ASTVผู้จัดการรายวัน-ดิอาจิโอฯชี้กฏหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ชัดเจน เปิดช่องว่างให้เกิดเหล้าเถื่อนและหนีภาษีทะลักเข้าประเทศส่งผลกระทบทั้ง3กลุ่ม ทั้งรัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เอื้อต่อการกระทำผิดได้ง่าย ขณะที่ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปีนี้ ปิดที่ 2,797 ล้านลิตร เติบโตขึ้นราว 10%
นายธนากร คุปตจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ จอห์นนี่ วอล์คเกอร์ และเบนมอร์ เปิดเผยว่า จากร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กับประกาศสำนักนายกฯที่ออกเพิ่มเติม ว่าด้วย 1.ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง ขณะขับขี่ หรือโดยสารอยู่บนรถ หรือในรถ มีผลบังคับใช้ วันที่ 8 ส.ค. 55 2.ห้ามขาย ห้ามดื่ม ในบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ มีผลบังคับใช้ วันที่ 23 ส.ค.55 และ 3.ห้ามขาย ห้ามดื่ม ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน มีผลบังคับใช้ วันที่ 5พ.ย. 55 รวมถึงในเรื่องของการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา32 มองว่าในรายละเอียดในแต่ละข้อนั้น ยังมีความคลุมเครือและตีความไม่ชัดเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี กับ 3 กลุ่มหลัก คือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
"ประกาศเพิ่มเติมที่ออกมา รวมถึงกฏหมายการจัดเก็บภาษีสุรา และข้อบังคับเกี่ยวกับการโฆษณา มองว่าส่งผลกระทบทั้งกลุ่มเหล้าที่ผลิตในประเทศและต่าประเทศ เนื่องจากยังมีการตีความออกมาไม่ชัดเจนและเชื่อว่าจะสร้างความเสียหายให้ทั้งรัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคโดยตรง โดยอาจจะเอื้อให้มีการทะลักเข้ามาของเหล้าหนีภาษีจากประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น ประกาศว่าด้วยการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางขณะขับขี่หรือโดยสารอยู่บนรถหรือในรถ ห้ามขายห้ามดื่มในบริเวณรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ และห้ามขายห้ามดื่มในพื้นที่สถานประกอบการโรงงาน ซึ่งยังมีความคลุมเครือในการตีความและการปฏิบัติตาม เช่น หากมีขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดแล้วเก็บไว้ในรถ จะตัดสินอย่างไรว่ามีการดื่มในรถหรือไม่ และจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่สังสรรค์ในสถานบันเทิงรู้สึกว่าต้องดื่มให้หมดขวด เพื่อหลีกเลี่ยงการนำขวดที่เปิดแล้วกลับบ้านหรือไม่ รวมทั้งกิจกรรมการสังสรรค์ในช่วงปีใหม่หรือเทศกาลอื่นๆ ที่สถานประกอบการโรงงานจะจัดให้แก่พนักงานอาจจะต้องจัดการหรือเช่าสถานที่นอกโรงงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่เกิดขึ้น จากเดิมที่จัดขึ้นภายในบริเวณโรงงาน เป็นต้น
ขณะที่บ้านเราภาษีสุรานำเข้าสูงถึง 260% ตามมูลค่าต่อขวด แต่ของเพื่อนบ้านถูกกว่า จึงมีการเล็ดลอดนำเข้ามาขายแทน หรือผู้ประกอบการอาจจะหันไปผลิตสินค้านอกประเทศและนำเข้าแทนเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายบางข้อ ซึ่งความเสียหายจะเกิดแก่ภาครัฐโดยตรง จึงต้องการให้มีการกำหนดข้อบังคับออกมาให้ชัดเจนมากว่านี้"
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปีนี้มีปริมาณถึง 2,797 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นราว 10% แบ่งเป็นในประเทศ 98.43%. และนำเข้า 1.57% ขณะที่กลุ่มสุรากลั่นในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดการจำหน่ายกว่า583.56 ล้านลิตร โตขึ้น 20% จากปี 52 ส่วนยอดการจำหน่ายสุรากลั่นนำเข้ากลับเติบโตเล็กน้อย มีเพียง 28.5 ล้านลิตร เนื่องจากผู้บริโภคหันไปนิยมบริโภคสุรากลั่นในประเทศที่มีราคาถูกกว่า
"จะเห็นได้ว่าสุรากลั่นนำเข้ามีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับสุรากลั่นในประเทศ กฏหมายหรือมาตราการภาษีต่างๆจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมและผลกชระทบต่อผู้บริโภคมากกว่านี้ เช่น อัตราการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างของราคา เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคนิยมบริโภคสุราในประเทศที่มีราคาถูกมากกว่า แต่ปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า" นายธนากร กล่าว
นายธนากร คุปตจิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ จอห์นนี่ วอล์คเกอร์ และเบนมอร์ เปิดเผยว่า จากร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กับประกาศสำนักนายกฯที่ออกเพิ่มเติม ว่าด้วย 1.ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง ขณะขับขี่ หรือโดยสารอยู่บนรถ หรือในรถ มีผลบังคับใช้ วันที่ 8 ส.ค. 55 2.ห้ามขาย ห้ามดื่ม ในบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ มีผลบังคับใช้ วันที่ 23 ส.ค.55 และ 3.ห้ามขาย ห้ามดื่ม ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน มีผลบังคับใช้ วันที่ 5พ.ย. 55 รวมถึงในเรื่องของการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา32 มองว่าในรายละเอียดในแต่ละข้อนั้น ยังมีความคลุมเครือและตีความไม่ชัดเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี กับ 3 กลุ่มหลัก คือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
"ประกาศเพิ่มเติมที่ออกมา รวมถึงกฏหมายการจัดเก็บภาษีสุรา และข้อบังคับเกี่ยวกับการโฆษณา มองว่าส่งผลกระทบทั้งกลุ่มเหล้าที่ผลิตในประเทศและต่าประเทศ เนื่องจากยังมีการตีความออกมาไม่ชัดเจนและเชื่อว่าจะสร้างความเสียหายให้ทั้งรัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคโดยตรง โดยอาจจะเอื้อให้มีการทะลักเข้ามาของเหล้าหนีภาษีจากประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น ประกาศว่าด้วยการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางขณะขับขี่หรือโดยสารอยู่บนรถหรือในรถ ห้ามขายห้ามดื่มในบริเวณรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ และห้ามขายห้ามดื่มในพื้นที่สถานประกอบการโรงงาน ซึ่งยังมีความคลุมเครือในการตีความและการปฏิบัติตาม เช่น หากมีขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดแล้วเก็บไว้ในรถ จะตัดสินอย่างไรว่ามีการดื่มในรถหรือไม่ และจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่สังสรรค์ในสถานบันเทิงรู้สึกว่าต้องดื่มให้หมดขวด เพื่อหลีกเลี่ยงการนำขวดที่เปิดแล้วกลับบ้านหรือไม่ รวมทั้งกิจกรรมการสังสรรค์ในช่วงปีใหม่หรือเทศกาลอื่นๆ ที่สถานประกอบการโรงงานจะจัดให้แก่พนักงานอาจจะต้องจัดการหรือเช่าสถานที่นอกโรงงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่เกิดขึ้น จากเดิมที่จัดขึ้นภายในบริเวณโรงงาน เป็นต้น
ขณะที่บ้านเราภาษีสุรานำเข้าสูงถึง 260% ตามมูลค่าต่อขวด แต่ของเพื่อนบ้านถูกกว่า จึงมีการเล็ดลอดนำเข้ามาขายแทน หรือผู้ประกอบการอาจจะหันไปผลิตสินค้านอกประเทศและนำเข้าแทนเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายบางข้อ ซึ่งความเสียหายจะเกิดแก่ภาครัฐโดยตรง จึงต้องการให้มีการกำหนดข้อบังคับออกมาให้ชัดเจนมากว่านี้"
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปีนี้มีปริมาณถึง 2,797 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นราว 10% แบ่งเป็นในประเทศ 98.43%. และนำเข้า 1.57% ขณะที่กลุ่มสุรากลั่นในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดการจำหน่ายกว่า583.56 ล้านลิตร โตขึ้น 20% จากปี 52 ส่วนยอดการจำหน่ายสุรากลั่นนำเข้ากลับเติบโตเล็กน้อย มีเพียง 28.5 ล้านลิตร เนื่องจากผู้บริโภคหันไปนิยมบริโภคสุรากลั่นในประเทศที่มีราคาถูกกว่า
"จะเห็นได้ว่าสุรากลั่นนำเข้ามีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับสุรากลั่นในประเทศ กฏหมายหรือมาตราการภาษีต่างๆจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมและผลกชระทบต่อผู้บริโภคมากกว่านี้ เช่น อัตราการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างของราคา เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคนิยมบริโภคสุราในประเทศที่มีราคาถูกมากกว่า แต่ปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า" นายธนากร กล่าว