เอเจนซีส์ - “โกดัก” ออกมายอมรับว่ามีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บรรจุไว้ด้วยยูเรเนียมเสริมความเข้มข้นระดับที่ใช้สำหรับผลิตอาวุธ ซุกซ่อนอยู่ ณ บริเวณโรงงานอันใหญ่โตซับซ้อนของบริษัทในมลรัฐนิวยอร์กเป็นเวลากว่า 30 ปี แต่ทางโฆษกยืนยันว่ามันไม่เคยก่อความเสี่ยงทางกัมมันตภาพรังสีแก่พนักงานหรือประชาชนทั่วไป
ตามรายงานของเว็บไซต์ เดโมแครตแอนด์โครนิเคิลดอตคอม เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พื่อการวิจัยซึ่งมีขนาดพอๆ กับตู้เย็นนี้ ตั้งอยู่ภายในห้องใต้ดินของอาคารแห่งหนึ่ง ณ อดีตสวนอุตสาหกรรมโกดักปาร์ก ในเมืองโรเชสเตอร์ มลรัฐนิวยอร์ก มันบรรจุด้วยสารยูเรเนียม ซึ่ง โฆษกคณะกรรมการกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของทางการสหรัฐฯบอกว่า เป็นยูเรเนียม-235 ที่มีความเข้มข้นถึง 93.4% อันเป็นเกรดที่สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้ เป็นจำนวน 1,582 กรัม
บริษัทโกดักซึ่งเคยมีชื่อเสียงในเรื่องการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี (แม้จะไม่ใช่ด้านนิวเคลียร์) ก่อนที่จะต้องยื่นขอความคุ้มครองภายใต้กฎหมายล้มละลายในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้ใช้เตาปฏิกรณ์นี้สำหรับตรวจสอบสารเคมีและวัตถุเจือปนต่างๆ ตลอดจนการทดลองใช้รังสีนิวตรอนในการถ่ายภาพ โดยนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1974 ทั้งนี้ห้องใต้ดินแห่งนี้มีผนังที่เป็นคอนกรีตหนา 2 ฟุต (60 ซ.ม.) ขณะที่ทางเข้าไปก็วกวนและใช้มาตรการตรวจสอบเข้มงวด
โกดักปิดใช้งานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวเมื่อ 6 ปีก่อน แต่ยังคงมีการตรวจสอบอย่างละเอียดอย่างต่อเนื่องและต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2007 บริษัทโกดัก ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้จัดส่งสารยูเรเนียมไปยังสถานที่แห่งหนึ่งของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ซึ่งรายงานข่าวระบุว่าอยู่ในมลรัฐเซาท์แคโรไลนา โดยที่การขนย้ายมีการวางแผนรายละเอียดและการคุ้มกันอย่างเข้มงวดยิ่ง
อัลเบิร์ต ฟิโล อดีตนักวิจัยวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของโกดักที่ทำงานกับเตาปฏิกรณ์นี้มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี กล่าวว่า เรื่องโกดักมีอุปกรณ์นี้อยู่ในครอบครอง ไม่ได้มีการปิดบังอะไร ทว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่มีการแถลงข่าวป่าวร้อง
ขณะที่ คริสโตเฟอร์ เวรอนดา โฆษกของโกดักบอกว่าเขาไม่พบบันทึกเลยว่า โกดักเคยแถลงเรื่องมีเตาปฏิกรณ์นี้ให้สาธารณชนทราบ แต่เขายืนยันว่า “อุปกรณ์นี้ไม่ก่อความเสี่ยงทางกัมมันตภาพรังสีแก่สาธารณะหรือคนงาน” อีกทั้ง “กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการปฏิบัติการของมัน ไม่ตรวจพบบริเวณภายนอกโรงงาน”
ข้อเท็จจริงคือไม่มีตำรวจ หน่วยดับเพลิง หรือประชาชนทั่วไปในมลรัฐนิวยอร์กที่รู้เรื่องนี้มาก่อน ถึงแม้นักวิจัยของโกดักและหน่วยงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯทราบเรื่องนี้อยู่แล้ว รวมทั้งยังมีการเอ่ยถึงในเอกสารวิจัยหลายฉบับในระยะหลายๆ ปีก่อน ตลอดจนถูกพาดพิงถึงในเอกสารของทางการบางฉบับซึ่งเผยแพร่อยู่ตามเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลกลาง ทว่าเอกสารเหล่านี้ไม่มีการระบุที่ตั้งชัดเจน
เดโมแครตแอนด์โครนิเคิล ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ข่าวนี้รายแรกเมื่อวันศุกร์(11)ที่ผ่านมาระบุว่า ได้ทราบเรื่องเตาปฏิกรณ์นี้ จากลูกจ้างของโกดักรายหนึ่งซึ่งเอ่ยพาดพิงถึงอย่างไม่ตั้งใจให้ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งฟังเมื่อสองสามเดือนก่อน
ตามรายงานของเว็บไซต์ เดโมแครตแอนด์โครนิเคิลดอตคอม เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พื่อการวิจัยซึ่งมีขนาดพอๆ กับตู้เย็นนี้ ตั้งอยู่ภายในห้องใต้ดินของอาคารแห่งหนึ่ง ณ อดีตสวนอุตสาหกรรมโกดักปาร์ก ในเมืองโรเชสเตอร์ มลรัฐนิวยอร์ก มันบรรจุด้วยสารยูเรเนียม ซึ่ง โฆษกคณะกรรมการกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของทางการสหรัฐฯบอกว่า เป็นยูเรเนียม-235 ที่มีความเข้มข้นถึง 93.4% อันเป็นเกรดที่สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้ เป็นจำนวน 1,582 กรัม
บริษัทโกดักซึ่งเคยมีชื่อเสียงในเรื่องการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี (แม้จะไม่ใช่ด้านนิวเคลียร์) ก่อนที่จะต้องยื่นขอความคุ้มครองภายใต้กฎหมายล้มละลายในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้ใช้เตาปฏิกรณ์นี้สำหรับตรวจสอบสารเคมีและวัตถุเจือปนต่างๆ ตลอดจนการทดลองใช้รังสีนิวตรอนในการถ่ายภาพ โดยนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1974 ทั้งนี้ห้องใต้ดินแห่งนี้มีผนังที่เป็นคอนกรีตหนา 2 ฟุต (60 ซ.ม.) ขณะที่ทางเข้าไปก็วกวนและใช้มาตรการตรวจสอบเข้มงวด
โกดักปิดใช้งานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวเมื่อ 6 ปีก่อน แต่ยังคงมีการตรวจสอบอย่างละเอียดอย่างต่อเนื่องและต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2007 บริษัทโกดัก ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้จัดส่งสารยูเรเนียมไปยังสถานที่แห่งหนึ่งของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ซึ่งรายงานข่าวระบุว่าอยู่ในมลรัฐเซาท์แคโรไลนา โดยที่การขนย้ายมีการวางแผนรายละเอียดและการคุ้มกันอย่างเข้มงวดยิ่ง
อัลเบิร์ต ฟิโล อดีตนักวิจัยวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของโกดักที่ทำงานกับเตาปฏิกรณ์นี้มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี กล่าวว่า เรื่องโกดักมีอุปกรณ์นี้อยู่ในครอบครอง ไม่ได้มีการปิดบังอะไร ทว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่มีการแถลงข่าวป่าวร้อง
ขณะที่ คริสโตเฟอร์ เวรอนดา โฆษกของโกดักบอกว่าเขาไม่พบบันทึกเลยว่า โกดักเคยแถลงเรื่องมีเตาปฏิกรณ์นี้ให้สาธารณชนทราบ แต่เขายืนยันว่า “อุปกรณ์นี้ไม่ก่อความเสี่ยงทางกัมมันตภาพรังสีแก่สาธารณะหรือคนงาน” อีกทั้ง “กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการปฏิบัติการของมัน ไม่ตรวจพบบริเวณภายนอกโรงงาน”
ข้อเท็จจริงคือไม่มีตำรวจ หน่วยดับเพลิง หรือประชาชนทั่วไปในมลรัฐนิวยอร์กที่รู้เรื่องนี้มาก่อน ถึงแม้นักวิจัยของโกดักและหน่วยงานกำกับตรวจสอบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯทราบเรื่องนี้อยู่แล้ว รวมทั้งยังมีการเอ่ยถึงในเอกสารวิจัยหลายฉบับในระยะหลายๆ ปีก่อน ตลอดจนถูกพาดพิงถึงในเอกสารของทางการบางฉบับซึ่งเผยแพร่อยู่ตามเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลกลาง ทว่าเอกสารเหล่านี้ไม่มีการระบุที่ตั้งชัดเจน
เดโมแครตแอนด์โครนิเคิล ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ข่าวนี้รายแรกเมื่อวันศุกร์(11)ที่ผ่านมาระบุว่า ได้ทราบเรื่องเตาปฏิกรณ์นี้ จากลูกจ้างของโกดักรายหนึ่งซึ่งเอ่ยพาดพิงถึงอย่างไม่ตั้งใจให้ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งฟังเมื่อสองสามเดือนก่อน