วานนี้ (5 พ.ย.55) เวลา 14.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.ท.วันชนะ สวัสดี รองโฆษกกองทัพบก แถลงว่า ทางกองทัพจะเชิญน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 สายยะลา-เบตง ตอนสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำบางลาง บ.ฆอแย-บาตา ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ภายหลังจากที่ทางกรมการทหารช่าง กองทัพบกได้ดำเนินก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยถนนสายดังกล่าวเป็นเส้นทางเชื่อมถนนหมายเลข 410 ส่วนที่ลัดเลาะบริเวณท้ายเขื่อนที่มีความคดเคี้ยวเข้าด้วยกัน เป็นถนนผิวแอสฟัลท์ติกคอนกรีต รับน้ำหนัก 21 ตัน มี 2 ช่องการจราจร ผิวจราจรรวมไหลกว้าง 12 ม. ยาว 1,821 ม. และสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 แห่ง แบ่งเป็นกว้าง 12 ม. ยาว 40 ม. และกว้าง 12 ม. ยาว 264 ม. ระยะทางตลอดสาย 2,125 ม. โดยประหยัดเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ในส่วนของถนนที่จะสร้างต่อจากสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กผ่านอ่างเก็บน้ำบางลางนั้นจะต้องทีการดำเนินการเจาะอุโมงค์ผ่านภูเขา ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการสำรวจว่าจะคุ้มค่าต่อการสร้างหรือไม่ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะประหยัดระยะเวลาของเส้นทางได้ 9.5 ก.ม. หรือประมาณ 30 นาที
อีกด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีรองนายกฯที่ดูแลงานด้านความมั่นคง ว่า การดูแลสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ไม่จำเป็นต้องเป็นรองนายกฝ่ายความมั่นคง เพราะโครงสร้างหน่วยงานที่กำกับดูแลปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนทางภาคใต้ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่คนใน ศปก.กปต.หายไป 2 คน คือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.มหาดไทย และพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แต่มีเพิ่มมาคือนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ กับพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ที่ดูแลงานเรื่องความยุติธรรม ส่วนร.ต.อ.เฉลิม และนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ดูแลงานด้านการพัฒนาและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ส่วนตนดูแลงานด้านความมั่นคง และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำหรับนายกฯนั้นดูแลกำกับภาพรวมทั้งหมด
"ผมทำงานอยู่ในกอ.รมน.อยู่แล้ว ต้องดูแลงานด้านความมั่นคงให้นายกฯ ส่วนการมอบหมายเป็นทางการนั้นต้องรอนายกฯก่อน เราจะดูในภาพของนโยบาย เราอยู่ที่สูงก็ทำงานสูง อย่าไปล้วงลูกมากนัก ส่วนในพื้นที่ทางกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าทำหน้าที่ดูแล ซึ่งเขาทราบการปฏิบัติงานอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเข้าไปช่วยเสริมว่าจะนำกำลังส่วนอื่นแทนกำลังทหาร หากติดขัดอะไรเราก็จะเป็นผู้ประสานงานให้ ไม่ได้ไปล้วงลูกทางด้านยุทธวิธี อย่างไรก็ตาม 17 กระทรวง 66 หน่วยงาน ที่เข้าไปทำงานในพื้นที่จะต้องมีการประสานงานกัน ไม่ใช่กระทรวงกลาโหมเพียงกระทรวงเดียว วันนี้บางพื้นที่ต้องนำงานด้านความมั่นคงนำหน้าก่อน บางพื้นที่ที่ปลอดภัยก็จะนำงานพัฒนาเข้าไปดำเนินการ ทุกอย่างต้องไปด้วยกัน เพราะงบประมาณก็ได้หมดทุกกระทรวง กระทรวงกลาโหมได้ประมาณ 6-7 พันล้าน เป็นเบี้ยเลี้ยงกำลังพลถึง 60-70% " พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการรับมอบหมายงานในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ว่า ต้องมีการปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะแม้ตนได้รับมอบหมายแล้ว ก็ต้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าสิ่งที่ตนมีข้อตกลงใจแล้วไปนั้น นายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยหรือไม่ เพราะตนคงทำงานตามลำพังไม่ได้ เมื่อถามว่ารู้สึกหนักใจหรือไม่ต่อการที่ได้รับมอบหมายงานมากขึ้น เพราะได้รับงานให้ดูแลการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่หนัก สนุกดี ตนเป็นคนชอบทำงาน
อีกด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีรองนายกฯที่ดูแลงานด้านความมั่นคง ว่า การดูแลสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ไม่จำเป็นต้องเป็นรองนายกฝ่ายความมั่นคง เพราะโครงสร้างหน่วยงานที่กำกับดูแลปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนทางภาคใต้ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่คนใน ศปก.กปต.หายไป 2 คน คือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.มหาดไทย และพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แต่มีเพิ่มมาคือนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ กับพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ที่ดูแลงานเรื่องความยุติธรรม ส่วนร.ต.อ.เฉลิม และนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ดูแลงานด้านการพัฒนาและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ส่วนตนดูแลงานด้านความมั่นคง และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำหรับนายกฯนั้นดูแลกำกับภาพรวมทั้งหมด
"ผมทำงานอยู่ในกอ.รมน.อยู่แล้ว ต้องดูแลงานด้านความมั่นคงให้นายกฯ ส่วนการมอบหมายเป็นทางการนั้นต้องรอนายกฯก่อน เราจะดูในภาพของนโยบาย เราอยู่ที่สูงก็ทำงานสูง อย่าไปล้วงลูกมากนัก ส่วนในพื้นที่ทางกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าทำหน้าที่ดูแล ซึ่งเขาทราบการปฏิบัติงานอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเข้าไปช่วยเสริมว่าจะนำกำลังส่วนอื่นแทนกำลังทหาร หากติดขัดอะไรเราก็จะเป็นผู้ประสานงานให้ ไม่ได้ไปล้วงลูกทางด้านยุทธวิธี อย่างไรก็ตาม 17 กระทรวง 66 หน่วยงาน ที่เข้าไปทำงานในพื้นที่จะต้องมีการประสานงานกัน ไม่ใช่กระทรวงกลาโหมเพียงกระทรวงเดียว วันนี้บางพื้นที่ต้องนำงานด้านความมั่นคงนำหน้าก่อน บางพื้นที่ที่ปลอดภัยก็จะนำงานพัฒนาเข้าไปดำเนินการ ทุกอย่างต้องไปด้วยกัน เพราะงบประมาณก็ได้หมดทุกกระทรวง กระทรวงกลาโหมได้ประมาณ 6-7 พันล้าน เป็นเบี้ยเลี้ยงกำลังพลถึง 60-70% " พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการรับมอบหมายงานในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ว่า ต้องมีการปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะแม้ตนได้รับมอบหมายแล้ว ก็ต้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีว่าสิ่งที่ตนมีข้อตกลงใจแล้วไปนั้น นายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยหรือไม่ เพราะตนคงทำงานตามลำพังไม่ได้ เมื่อถามว่ารู้สึกหนักใจหรือไม่ต่อการที่ได้รับมอบหมายงานมากขึ้น เพราะได้รับงานให้ดูแลการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่หนัก สนุกดี ตนเป็นคนชอบทำงาน