คนส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นชาวพุทธ และมิได้เป็นชาวพุทธ เมื่อพูดถึงระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็จะนึกถึงรากเหง้าหรือที่มาว่ามาจากนักคิดชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ชาวกรีก โดยไม่เคยเฉลียวใจว่าแท้จริงแล้วรูปแบบการปกครองในแนวนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในพุทธศาสนา จะเห็นได้ทั้งในส่วนที่เป็นพระธรรม และพระวินัยดังต่อไปนี้
1. ในด้านคำสอนที่เป็นพระธรรม พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับอธิปไตยหรือความเป็นใหญ่ว่ามีอยู่ 3 ประการ คือ
1.1 อัตตาธิปไตย คือถือความคิด ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ฟังใครอื่นเขา เทียบได้กับเผด็จการ
1.2 โลกาธิปไตย ยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่ เห็นคนหมู่มากทำอะไรและทำอย่างไรก็ทำตาม ไม่นำความคิดเห็นของตนเองมาใคร่ครวญไตร่ตรองหาเหตุผลว่าควรทำหรือไม่ควรทำแต่อย่างใด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทำเพราะเห็นว่าคนอื่นเขาทำ เทียบได้กับประชาธิปไตยในรูปแบบของพวกมากลากไป
1.3 ธัมมาธิปไตย ยึดถือหลักการที่ถูกต้องและมีเหตุผล เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น หรือแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แต่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ทำด้วยความเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม เป็นอธิปไตยที่ไม่มีรูปแบบในโลกของโลกียชน แต่เป็นหลักการที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในการปกครองของอริยสาวกของพระพุทธเจ้าผู้หมดกิเลส ไม่ทำเพื่อตนเอง แต่ทำทุกอย่างเพื่อผู้อื่น
แต่อย่างไรก็ตาม อธิปไตยข้อนี้สามารถนำมาสอดแทรกหรือประยุกต์ใช้กับอธิปไตยสองข้อแรกได้ และทำให้แต่ละข้อมีความสมบูรณ์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และส่วนรวมได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า ระบบเผด็จการที่ยุติธรรมและทำเพื่อส่วนรวม ย่อมดีกว่าประชาธิปไตยที่อ่อนแอ และเห็นแก่ตัว แต่ถ้าระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมกำกับด้วยก็ย่อมดียิ่งกว่าเสียอีก
ทั้งหมดที่ยกมาก็คือคำสอนในส่วนที่เป็นธรรมะ อันเกี่ยวกับการปกครองใน 3 ระบบ
แต่คำสอนในพระพุทธศาสนาที่แสดงให้เห็นถึงการมีรากเหง้าแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมิได้มีแค่หลักการ แต่มีรูปแบบการปกครองอันเป็นประชาธิปไตยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมปรากฏในพระวินัยดังนี้
1. ในการบวชให้กุลบุตรเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาในยุคแรกหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ใช้วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือการที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาว่า เจ้าจงเป็นภิกษุเถิด ก็ถือได้ว่าผ่านการอุปสมบทแล้ว แต่วิธีนี้กระทำได้แต่เพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น และจะกระทำแก่ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนา และมีดวงตาเห็นธรรมด้วยเป็นพระโสดาบันแล้วเท่านั้น และพระภิกษุรูปแรกที่บวชวิธีนี้ก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะ
การให้อุปสมบทแบบนี้เทียบได้กับระบบเผด็จการ คือคนเดียวคิด คนเดียวสั่งการ แต่เป็นเผด็จการที่ประกอบด้วยคุณธรรม และมีญาณหยั่งรู้ว่าคนนี้เป็นคนเช่นไร และให้บวชแล้วจะมีประโยชน์อันใดทั้งแก่ตัวเขาเอง และศาสนาของพระองค์ได้บ้างหรือไม่ประการใด
2. เมื่อมีภิกษุจำนวนเพิ่มขึ้น และต่างรูปต่างออกจาริกเที่ยวไปในแคว้นต่างๆ เพื่อสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อมีกุลบุตรศรัทธาต้องการจะบวช พระภิกษุเหล่านี้ต่างต้องนำมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทำให้เกิดความไม่สะดวก จึงได้มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุจำนวน 5 รูปขึ้นไปให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ แต่กำหนดให้มีพิธีที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม คือให้สงฆ์ 5 รูปขึ้นไปในเขตสีมาเดียวกันประชุมกัน และให้กุลบุตรแสดงอาการขออุปสมบทต่อสงฆ์ โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นอุปัชฌาย์ให้บวช และสงฆ์ที่เหลือแสดงความเห็นด้วยที่จะให้บวชโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงถือว่าเป็นการอุปสมบทสมบูรณ์ ถ้ามีผู้คัดค้านเพียงรูปเดียว การอุปสมบทจะถือเป็นโมฆะ ถือไม่เป็นอันบวช
พิธีอุปสมบทเยี่ยงนี้ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และดีกว่าระบอบประชาธิปไตยที่ถือเอาเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งด้วยซ้ำไป
3. ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่ว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ใครจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ว่า “ดูก่อนอานนท์ พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราประกาศแล้ว บัญญัติแล้ว จะเป็นศาสดาแทนเรา (ตถาคต) เมื่อล่วงลับไป”
จากพุทธพจน์ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าสอนให้สาวกยึดหลักการมิให้ยึดบุคคล
ด้วยเหตุนี้ พระธรรมและพระวินัยจึงเป็นเสมือนธรรมนูญปกครองสงฆ์ตั้งแต่นั้นมา และการตรัสตอบพระอานนท์ก็เท่ากับทรงพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญให้แก่สงฆ์นั่นเอง
4. ในการปกครองสงฆ์ในยุคต่อมา ได้ยึดคำสอนในส่วนที่เป็นพระวินัย เป็นแม่บทในการปกครอง และเมื่อใดก็ตามเกิดมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกระทำผิดพระวินัยก็จะมีบทลงโทษ และวิธีการลงโทษเป็นรูปแบบแน่นอน 6 ประการ หรือที่เรียกว่า วิธีระงับอธิกรณ์ หรืออธิกรณสมถะ 7 ประการ และใน 7 ประการนี้มีอยู่ประการหนึ่งที่ให้ใช้เสียงข้างมากในทำนองเดียวกับระบอบประชาธิปไตย คือ เยภุยยสิกา (การระงับด้วยถือเสียงข้างมาก) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน จึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ด้วยถือเอาเสียงข้างมาก ให้สงฆ์สวดสมมติ (คือแต่งตั้ง) ให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ให้จับสลาก และภิกษุที่ว่านี้จะต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะหลง เพราะกลัว และสามารถควบคุมการจับสลากให้เป็นไปด้วยดี
ต่อจากนั้นได้ตรัสถึงการจับสลากที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม (อันเทียบได้กับการออกเสียงลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎร และผู้ควบคุมเทียบได้กับประธานสภาฯ) มี 10 ประการ คือ
1. เป็นเรื่องเล็กน้อย 2. ไม่ลุกลามไปสู่วัดอื่น 3. ไม่ต้องคิดแล้วคิดเล่า 4. รู้ว่ามีผู้กล่าวเป็นธรรมมากกว่า 5. รู้ว่าผู้กล่าวไม่เป็นธรรมอาจมีมากกว่า 6. รู้ว่าสงฆ์จะแตกกัน (ถ้าขืนลงมติ) 7. รู้ว่าสงฆ์อาจแตกกัน 8. จับสลากโดยไม่เป็นธรรม 9. จับสลากเป็นพวกๆ 10. มิได้จับสลากตามความเห็นของตน
อย่างนี้เรียกว่าไม่เป็นธรรม ส่วนที่เป็นธรรมตรงกันข้าม
ทั้งหมดที่ยกมาเป็นเพียงรูปแบบที่อาจเรียกได้ว่ามีส่วนเหมือนหรือสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยตำราของตะวันตก แต่คำสอนของพุทธมีมาก่อนนานแล้ว จึงอยากให้ ส.ส.ที่เป็นพุทธลองไปศึกษาดู และลองถามตัวเองว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเข้าข่ายประชาธิปไตยแบบพุทธบ้างไหม ที่ไม่เข้าข่ายผิดหรือไม่ประการใด โดยเฉพาะเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่ในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญก็ดี ร่างกฎหมายปรองดองก็ดี เป็นประชาธิปไตยที่มีธัมมาธิปไตยสอดแทรกอยู่บ้างไหม และถ้าไม่ก็ลองถามต่อ สมควรจะยึดระบอบนี้ต่อไปอีกหรือไม่ ประการใด
1. ในด้านคำสอนที่เป็นพระธรรม พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับอธิปไตยหรือความเป็นใหญ่ว่ามีอยู่ 3 ประการ คือ
1.1 อัตตาธิปไตย คือถือความคิด ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ฟังใครอื่นเขา เทียบได้กับเผด็จการ
1.2 โลกาธิปไตย ยึดถือความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่ เห็นคนหมู่มากทำอะไรและทำอย่างไรก็ทำตาม ไม่นำความคิดเห็นของตนเองมาใคร่ครวญไตร่ตรองหาเหตุผลว่าควรทำหรือไม่ควรทำแต่อย่างใด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทำเพราะเห็นว่าคนอื่นเขาทำ เทียบได้กับประชาธิปไตยในรูปแบบของพวกมากลากไป
1.3 ธัมมาธิปไตย ยึดถือหลักการที่ถูกต้องและมีเหตุผล เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น หรือแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แต่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ทำด้วยความเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม เป็นอธิปไตยที่ไม่มีรูปแบบในโลกของโลกียชน แต่เป็นหลักการที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในการปกครองของอริยสาวกของพระพุทธเจ้าผู้หมดกิเลส ไม่ทำเพื่อตนเอง แต่ทำทุกอย่างเพื่อผู้อื่น
แต่อย่างไรก็ตาม อธิปไตยข้อนี้สามารถนำมาสอดแทรกหรือประยุกต์ใช้กับอธิปไตยสองข้อแรกได้ และทำให้แต่ละข้อมีความสมบูรณ์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และส่วนรวมได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า ระบบเผด็จการที่ยุติธรรมและทำเพื่อส่วนรวม ย่อมดีกว่าประชาธิปไตยที่อ่อนแอ และเห็นแก่ตัว แต่ถ้าระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรมกำกับด้วยก็ย่อมดียิ่งกว่าเสียอีก
ทั้งหมดที่ยกมาก็คือคำสอนในส่วนที่เป็นธรรมะ อันเกี่ยวกับการปกครองใน 3 ระบบ
แต่คำสอนในพระพุทธศาสนาที่แสดงให้เห็นถึงการมีรากเหง้าแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมิได้มีแค่หลักการ แต่มีรูปแบบการปกครองอันเป็นประชาธิปไตยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมปรากฏในพระวินัยดังนี้
1. ในการบวชให้กุลบุตรเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาในยุคแรกหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ใช้วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือการที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาว่า เจ้าจงเป็นภิกษุเถิด ก็ถือได้ว่าผ่านการอุปสมบทแล้ว แต่วิธีนี้กระทำได้แต่เพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น และจะกระทำแก่ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนา และมีดวงตาเห็นธรรมด้วยเป็นพระโสดาบันแล้วเท่านั้น และพระภิกษุรูปแรกที่บวชวิธีนี้ก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะ
การให้อุปสมบทแบบนี้เทียบได้กับระบบเผด็จการ คือคนเดียวคิด คนเดียวสั่งการ แต่เป็นเผด็จการที่ประกอบด้วยคุณธรรม และมีญาณหยั่งรู้ว่าคนนี้เป็นคนเช่นไร และให้บวชแล้วจะมีประโยชน์อันใดทั้งแก่ตัวเขาเอง และศาสนาของพระองค์ได้บ้างหรือไม่ประการใด
2. เมื่อมีภิกษุจำนวนเพิ่มขึ้น และต่างรูปต่างออกจาริกเที่ยวไปในแคว้นต่างๆ เพื่อสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อมีกุลบุตรศรัทธาต้องการจะบวช พระภิกษุเหล่านี้ต่างต้องนำมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทำให้เกิดความไม่สะดวก จึงได้มีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุจำนวน 5 รูปขึ้นไปให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้ แต่กำหนดให้มีพิธีที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม คือให้สงฆ์ 5 รูปขึ้นไปในเขตสีมาเดียวกันประชุมกัน และให้กุลบุตรแสดงอาการขออุปสมบทต่อสงฆ์ โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นอุปัชฌาย์ให้บวช และสงฆ์ที่เหลือแสดงความเห็นด้วยที่จะให้บวชโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงถือว่าเป็นการอุปสมบทสมบูรณ์ ถ้ามีผู้คัดค้านเพียงรูปเดียว การอุปสมบทจะถือเป็นโมฆะ ถือไม่เป็นอันบวช
พิธีอุปสมบทเยี่ยงนี้ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และดีกว่าระบอบประชาธิปไตยที่ถือเอาเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งด้วยซ้ำไป
3. ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่ว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ใครจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ว่า “ดูก่อนอานนท์ พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราประกาศแล้ว บัญญัติแล้ว จะเป็นศาสดาแทนเรา (ตถาคต) เมื่อล่วงลับไป”
จากพุทธพจน์ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าสอนให้สาวกยึดหลักการมิให้ยึดบุคคล
ด้วยเหตุนี้ พระธรรมและพระวินัยจึงเป็นเสมือนธรรมนูญปกครองสงฆ์ตั้งแต่นั้นมา และการตรัสตอบพระอานนท์ก็เท่ากับทรงพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญให้แก่สงฆ์นั่นเอง
4. ในการปกครองสงฆ์ในยุคต่อมา ได้ยึดคำสอนในส่วนที่เป็นพระวินัย เป็นแม่บทในการปกครอง และเมื่อใดก็ตามเกิดมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกระทำผิดพระวินัยก็จะมีบทลงโทษ และวิธีการลงโทษเป็นรูปแบบแน่นอน 6 ประการ หรือที่เรียกว่า วิธีระงับอธิกรณ์ หรืออธิกรณสมถะ 7 ประการ และใน 7 ประการนี้มีอยู่ประการหนึ่งที่ให้ใช้เสียงข้างมากในทำนองเดียวกับระบอบประชาธิปไตย คือ เยภุยยสิกา (การระงับด้วยถือเสียงข้างมาก) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน จึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ด้วยถือเอาเสียงข้างมาก ให้สงฆ์สวดสมมติ (คือแต่งตั้ง) ให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ให้จับสลาก และภิกษุที่ว่านี้จะต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะหลง เพราะกลัว และสามารถควบคุมการจับสลากให้เป็นไปด้วยดี
ต่อจากนั้นได้ตรัสถึงการจับสลากที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม (อันเทียบได้กับการออกเสียงลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎร และผู้ควบคุมเทียบได้กับประธานสภาฯ) มี 10 ประการ คือ
1. เป็นเรื่องเล็กน้อย 2. ไม่ลุกลามไปสู่วัดอื่น 3. ไม่ต้องคิดแล้วคิดเล่า 4. รู้ว่ามีผู้กล่าวเป็นธรรมมากกว่า 5. รู้ว่าผู้กล่าวไม่เป็นธรรมอาจมีมากกว่า 6. รู้ว่าสงฆ์จะแตกกัน (ถ้าขืนลงมติ) 7. รู้ว่าสงฆ์อาจแตกกัน 8. จับสลากโดยไม่เป็นธรรม 9. จับสลากเป็นพวกๆ 10. มิได้จับสลากตามความเห็นของตน
อย่างนี้เรียกว่าไม่เป็นธรรม ส่วนที่เป็นธรรมตรงกันข้าม
ทั้งหมดที่ยกมาเป็นเพียงรูปแบบที่อาจเรียกได้ว่ามีส่วนเหมือนหรือสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยตำราของตะวันตก แต่คำสอนของพุทธมีมาก่อนนานแล้ว จึงอยากให้ ส.ส.ที่เป็นพุทธลองไปศึกษาดู และลองถามตัวเองว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเข้าข่ายประชาธิปไตยแบบพุทธบ้างไหม ที่ไม่เข้าข่ายผิดหรือไม่ประการใด โดยเฉพาะเรื่องที่ขัดแย้งกันอยู่ในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญก็ดี ร่างกฎหมายปรองดองก็ดี เป็นประชาธิปไตยที่มีธัมมาธิปไตยสอดแทรกอยู่บ้างไหม และถ้าไม่ก็ลองถามต่อ สมควรจะยึดระบอบนี้ต่อไปอีกหรือไม่ ประการใด