ASTVผู้จัดการรายวัน-ดีเอสไอฟ้อง “ศรีสุข รุ่งวิสัย" อดีตส.ว. กับพวกรวม14คน คดีแชร์ล็อตเตอรี่ โกงสหกรณ์ออมทรัพย์ สร้างความเสียหายรวม 25,561 ล้านบาท
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ล็อตเตอรี่ ว่า ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องนายศรีสุข รุ่งวิสัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา กับพวก รวมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 14 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และสั่งไม่ฟ้องอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิติบุคคลและบุคคลบางราย รวมทั้งยังสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีความเห็นว่าสมควรกันไว้เป็นพยานสำคัญในคดี พร้อมได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ สำนักคดีอาญาพิเศษ 1 ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาทั้งหมดให้พนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ พิจารณาเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา
"ได้ร่วมกับ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร และมีความเห็นสอดคล้องกันว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด ยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิติบุคคลและบุคคลบางรายมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น และโดยพฤติการณ์ในคดียังปรากฏข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า นิติบุคคลและบุคคลบางรายยังเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเองอีกด้วย หากจะมีความผิดก็เป็นเรื่องทางแพ่งที่จะต้องว่ากล่าวหรือดำเนินคดีฟ้องร้องกันในทางแพ่งต่อไป"นายธาริตกล่าว
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ได้รวบรวมพยานหลักฐานเสนอความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดรวม 87 ราย คือ นายศรีสุข รุ่งวิสัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา กับพวก รวมทั้งอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ
สำหรับพฤติการณ์ในการกระทำความผิด กล่าวคือ บริษัท เทวาสิทธิพิฆเนศ จำกัด และ บริษัท ศรีโสภา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โดยนายศรีสุข รุ่งวิสัย กับพวก ได้ร่วมกันหลอกลวงสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ ให้เข้ามาเป็นคู่สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 18 สัญญา ความเสียหายรวมประมาณ 25,561 ล้านบาท โดยหลอกลวงว่า บริษัท เทวาสิทธิพิฆเนศ และบริษัท ศรีโสภา เป็นคู่ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สามารถจัดหาสลากกินแบ่งรัฐบาลราคาถูกมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อและทำกำไรได้ โดยที่ความจริงแล้วบริษัททั้ง 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับสำนักงานสลากฯ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
เมื่อสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ โดยประธานและผู้จัดการสหกรณ์หลงเชื่อ ก็ได้ทำสัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งและจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับนายศรีสุข ซึ่งต่อมาเมื่อนายศรีสุข รับเงินไปแล้วก็ไม่ได้มีการส่งมอบสลากกันตามสัญญา และไม่ได้มีการคืนเงินให้กับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ ได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ ในปี 2554 นายศรีสุข รุ่งวิสัย ยังถูกกล่าวหาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงมูลค่าหลายพันล้านบาท
ขณะที่สัปดาห์ก่อน ศาลฎีกาแผนกเลือกตั้ง มีคำสั่งคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี นายศรีสุข รุ่งวิสัย เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยวินิจฉัยว่า นายศรีสุข ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเป็น ส.ว.สรรหา ตามที่สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ ศาลฎีกาจึงมีมติให้เพิกถอน ส.ว.สรรหา ของ นายศรีสุข และให้มีการ สรรหา ส.ว.ใหม่ ส่วนคำร้องที่ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปีนั้น ให้ยกไป
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ล็อตเตอรี่ ว่า ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องนายศรีสุข รุ่งวิสัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา กับพวก รวมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 14 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และสั่งไม่ฟ้องอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิติบุคคลและบุคคลบางราย รวมทั้งยังสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีความเห็นว่าสมควรกันไว้เป็นพยานสำคัญในคดี พร้อมได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ สำนักคดีอาญาพิเศษ 1 ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาทั้งหมดให้พนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ พิจารณาเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา
"ได้ร่วมกับ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร และมีความเห็นสอดคล้องกันว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด ยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิติบุคคลและบุคคลบางรายมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น และโดยพฤติการณ์ในคดียังปรากฏข้อเท็จจริงอีกด้วยว่า นิติบุคคลและบุคคลบางรายยังเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเองอีกด้วย หากจะมีความผิดก็เป็นเรื่องทางแพ่งที่จะต้องว่ากล่าวหรือดำเนินคดีฟ้องร้องกันในทางแพ่งต่อไป"นายธาริตกล่าว
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน ได้รวบรวมพยานหลักฐานเสนอความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดรวม 87 ราย คือ นายศรีสุข รุ่งวิสัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา กับพวก รวมทั้งอดีตผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ
สำหรับพฤติการณ์ในการกระทำความผิด กล่าวคือ บริษัท เทวาสิทธิพิฆเนศ จำกัด และ บริษัท ศรีโสภา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โดยนายศรีสุข รุ่งวิสัย กับพวก ได้ร่วมกันหลอกลวงสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ ให้เข้ามาเป็นคู่สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 18 สัญญา ความเสียหายรวมประมาณ 25,561 ล้านบาท โดยหลอกลวงว่า บริษัท เทวาสิทธิพิฆเนศ และบริษัท ศรีโสภา เป็นคู่ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สามารถจัดหาสลากกินแบ่งรัฐบาลราคาถูกมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อและทำกำไรได้ โดยที่ความจริงแล้วบริษัททั้ง 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับสำนักงานสลากฯ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
เมื่อสหกรณ์ออมทรัพย์จังหวัดต่างๆ โดยประธานและผู้จัดการสหกรณ์หลงเชื่อ ก็ได้ทำสัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งและจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับนายศรีสุข ซึ่งต่อมาเมื่อนายศรีสุข รับเงินไปแล้วก็ไม่ได้มีการส่งมอบสลากกันตามสัญญา และไม่ได้มีการคืนเงินให้กับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ ได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ ในปี 2554 นายศรีสุข รุ่งวิสัย ยังถูกกล่าวหาจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงมูลค่าหลายพันล้านบาท
ขณะที่สัปดาห์ก่อน ศาลฎีกาแผนกเลือกตั้ง มีคำสั่งคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี นายศรีสุข รุ่งวิสัย เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยวินิจฉัยว่า นายศรีสุข ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเป็น ส.ว.สรรหา ตามที่สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ ศาลฎีกาจึงมีมติให้เพิกถอน ส.ว.สรรหา ของ นายศรีสุข และให้มีการ สรรหา ส.ว.ใหม่ ส่วนคำร้องที่ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปีนั้น ให้ยกไป