xs
xsm
sm
md
lg

อังกฤษเก็บ”เอพีดี”โหด ไม่เป็นธรรม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน -   ประธานพาต้าคนใหม่    ใช้เวที พาต้า ฮับซิตี้ ฟอรัม ที่กรุงลอนดอน ค้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร หรือ APD   ฉะอังกฤษ ใช้เกณฑ์ไม่เป็นธรรม  หวั่นประเทศอื่นเลียนแบบ  ส่อแววตกงาน 6.5 ล้านคน

นายมาร์ติน เจ.เคร็กก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร   สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หรือพาต้า (The Pacific Asia Travel Association - PATA) เปิดเผยว่า  ในการเข้าร่วมประชุม  พาต้า ฮับซิตี้ ฟอรัม ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 5 ก.ค. 55 ซึ่งจะมีผู้นำจาก 6 ประเทศในยุโรปเข้าร่วม พาต้าจะใช้เวทีนี้เป็นกระบอกเสียงให้แก่ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร ที่เดินทางโดยเครื่องบิน หรือ แอร์ พาสเซนเจอร์ ดิวตี้ (Air  passenger Duty หรือ APD)  

ทั้งนี้ APD เป็นเงื่อนไขที่ออกโดยรัฐบาลอังกฤษ  กำหนดบังคับใช้ กับผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม เอ บี ซี และ ดี คิดตามระยะทางตั้งแต่ใกล้ ไปถึงไกลที่สุดกว่า 6,000 ไมล์ ขึ้นไป  พาต้า มองว่า ข้อบังคับนี้ถือเป็นการกีดกันการท่องเที่ยว ทั้งที่ปัจจุบันนานาประเทศทั่วโลกต่างเปิดเสรีการค้าและบริการ โดยที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ยังไม่มีใครที่จะกล้าออกมาแสดงความคิดคัดค้าน พาต้า จึงขอเป็นตัวแทนเรียกร้องความยุติธรรมให้ และอยากให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในเอเชีย แปซิฟิก ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเช่นกัน เพราะที่ประเทศออสเตรเลีย ก็เคยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในรูปแบบคล้ายกันนี้ แต่ก็ต้องยกเลิกไป เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้าเข้มแข็ง  ร่วมมือกันขอคัดค้าน 
หวั่น APD ทำคนตกงาน 6.5 ล้านคน
ข้อบังคับ APD  เริ่มประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2553 โดยทยอยปรับขึ้น 1% ทุกปี  ทำให้ปัจจุบันผู้โดยสารที่จะเดินทางจากอังกฤษมาในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ต้องชำระค่าธรรมเนียม APD    ในอัตรา 90 ปอนด์ หรือราว 4,500 บาทต่อคน โดยจะถูกรวมไว้ในตั๋วเครื่องบิน ที่ผู้โดยสารจะต้องจ่าย  หรือต่อหนึ่งครอบครัว จะต้องเสียค่าธรรมเนียม APD รวมแล้วเฉลี่ยที่  16,000 บาท  ทั้งที่ในอดีต เมื่อปี 2537  ค่าธรรมเนียมAPD มีการจัดเก็บที่ อัตรา  5 ปอน์ด หรือราว  250 บาท ต่อคนเท่านั้น 

“ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว  ทำให้นักท่องเที่ยวจากประเทอังกฤษเลือกที่จะเดินทางไปเที่ยวในประเทศที่ระยะทางใกล้กว่า หรือ เที่ยวภายในภูมิภาคของตัวเอง แทนที่จะต้องมาเสียค่าธรรมเนียม APD ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก เพื่อมาเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก  ซึ่งถือว่ากฏนี้ไม่ยุติธรรมกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอาจเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นๆ ทำบ้าง

ก็จะเท่ากับ ไม่ได้มีการส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอย่างแท้จริง  และ กระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีผลทำให้ภายในปี 2573 คนในเอเชียแปซิฟิก อาจต้องตกงานมากถึง 6.5 ล้านคน  “

การจัดเก็บค่าธรรมเนียม ที่นอกเหนือจาก APD ได้แก่  ข้อกำหนดการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียม สำหรับปริมาณการปล่อยคาร์บอน  ซึ่งกำหนดโดยอียู  หรือ EU  ETS  (EU Emission Trading System) โดยเรียกเก็บจากสายการบิน  ทำให้ มี 26 ประเทศ รวมทั้ง จีน และ อินเดีย  ที่ออกมา ต่อต้าน เพราะถือเป็นกฏที่ไม่เป็นธรรมและกีดกันการดำเนินธุรกิจ 
กำลังโหลดความคิดเห็น