วานนี้ ( 9 ส.ค.) นายมานิต ศรีวานิชภูมิ และน.ส.สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้อำนวยการสร้าง และผู้ กำกับภาพยนตร์ 'เชคสเปียร์ต้องตาย' ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ คณะที่ 3 เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนมติและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ที่ห้ามฉาย จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย”ในราชอาณาจักร และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากเงินทุนที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,530,388.55 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้คำฟ้องระบุเหตุแห่งการฟ้องคดีว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ไม่อนุญาตให้ภาพยนตร์เรื่อง “ เชคสเปียร์ต้องตาย” ซึ่งแปลจากบทประพันธ์โดยกวีเอกของโลก วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เรื่อง “โศกนาฎกรรมแม็คเบ็ธ” หรือ The Tragedy of Macbeth ให้เผยแพร่ในประเทศไทย โดยอ้างว่ามีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ 2552 ข้อ 7(3)นั้น เห็นว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อจำกัดในหลักการของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล และสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 และหากจะอะลุ่มอล่วยให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ข้อเท็จจริงสังคมไทยมีการเข่นฆ่าประชาชนเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน ทั้งเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 เหตุการณ์ 6 ต.ค 19 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และกรณีสงครามยาเสพติด ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นความรุนแรงของสังคมไทยที่มิอาจลืมเลือน หรือปกปิดไว้ได้แต่อย่างใด โดยคนไทย สมควรเรียนรู้ร่วมกันเพื่อร่วมมือกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ดังนั้นภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย”จึงมิได้มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความแตกสามัคคีคนในชาติตามที่อ้าง “เนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้มีตอนใดตอนหนี่งที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่อ้าง เพราะเนื้อหาสาระของภาพยนตร์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยอย่างซื่อตรงต่อต้นฉบับละครเรื่อง “โศกนาฎกรรมแม็คเบ็ธ” อันเป็นบทประพันธ์ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ กวีเอกของโลก โดยมีการดัดแปลง เพื่อให้เป็นภาษาของภาพยนตร์และเข้ากับริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยเท่านั้น การที่อ้างว่าไม่ให้ภาพยนตร์นี้ฉาย ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐนั้น คำว่า “รัฐ” ย่อมหมายถึงรัฐชาติ ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด ดังนั้นการกระหายเลือด การมักใหญ่ใฝ่สูง การงมงายในไลยศาสตร์ของตัวละครในภาพยนตร์ ที่สถาปนาตนเองเป็นราชา ซึ่งเหมือนกับผู้นำประเทศต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงของสังคม ย่อมมิได้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงเกียรติภูมิของประเทศแต่อย่างใด เพราะรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดมิได้หมายถึงประเทศชาติด้วย”
ทั้งนี้ ท้ายคำฟ้องนายมานิต และน.ส.สมานรัชฎ์ ยังระบุว่าด้วย ตนเองต้องเสียค่าใช้จ่ายในค่าตอบแทนส่วนตัวในกระบวนการผลิตภาพยนตร์จนเสร็จสิ้นอีก 2,250,000 บาท รวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในการร่วมทุนสร้างภาพยนตร์กับบุคคลอื่น แต่การสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งสองไม่ได้มีเจตจำนงในการแสวงหากำไรในการสร้าง จึงไม่ติดใจที่จะเรียค่าเสียหายในส่วนนี้จากผู้ถูกฟ้องคดี
ทั้งนี้คำฟ้องระบุเหตุแห่งการฟ้องคดีว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ไม่อนุญาตให้ภาพยนตร์เรื่อง “ เชคสเปียร์ต้องตาย” ซึ่งแปลจากบทประพันธ์โดยกวีเอกของโลก วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เรื่อง “โศกนาฎกรรมแม็คเบ็ธ” หรือ The Tragedy of Macbeth ให้เผยแพร่ในประเทศไทย โดยอ้างว่ามีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ 2552 ข้อ 7(3)นั้น เห็นว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อจำกัดในหลักการของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล และสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 และหากจะอะลุ่มอล่วยให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ข้อเท็จจริงสังคมไทยมีการเข่นฆ่าประชาชนเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน ทั้งเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 เหตุการณ์ 6 ต.ค 19 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และกรณีสงครามยาเสพติด ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นความรุนแรงของสังคมไทยที่มิอาจลืมเลือน หรือปกปิดไว้ได้แต่อย่างใด โดยคนไทย สมควรเรียนรู้ร่วมกันเพื่อร่วมมือกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ดังนั้นภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย”จึงมิได้มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความแตกสามัคคีคนในชาติตามที่อ้าง “เนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้มีตอนใดตอนหนี่งที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่อ้าง เพราะเนื้อหาสาระของภาพยนตร์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยอย่างซื่อตรงต่อต้นฉบับละครเรื่อง “โศกนาฎกรรมแม็คเบ็ธ” อันเป็นบทประพันธ์ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ กวีเอกของโลก โดยมีการดัดแปลง เพื่อให้เป็นภาษาของภาพยนตร์และเข้ากับริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยเท่านั้น การที่อ้างว่าไม่ให้ภาพยนตร์นี้ฉาย ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐนั้น คำว่า “รัฐ” ย่อมหมายถึงรัฐชาติ ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด ดังนั้นการกระหายเลือด การมักใหญ่ใฝ่สูง การงมงายในไลยศาสตร์ของตัวละครในภาพยนตร์ ที่สถาปนาตนเองเป็นราชา ซึ่งเหมือนกับผู้นำประเทศต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงของสังคม ย่อมมิได้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงเกียรติภูมิของประเทศแต่อย่างใด เพราะรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดมิได้หมายถึงประเทศชาติด้วย”
ทั้งนี้ ท้ายคำฟ้องนายมานิต และน.ส.สมานรัชฎ์ ยังระบุว่าด้วย ตนเองต้องเสียค่าใช้จ่ายในค่าตอบแทนส่วนตัวในกระบวนการผลิตภาพยนตร์จนเสร็จสิ้นอีก 2,250,000 บาท รวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในการร่วมทุนสร้างภาพยนตร์กับบุคคลอื่น แต่การสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งสองไม่ได้มีเจตจำนงในการแสวงหากำไรในการสร้าง จึงไม่ติดใจที่จะเรียค่าเสียหายในส่วนนี้จากผู้ถูกฟ้องคดี