรง โดยแบ่งเป็นพื้นที่การศึกษา ภายในศูนย์จะมีกำลังทั้งผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ ผู้บริหารสถานศึกษา ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ซึ่งจะทำให้การดูแลทั่วถึงและเกิดความมั่นใจต่อครูมากขึ้น ทั้งนี้ ครูที่เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายกว่า 80% เป็นครูไทยพุทธ ทำให้ขณะนี้ครูไทยพุทธก็ทำเรื่องของย้ายออกนอกพื้นที่เกือบหมดแล้ว ซึ่งในวันนี้ รมว.ศึกษาธิการ และตนจะลงพื้นที่ จ.ปัตตานี พร้อมนายกฯ จึงเชื่อว่าแนวทางต่างๆ เช่น ศูนย์เฉพาะกิจรักษาความปลอดภัยครู จะมีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
**"ยูนิเซฟ"แถลงการณ์ประณามโจรใต้
ยูนิเซฟออกแถลงการณ์ประณามเหตุโจมตีร้านน้ำชาแห่งหนึ่ง ใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันอังคาร (11ธ.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งคร่าชีวิตเด็กหญิง วัย 11 เดือนและทำให้เด็กชาย วัยเพียง 10 เดือนอีกคนได้รับบาดเจ็บ โดยถือเป็นคำแถลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ได้ออกมาบ่อยนักจากองค์การดังกล่าว
ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสหประชาชาติ การต่อสู้ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา คร่าชีวิตผู้คน ทั้งชาวพุทธ และมุสลิมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5,300 คน นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบปะทุขึ้นเมื่อปี 2004 โดยในจำนวนนั้น เหยื่อที่เป็นเด็กมีมากกว่า 50 ราย และอีกราว 340 คนได้รับบาดเจ็บ สำหรับเหตุโจมตีร้านน้ำชาในวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ขณะที่เหตุกราดยิงโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ก็ทำให้ครูใหญ่ และครูอีกคนเสียชีวิต ในวันเดียวกัน
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (12 ธ.ค.) ที่โรงแรม ซีเอส จ.ปัตตานี นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประชุมร่วมกับนายวิทยา พานิชพงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อหารือถึงมาตรการการดูแลความปลอดภัย หลังจากที่คนร้ายบุกเข้ามายิงนางตติยารัตน์ ช่วยแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน และนายสมศักดิ์ ขวัญมา ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านบาโง อ.มายอ จ.ปัตตานี เสียชีวิต 2 รายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศในที่ประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด
ในที่ประชุมได้มีการเสนอแนวทางต่างๆ เพื่อให้หน่วยกำลังในพื้นที่ที่รับผิดชอบนำไปแก้ไขข้อบกพร่องกรณีแผนการรักษาความปลอดภัยครู โดยสรุปได้ว่า 1.ให้มีเจ้าหน้าที่ตั้งฐานย่อยอยู่ติดกับรั้วโรงเรียน เน้น โรงเรียนที่มีครูไทยพุทธ 2.ให้เจ้าหน้าที่เร่งจับกุมผู้ที่กระทำผิด และให้แจ้งข่าวให้ครูทราบทุกครั้ง หากเกี่ยวข้องเรื่องความปลอดภัย 3.การรับสมัครครูควรให้บุคคลนอกพื้นที่เข้ามาเป็นครูบ้าง เพราะที่ผ่านมาครูส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ที่มาจากผู้มีอิทธิพลฝาก 4.ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยกำลัง และครูเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ว่าอยู่ในแผนที่วางไว้หรือไม่
นายบุญสมกล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เพื่อพิจารณาแผนมาตรการความปลอดภัยครู และร่วมกันให้กำลังใจครู เพื่อให้มีชีวิตต่อไป แต่ขณะนี้ครูมีความหวั่นไหว หวาดผวาหวาดกลัวกันมาก โดยเฉพาะครูไทยพุทธ ความสูญเสียของครูขณะนี้เป็นรายที่ 157 แล้ว มันมากพอกับความสูญเสียกับความทุกข์ระทมของครู และทายาท การประกาศปิดโรงเรียนครั้งนี้ ก็ยังมองถึงคุณภาพทางการศึกษา และครูใต้ก็ไม่ใช้นักเรียนมาเป็นเครื่องมือในการเรียกร้อง คนที่มีชีวิตต้องดูแลให้ครูมีความปลอดภัย
โดยมติในครั้งนี้ คือ 1.ให้โรงเรียนทุกโรงทุกสังกัดหยุดเรียนในวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ เพื่อให้ฝ่ายความมั่นคงทุกฝ่ายได้ประเมินประสิทธิภาพของตนเองในการดูแลครู หาผู้ที่กระทำต่อครู ให้นำเสนอแผนรักษาความปลอดภัยครู หากการนำเสนอแผนต่อคณะกรรมการเป็นที่น่าพอใจก็จะเปิดเรียนในวันที่ 17 ธ.ค. แต่ถ้าแผนไม่เป็นที่น่าพอใจก็จะปิดเรียนต่อไป 2.ให้ทำ MOU ระหว่างโรงเรียนกับกองกำลังในพื้นที่เพื่อจะได้รู้ว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายบกพร่องหรือต้องปรับปรุงอย่างไร หากโรงเรียนไหนไม่ทำ MOU ก็ถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ที่ประชุมครั้งนี้ ซึ่งรายละเอียดนั้นทางสมาพันธ์จะเป็นผู้กำหนด 3.ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีความเสี่ยงสูงได้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา ที่มีความปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.ในขณะที่ปิดเรียนคณะกรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อ จะหารือกับหน่วยกำลังเพื่อกำหนดมาตรการดูแลครู 5.ให้เขตพื้นที่ทุกจังหวัดประชุมพร้อมกันในวันศุกร์ที่ 14 ธ.ค.นี้ เพื่อชี้แจงให้ครูทุกโรงเรียนทราบเกี่ยวกับแผน รปภ.และการครองตนให้ปลอดภัย และ 6.หากทุกเรื่องเป็นไปตามร้องขอตามเงื่อนไข โรงเรียนก็จะเปิดเรียนตามปกติ แต่ถ้าการเรียกร้องไม่เป็นผล ครูก็จะปิดเรียนต่อไป และอาจจะแสดงพลังของครูทั้ง 3 จังหวัด ออกมาเคลื่อนไหวกดดันต่อไป
"การลอบยิงครูในโรงเรียนไม่เคยเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคอื่น นอกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องสวัสดิการจะไม่ร้องขอแล้ว รัฐบาลควรรู้ว่าจะให้หรือไม่ ตนไม่ยกย่องกับความตายของครู แต่ขอความปลอดภัยเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยกำลังของรัฐ หากครูมีความปลอดภัยเชื่อว่าคุณภาพการศึกษาจะดีขึ้น เพราะครูใต้มีความจริงใจในการทำงาน" นายบุญสมกล่าว
**เผยโรงเรียน3จชต.1,200แห่งปิดหมด
นายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาสและที่ปรึกษาสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สมาพันธ์ครูฯ ได้มีมติให้โรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 1,200 แห่งปิดการเรียนการสอนระหว่าง 13-14 ธ.ค.นี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เข้าไปตรวจสอบและวางมาตรการตลอดจนการทบทวนแนวทางการวางระบบการดูแลความปลอดภัยให้ชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบาโง 2 รายนั้นเป็นสิ่งที่อุกอาจและสะเทือนขวัญมาก
"ในฐานะตัวแทนครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขอยืนยันว่า การปิดเรียนชั่วคราวในแต่ละครั้ง ครูทุกคนมุ่งหวังแค่อยากให้เจ้าหน้าที่ เข้ามาดูแลชีวิตครูให้ปลอดภัยเพื่อจะได้ร่วมกันจัดการการศึกษาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้นักเรียนเป็นเครื่องมือทางการศึกษาเรียกร้องสิทธิแต่อย่างใด ขอให้สังคมเข้าใจความเครียดและความเสี่ยงของครูในพื้นที่ซึ่งต้องอยู่อย่างหวาดระแวงไม่เป็นสุขด้วย"
**"ปู"ถกแก้ไฟใต้หลังครูตกเป็นเหยื่อ
เวลา 13.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ครั้งที่ 1/2555 ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ ชั้น 3 อาคารสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมได้เน้นย้ำเรื่องของการทำงานบูรณาการของพื้นที่ที่ต้องการให้เกิดเอกภาพ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันหลายกระทรวง รวมทั้งมีการพูดคุยถึงเรื่องเร่งด่วน คือ เรื่องการเร่งจัดสรรงบประมาณลงไปทั้งส่วนงานพัฒนา และงานด้านความมั่นคง ที่ต้องจัดสรรตามความเร่งด่วนและถูกกับความต้องการในพื้นที่
"สิ่งที่เราพบคือจำนวนเจ้าหน้าที่ ซึ่งวันนี้เรากระจายไปหลายพื้นที่จริงๆ แต่กำลังมีไม่เพียงพอ และอุปกรณ์ในการดูแลความมั่นคง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ยิงครูนั้น โรงเรียนมีจำนวนมากก็ไม่สามารถมีเจ้าหน้าที่ดูแลคุ้มครองทั้งหมด เราก็คงหารือและรับฟังในรายละเอียดและข้อคิดเห็นต่างๆ ว่า เราจะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างไร และจะจัดสรรงบประมาณและกำลังให้มีประสิทธิภาพ และในพื้นที่จะทำอย่างไรให้ปลอดภัยโดยให้ภาคประชาชนช่วยกันดูแล" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าในวันที่ 13 ธ.ค.นี้ นายกฯจะลงพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยิ้มแล้ว กล่าวว่า "เดี๋ยวพรุ่งนี้ (13ธ.ค.) บอกค่ะ"
**"นายกฯปู"ลงใต้ให้กำลังใจครูวันนี้
ต่อมานายธงทอง จันทรางสุ ปลัดสำนักนายกฯ แถลงผลการประชุม กปต.ว่า ที่ประชุมเน้นย้ำนโยบายการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 4 เรื่อง คือ 1.การพัฒนา 2.ความมั่นคง 3.ความยุติธรรม 4.การศึกษา โดยในส่วนของการพัฒนาจะดำเนินการควบคู่ไปกับงานด้านความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (13ธ.ค.) นายกฯ จะเดินทางลงพื้นที่โดยเริ่มที่ จ.ปัตตานี และจะมีโอกาสเข้าพบคุณครูในพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาต่างๆ
**"เสริมศักดิ์"เล็งตั้งศูนย์ ฉก.ดูแลครู
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้เสนอต่อที่ประชุม กปต.ว่าอยากให้มีศูนย์เฉพาะกิจรักษาความปลอดภัยครูโดยตรง โดยแบ่งเป็นพื้นที่การศึกษา ภายในศูนย์จะมีกำลังทั้งผู้บริหารเขตพื้นที่ฯ ผู้บริหารสถานศึกษา ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ซึ่งจะทำให้การดูแลทั่วถึงและเกิดความมั่นใจต่อครูมากขึ้น ทั้งนี้ ครูที่เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายกว่า 80% เป็นครูไทยพุทธ ทำให้ขณะนี้ครูไทยพุทธก็ทำเรื่องของย้ายออกนอกพื้นที่เกือบหมดแล้ว ซึ่งในวันนี้ รมว.ศึกษาธิการ และตนจะลงพื้นที่ จ.ปัตตานี พร้อมนายกฯ จึงเชื่อว่าแนวทางต่างๆ เช่น ศูนย์เฉพาะกิจรักษาความปลอดภัยครู จะมีแนวทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
**"ยูนิเซฟ"แถลงการณ์ประณามโจรใต้
ยูนิเซฟออกแถลงการณ์ประณามเหตุโจมตีร้านน้ำชาแห่งหนึ่ง ใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันอังคาร (11ธ.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งคร่าชีวิตเด็กหญิง วัย 11 เดือนและทำให้เด็กชาย วัยเพียง 10 เดือนอีกคนได้รับบาดเจ็บ โดยถือเป็นคำแถลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ได้ออกมาบ่อยนักจากองค์การดังกล่าว
ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสหประชาชาติ การต่อสู้ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา คร่าชีวิตผู้คน ทั้งชาวพุทธ และมุสลิมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5,300 คน นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบปะทุขึ้นเมื่อปี 2004 โดยในจำนวนนั้น เหยื่อที่เป็นเด็กมีมากกว่า 50 ราย และอีกราว 340 คนได้รับบาดเจ็บ สำหรับเหตุโจมตีร้านน้ำชาในวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ขณะที่เหตุกราดยิงโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ก็ทำให้ครูใหญ่ และครูอีกคนเสียชีวิต ในวันเดียวกัน