กรมการท่องเที่ยว เพิ่งฟิต ขอ 20 ล้านบาทจากงบปี 2556 จัดโครงการอบรมภาษาให้ไกด์ 320 คน ใน 8 ภาษา ที่ขาดแคลน และ ภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน หวังรับการเติบโตของนักท่องเที่ยวและการเปิดเออีซี พร้อมเร่งศึกษากฏหมาย ต่างประเทศ อย่างรู้เขารู้เรา เพื่อนำมาพัฒนาและปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ด้วยเงิน กว่า 10 ล้านบาท
นายขจร วีระใจ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้เสนอของบประมาณของปี 2556 เพื่อให้สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จัดทำโครงการพัฒนาภาษาต่างประเทศที่ขาดแคลนและเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้แก่มัคคุเทศก์ โดยภาษาที่จะอบรมในโครงการนี้มีทั้งหมด 8 ภาษา ประกอบด้วย รัสเซีย จีน สเปน เกาหลี
ญี่ปุ่น อาหรับ เวียดนาม และ บาคาซา(เป็นภาษาที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย)
รายละเอียดโครงการ จะแบ่งการอบรมให้แก่มัคคุเทศก์ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ รวม 8 รุ่นๆละ 40 คน รวม 320 คน แต่ละรุ่นใช้เวลาอบรมนาน 120 ชั่วโมง ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัตินอกสถานที่ โดยโครงการนี้ จะเป็นโครงการที่ร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาและสมาคมมัคคุเทศก์
นอกจากนั้น ในแต่ละภาษาจะเลือกพื้นที่ของการอบรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ภาษาบาคาซา อาจจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่มัคคุเทศก์ ในพื้นที่ภาคใต้ หรือภาษาเวียดนาม อาจไปฝึกให้แก่มัคคุเทศก์ที่อยู่ในแถบภาคตะวันออก และ จังหวัดตะเข็บชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศนั้นๆ เพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวผ่านตะเข็บชายแดน ซึ่งขณะนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าหากเปิดเสรีอาเซียน จะมีการเดินทางข้ามประเทศตามชายแดนมากขึ้นไปอีก
การที่ต้องให้ความสำคัญในการผลิตบุคลากรในภาษาที่ขาดแคลน และ ภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แรงงานไกด์ของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ เมื่อมีการเปิด AEC เพราะแต่ละภาษาที่บรรจุในโครงการนี้ ล้วนเป็นภาษาที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้ไกด์ที่มีความชำนาญภาษามีไม่เพียงพอ และ
ยังเป็นภาษาท้องถิ่นในอาเซียน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไกด์ของไทย สามารถออกไปแข่งขันในเวทีอาเซียนได้ ปัจจุบัน ไกด์ไทยส่วนใหญ่ ชำนาญเฉพาะภาษาอังกฤษ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ภาษาที่3ด้วย
นอกจากนั้นทางกรมการท่องเที่ยว โดยสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ อยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ของประเทศอื่นๆ ทั้งในอาเซียนและประเทศที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขาเติบโตสูง เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียกับกฎหมายของไทย เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ทั้งเพิ่มและลดกฏเกณฑ์ที่จะนำมาซึ่งความสามารรถทางการแข่งขันให้แก่ประเทศไทย อีกทั้งยังเพื่อเป็นการรู้เขารู้เรา วิเคราะห์เป็นโอกาสและลดอุปสรรคให้แก่ประเทศไทย
ขณะนี้โครงการศึกษากฎหมาย ได้เริ่มเฟส 1 แล้วในปีงบประมาณ 2555 วงเงิน 3 ล้านบาท และ ปีงบประมาณ 56 เตรียมเสนอการศึกษาต่อในเฟส 2 วงเงิน 8 ล้านบาท มี ประเด็นสำคัญ ในการศึกษาของโครงการนี้ คือ การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ความเหมือนและต่าง และความเหมาะสมหากไทยจะนำมาปรับใช้ และ ผลจากการวิเคราะห์ ก็จะนำไปสู่การยกร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อแก้ไขข้อกฎหมายในส่วนที่จำเป็น ในรูปของประกาศกระทรวง หรือ เข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎีกา แล้วแต่ความเหมาะสม
นายขจร วีระใจ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้เสนอของบประมาณของปี 2556 เพื่อให้สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จัดทำโครงการพัฒนาภาษาต่างประเทศที่ขาดแคลนและเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้แก่มัคคุเทศก์ โดยภาษาที่จะอบรมในโครงการนี้มีทั้งหมด 8 ภาษา ประกอบด้วย รัสเซีย จีน สเปน เกาหลี
ญี่ปุ่น อาหรับ เวียดนาม และ บาคาซา(เป็นภาษาที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย)
รายละเอียดโครงการ จะแบ่งการอบรมให้แก่มัคคุเทศก์ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ รวม 8 รุ่นๆละ 40 คน รวม 320 คน แต่ละรุ่นใช้เวลาอบรมนาน 120 ชั่วโมง ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัตินอกสถานที่ โดยโครงการนี้ จะเป็นโครงการที่ร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาและสมาคมมัคคุเทศก์
นอกจากนั้น ในแต่ละภาษาจะเลือกพื้นที่ของการอบรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ภาษาบาคาซา อาจจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่มัคคุเทศก์ ในพื้นที่ภาคใต้ หรือภาษาเวียดนาม อาจไปฝึกให้แก่มัคคุเทศก์ที่อยู่ในแถบภาคตะวันออก และ จังหวัดตะเข็บชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศนั้นๆ เพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวผ่านตะเข็บชายแดน ซึ่งขณะนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าหากเปิดเสรีอาเซียน จะมีการเดินทางข้ามประเทศตามชายแดนมากขึ้นไปอีก
การที่ต้องให้ความสำคัญในการผลิตบุคลากรในภาษาที่ขาดแคลน และ ภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แรงงานไกด์ของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ เมื่อมีการเปิด AEC เพราะแต่ละภาษาที่บรรจุในโครงการนี้ ล้วนเป็นภาษาที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้ไกด์ที่มีความชำนาญภาษามีไม่เพียงพอ และ
ยังเป็นภาษาท้องถิ่นในอาเซียน ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไกด์ของไทย สามารถออกไปแข่งขันในเวทีอาเซียนได้ ปัจจุบัน ไกด์ไทยส่วนใหญ่ ชำนาญเฉพาะภาษาอังกฤษ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ภาษาที่3ด้วย
นอกจากนั้นทางกรมการท่องเที่ยว โดยสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ อยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ของประเทศอื่นๆ ทั้งในอาเซียนและประเทศที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขาเติบโตสูง เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสียกับกฎหมายของไทย เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ทั้งเพิ่มและลดกฏเกณฑ์ที่จะนำมาซึ่งความสามารรถทางการแข่งขันให้แก่ประเทศไทย อีกทั้งยังเพื่อเป็นการรู้เขารู้เรา วิเคราะห์เป็นโอกาสและลดอุปสรรคให้แก่ประเทศไทย
ขณะนี้โครงการศึกษากฎหมาย ได้เริ่มเฟส 1 แล้วในปีงบประมาณ 2555 วงเงิน 3 ล้านบาท และ ปีงบประมาณ 56 เตรียมเสนอการศึกษาต่อในเฟส 2 วงเงิน 8 ล้านบาท มี ประเด็นสำคัญ ในการศึกษาของโครงการนี้ คือ การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ความเหมือนและต่าง และความเหมาะสมหากไทยจะนำมาปรับใช้ และ ผลจากการวิเคราะห์ ก็จะนำไปสู่การยกร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อแก้ไขข้อกฎหมายในส่วนที่จำเป็น ในรูปของประกาศกระทรวง หรือ เข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎีกา แล้วแต่ความเหมาะสม