วานนี้(29 ก.ค.55) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์วิทยุวีโอเอ ภาคภาษาไทย ระหว่างเยือนกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดูงานและประสานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ กับหน่วยงานของสหรัฐในการจัดการภัยพิบัติและกระชับความร่วมมือและความสัมพันธ์ของสองประเทศ ว่า องค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยกับคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของไทย ซึ่งทำงานร่วมกันมาหลายปีแล้ว โดยนาซา พร้อมที่จะเข้ามาสำรวจ เพราะเมื่อทำทั่วโลกแล้วจะเว้นเฉพาะที่ตรงนี้ก็คงไม่ได้
"แต่ปัญหาก็คือ นี่มันเป็นบ้านเรา เราก็ต้องเป็นฝ่ายออกปากเชิญเขาก่อน ซึ่งเราก็รู้เข้าใจตรงกันว่า เรื่องนี้มันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ แต่จู่ๆ ฝ่ายค้านก็ออกมาบอกว่าจะมีปัญหาด้านความมั่นคง ด้านเขตแดน แล้วหนังสือพิมพ์ก็ข่มขู่ว่าจะร้องต่อศาล เราก็เลยต้องเอาเข้าสภา"
ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมจะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 179 ที่บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ที่คณะรัฐมนตรีเห็นควรจะฟังความเห็นของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คณะรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภา เพื่อขอให้มีการอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติ
"นาซาเขาเข้าใจเรา เขาบอกว่า ยูกลับไปก่อนเลย ไปเอาเข้าสภาให้เรียบร้อย ผ่านมาเซ็นเอ็มโอยูทันที แล้วเริ่มกันในปีนี้เลย คนของเขาร้อยกว่าคนพร้อมที่จะเดินทางมาทันที เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จบ สิงหาฯ นี้เข้าสภา แล้วก็เข้า 179"
นายปลอดประสพ กล่าวว่า เรื่องนี้มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาไม่เข้าใจและคัดค้าน แต่คนส่วนใหญ่มองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับทั้งสิ้น คนส่วนน้อยที่ไม่รู้ แล้วก็คนที่หลงเชื่อ
"ผมไม่ต้องไปอธิบายอะไรหรอกครับ ความจริงคือความจริง ทำให้ประจักษ์ น้ำไม่ท่วม นั่นแหละครับที่คนไทยเขาอยากได้ เขาไม่ต้องการน้ำลายท่วม"
การเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ปลอดประสพ จะไปดูงานที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ที่ก่อนหน้านี้เคยประสบกับมหาอุทกภัยมาแล้วด้วย โดยเขาหวังจะได้เรียนรู้ว่า มีการเตือนภัยอย่างไร รับมืออย่างไร และแก้ปัญหาอย่างไร เพราะเขาเชื่อว่าสภาพภูมิศาสตร์ของนิวออร์ลีนส์นั้น ไม่ต่างจากไทยมากนัก และเขายินดีที่จะลอกเลียนแบบสิ่งดีๆ จากนิวออร์ลีนส์เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย
สำหรับการช่วยเหลือจากสหรัฐนั้น ปลอดประสพ บอกว่า ประเทศไทยคงไม่ร้องขอความเหลือจากประเทศใดๆ แต่เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ก็ได้รับความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ จากมิตรประเทศ ทั้งสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องของน้ำใจ แต่การที่จะให้ไทยไปร้องขอนั้นคงไม่มี เพราะยังมั่นใจว่าบริหารจัดการได้เอง
"แต่ปัญหาก็คือ นี่มันเป็นบ้านเรา เราก็ต้องเป็นฝ่ายออกปากเชิญเขาก่อน ซึ่งเราก็รู้เข้าใจตรงกันว่า เรื่องนี้มันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ แต่จู่ๆ ฝ่ายค้านก็ออกมาบอกว่าจะมีปัญหาด้านความมั่นคง ด้านเขตแดน แล้วหนังสือพิมพ์ก็ข่มขู่ว่าจะร้องต่อศาล เราก็เลยต้องเอาเข้าสภา"
ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมจะนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 179 ที่บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ที่คณะรัฐมนตรีเห็นควรจะฟังความเห็นของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คณะรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภา เพื่อขอให้มีการอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติ
"นาซาเขาเข้าใจเรา เขาบอกว่า ยูกลับไปก่อนเลย ไปเอาเข้าสภาให้เรียบร้อย ผ่านมาเซ็นเอ็มโอยูทันที แล้วเริ่มกันในปีนี้เลย คนของเขาร้อยกว่าคนพร้อมที่จะเดินทางมาทันที เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จบ สิงหาฯ นี้เข้าสภา แล้วก็เข้า 179"
นายปลอดประสพ กล่าวว่า เรื่องนี้มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาไม่เข้าใจและคัดค้าน แต่คนส่วนใหญ่มองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับทั้งสิ้น คนส่วนน้อยที่ไม่รู้ แล้วก็คนที่หลงเชื่อ
"ผมไม่ต้องไปอธิบายอะไรหรอกครับ ความจริงคือความจริง ทำให้ประจักษ์ น้ำไม่ท่วม นั่นแหละครับที่คนไทยเขาอยากได้ เขาไม่ต้องการน้ำลายท่วม"
การเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ปลอดประสพ จะไปดูงานที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ที่ก่อนหน้านี้เคยประสบกับมหาอุทกภัยมาแล้วด้วย โดยเขาหวังจะได้เรียนรู้ว่า มีการเตือนภัยอย่างไร รับมืออย่างไร และแก้ปัญหาอย่างไร เพราะเขาเชื่อว่าสภาพภูมิศาสตร์ของนิวออร์ลีนส์นั้น ไม่ต่างจากไทยมากนัก และเขายินดีที่จะลอกเลียนแบบสิ่งดีๆ จากนิวออร์ลีนส์เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย
สำหรับการช่วยเหลือจากสหรัฐนั้น ปลอดประสพ บอกว่า ประเทศไทยคงไม่ร้องขอความเหลือจากประเทศใดๆ แต่เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ก็ได้รับความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ จากมิตรประเทศ ทั้งสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องของน้ำใจ แต่การที่จะให้ไทยไปร้องขอนั้นคงไม่มี เพราะยังมั่นใจว่าบริหารจัดการได้เอง