ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากกรณีมีการแชร์ภาพถ่ายแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ปาใส่กลุ่มผุ้ชุมนุมองค์การพิทักษ์สยามที่บริเวณแยกมิกสกวันและสะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการชี้ว่า เป็นแก๊สน้ำตาชนิดขว้างที่หมดอายุไปแล้ว แต่ตำรวจก็ยังรั้นดันทุรังนำมาใช้กับประชาชนโดยมิได้กริ่งเกรงว่า จะเกิดอันตรายหรือผลร้ายตามมากับประชาชนหรือไม่
แต่คล้อยหลังการแชร์ภาพถ่ายได้ไม่นาน ฝ่ายตำรวจก็ออกมาแถลงตอบโต้โดยอ้างว่า แก๊สน้ำตาที่พบในภาพดังกล่าว ไม่ได้เป็นของตำรวจ แต่เป็นของกลุ่มผู้ชุมนุมและมือที่ 3 ที่เตรียมมาขว้างใส่ฝ่ายตำรวจต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คจำนวนมาก อาทิ เพจ “สายตรงภาคสนาม” และ “ขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค” ได้นำภาพถ่ายชุดใหม่เกี่ยวกับระเบิดเจ้าปัญหาแบบดังกล่าวออกมาเผยแพร่ โดยเป็นภาพถ่ายกล่องบรรจุแก๊สน้ำตาที่วางอยู่ในรถของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อมีการซูมภาพไปยังฉลากข้างกล่อง ก็พบว่า เป็นยี่ห้อและแบบเดียวกับภาพถ่ายแก๊สน้ำตาเจ้าปัญหา และระบุวันเดือนปีผลิต รวมทั้งวันหมดอายุวันเดียวกันอย่างพอดีบพอดี
เสียงวิจารณ์จึงอื้ออึงออกมาโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คอีกครั้ง ถึงความข้องใจต่อ “โกหกคำโต” ของตำรวจ
ด้านเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ “ควอทซ์”นำเสนอบทความแสดงความเห็นต่อกรณีความขัดแย้งทางการเมืองในไทยของนาโอมิ รูฟนิก นักวิเคราะห์การเมืองไทย มีเนื้อหาโดยสรุปว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นวันที่ 24 พ.ย. เป็นสัญญาณให้นักลงทุนต้องจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด แสดงให้เห็นว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีแนวโน้มเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองไทยผู้นี้ ยังเชื่อมั่นว่า สถานการณ์การเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลไม่น่ารุนแรงถึงขั้นเกิดรัฐประหารล้มล้างรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับรัฐบาลค่อนข้างเป็นไปด้วยดี และต่างต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
ขณะที่ สตีฟ วิกเกอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย สตีฟแอนด์แอสโซซิเอเต็ด มีความเห็นต่างว่า มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเกิดการรัฐประหารอีกครั้ง โดยระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆคือ อารมณ์ร่วมของผู้ประท้วง และการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ แต่วิกเกอร์สเห็นตรงกับรูฟนิกคือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง
ด้านหนังสือพิมพ์เดอะ เจแปน ไทมส์ ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ของ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งระบุว่า วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมีแนวโน้มว่าจะหยั่งรากลึกมากขึ้น โดยต้นเหตุจากการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้าน มาจากความพยายามของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ที่จะเปิดทางให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงในการเผชิญหน้ารอบใหม่ได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองไทย ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า หากไทยต้องการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้มั่นคงมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติวางใจเดินทางเข้ามาลงทุนได้ หากมีการปะทะกันระหว่างฝ่ายเหลือง-แดงอีกครั้ง ความเชื่อมั่นที่มีต่อไทยจะหมดไปทันที
แต่คล้อยหลังการแชร์ภาพถ่ายได้ไม่นาน ฝ่ายตำรวจก็ออกมาแถลงตอบโต้โดยอ้างว่า แก๊สน้ำตาที่พบในภาพดังกล่าว ไม่ได้เป็นของตำรวจ แต่เป็นของกลุ่มผู้ชุมนุมและมือที่ 3 ที่เตรียมมาขว้างใส่ฝ่ายตำรวจต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คจำนวนมาก อาทิ เพจ “สายตรงภาคสนาม” และ “ขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค” ได้นำภาพถ่ายชุดใหม่เกี่ยวกับระเบิดเจ้าปัญหาแบบดังกล่าวออกมาเผยแพร่ โดยเป็นภาพถ่ายกล่องบรรจุแก๊สน้ำตาที่วางอยู่ในรถของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนในการชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อมีการซูมภาพไปยังฉลากข้างกล่อง ก็พบว่า เป็นยี่ห้อและแบบเดียวกับภาพถ่ายแก๊สน้ำตาเจ้าปัญหา และระบุวันเดือนปีผลิต รวมทั้งวันหมดอายุวันเดียวกันอย่างพอดีบพอดี
เสียงวิจารณ์จึงอื้ออึงออกมาโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คอีกครั้ง ถึงความข้องใจต่อ “โกหกคำโต” ของตำรวจ
ด้านเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ “ควอทซ์”นำเสนอบทความแสดงความเห็นต่อกรณีความขัดแย้งทางการเมืองในไทยของนาโอมิ รูฟนิก นักวิเคราะห์การเมืองไทย มีเนื้อหาโดยสรุปว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นวันที่ 24 พ.ย. เป็นสัญญาณให้นักลงทุนต้องจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด แสดงให้เห็นว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีแนวโน้มเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองไทยผู้นี้ ยังเชื่อมั่นว่า สถานการณ์การเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลไม่น่ารุนแรงถึงขั้นเกิดรัฐประหารล้มล้างรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับรัฐบาลค่อนข้างเป็นไปด้วยดี และต่างต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
ขณะที่ สตีฟ วิกเกอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย สตีฟแอนด์แอสโซซิเอเต็ด มีความเห็นต่างว่า มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเกิดการรัฐประหารอีกครั้ง โดยระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆคือ อารมณ์ร่วมของผู้ประท้วง และการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ แต่วิกเกอร์สเห็นตรงกับรูฟนิกคือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง
ด้านหนังสือพิมพ์เดอะ เจแปน ไทมส์ ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ของ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งระบุว่า วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมีแนวโน้มว่าจะหยั่งรากลึกมากขึ้น โดยต้นเหตุจากการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้าน มาจากความพยายามของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ที่จะเปิดทางให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย จนอาจนำไปสู่ความรุนแรงในการเผชิญหน้ารอบใหม่ได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองไทย ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า หากไทยต้องการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้มั่นคงมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติวางใจเดินทางเข้ามาลงทุนได้ หากมีการปะทะกันระหว่างฝ่ายเหลือง-แดงอีกครั้ง ความเชื่อมั่นที่มีต่อไทยจะหมดไปทันที