เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (10 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง ประกอบด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.ทหารสูงสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ และทีมทนายความทีมทนายความฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร ที่เดินทางมาจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เดินทางมาจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือกรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ภายหลังจากที่กัมพูชาได้ทำถนนขึ้นถึงปราสาทพระวิหารแล้ว รวมถึงการเดินทางของผู้แทนขององค์กรการประชุมอิสลาม หรือ โอไอซี ลงพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาภาคใต้ และการปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน ตลอดจนกรณีของ พล.ต.นะคะมวย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองกำลังกระเหรี่ยงโกะทูบลอ ที่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพติด และขู่จะปิดด่านชายแดนไทย-พม่า ที่ จ.ตาก
** อ้างเขมรสร้างทางในที่ตัวเอง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ทีมทนายความฝ่ายไทย ในคดีปราสาทพระวิหาร ได้ชี้แจงถึงแนวทางการต่อสู้คดี และการแก้คำฟ้องของกัมพูชา ที่ฟ้องต่อศาลโลก พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้น ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน รวมถึงเหตุวางกับระเบิด ที่ชายแดนไทย-กัมพูชาด้วย ทั้งที่ฝ่ายไทยได้ทักท้วงไปแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ที่ศาลโลกวินิจฉัยให้มีคณะทำงานร่วมกันนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า แต่ยืนยันว่า คณะกรรมการของทั้งสองประเทศได้ทำงานร่วมกันอยู่
ส่วนกรณีที่กัมพูชาได้ก่อสร้างทางขึ้นปราสาทพระวิหารนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่การกระทำที่ขัดต่อคำสั่งศาลโลก แต่ยอมรับว่า ฝ่ายไทยไม่สามารถที่จะทักท้วงได้ เพราะเป็นการก่อสร้างในอาณาเขตของกัมพูชา
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีได้สั่งกำชับให้รวบรวมข้อมูล คำชี้แจงต่างๆ ของทีมทนายความทั้งหมด เพื่อกำหนดแนวทางในการต่อสู้คดี โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ทางศาลโลกก็ได้สั่งให้ฝ่ายไทยทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากทางฝ่ายกัมพูชา ได้ส่งคำชี้แจงไปแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนแนวโน้มการปิดคดีนี้ ยังไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากหากศาลโลกเปิดการไต่สวนอีก ก็อาจจะทำให้คดียืดเยื้อเกินสิ้นปีนี้ได้
** "ประยุทธ์"อ้างประท้วงไปแล้ว
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า ในการปฏิบัติตามมติคุ้มครองชั่วคราว ของศาลโลก เป็นการหารือในรายละเอียดว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีอะไรเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานที่ดูแลด้านกฎหมาย ขณะนี้ยังไม่ถึงห้วงเวลาที่จะซีเรียสอะไร ว่าจะตัดสินหรือไม่ ซึ่งกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบก รวมถึงเหล่าทัพ ได้ชี้แจงไปว่า เราทำหน้าที่ของเรา และในเขตอธิปไตยของไทย ทางกัมพูชา ก็ดำเนินการของฝั่งกัมพูชา ไม่มีการละเมิดซึ่งกันและกัน ยังอยู่ด้วยความสงบและสันติสุข
ทั้งนี้ การปฏิบัติการมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เป็นเรื่องของอนาคต และไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ทำโดยทันที ขณะนี้มีคณะทำงานฯ ( Joint working group) ที่มี เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยดูแล เพื่อพูดคุยมาตรการการปรับกำลัง กับฝ่ายกัมพูชา ที่มี รมช.กลาโหมของเขาร่วมประชุม ซึ่งคงจะมีการประชุมครั้งที่ 2 ในเร็วๆ นี้
" อย่างน้อยก็มีการพูดคุยว่า ทั้งสองประเทศมุ่งไปสู่การปฏิบัติการที่ทำให้ชายแดนเราสงบเรียบร้อย ไม่มีการสู้รบซึ่งกันและกัน อย่าพูดว่าถอนหรือไม่ถอน ว่าเป็นการแพ้หรือชนะ มันจะมีผลได้ ผลเสีย จะทำให้เป็นกังวลกับคนที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้อยู่ ทางทหารมีความพร้อมดูแลอธิปไตยตามคำสั่งทุกอย่าง ที่ออกมา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่กัมพูชา ยังคงละเมิด เอ็มโอยู 43 สร้างถนนในพื้นที่พิพาทนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถนนเส้นนี้มีมาตั้งแต่การสู้รบของเขมรสามฝ่าย โดยใช้ในการส่งกำลังบำรุง ลักษณะเป็นถนนลูกรัง หรือ ถนนตามภูมิประเทศ เมื่อสถานการณ์สู้รบยุติ ถนนก็ยังอยู่ แต่ก็ชำรุดไปตามกาลเวลา จึงมีการซ่อมแซม ลาดยาง เราก็ได้ประท้วงไปหลายครั้ง เพราะอยู่ในพื้นที่พิพาท แต่ไม่ใช่ว่าเขาสร้างแล้วเราต้องสร้างในฝั่งเรา เขาก็อาจจะถือว่า เป็นฝั่งเขาก็ได้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหา ก็ประท้วงไป แต่ถ้าเขาสร้างข้างล่าง ก็เรื่องของเขา เราก็สร้างข้างล่างของเราเหมือนกัน ไม่ได้เป็นการโต้ตอบซึ่งกันและกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยั่วยุ และจะทำให้ปัญหาเดิมพอกพูนไปเรื่อยๆ
"ผมคิดว่าต่อไปนี้ ต้องมีการพูดคุยกันมากขึ้น และแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ไทยกับกัมพูชา ก็เป็นมิตร เป็นเพื่อนบ้านที่ดีมาโดยตลอด เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันบ้าง ถึงวันนี้ก็ต้องสงบปาก สงบคำกันไว้บ้าง ถ้าตอบโต้กันทุกดอก ก็ไม่มีวันจบ แล้วประเทศก็ติดกัน คงแยกย้ายกันไม่ได้ ประเด็นที่สำคัญ ที่มีการพูดคุยกันคือ การเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า หากทะเลาะกันอย่างนี้ ก็ไม่รู้จะไปกันอย่างไรเหมือนกัน แต่ผมก็ให้สัญญาว่า ทหารก็จะทำหน้าที่ของทหารให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ไม่ใช่ท้าทาย ก้าวร้าว รุนแรง แต่ทำหน้าที่ของทหาร ซึ่งในการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ไม่มีการให้กำลังใจอะไรเป็นพิเศษ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยดี ซึ่งหลักๆ เป็นกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนทหารจะตอบในฐานะผู้ปฏิบัติ ซึ่งจะมีการประชุมต่อในช่วงบ่าย และคงจะมีการสรุปกัน" ผบ.ทบ. กล่าว
** เผยศาลโลกไม่รับคำร้องฝ่ายไทย
ด้านนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ในการต่อสู้คดี ตีความคำตัดสินปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลก กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อเท็จจริง และเล่าเรื่องความเป็นมา หารือถึงความชัดเจนของรูปคดี และแนวทางที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย
ทั้งนี้ ผลการประชุม ถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบาย และแนวทางการต่อสู้คดี ต่อที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศทั้ง 5 คน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี
นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็น ระหว่างฝ่ายกฎหมาย กับฝ่ายทหาร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการต่อสู้คดีจำเป็นต้องมองให้รอบด้าน และคำนึงถึงความเป็นจริง โดยการแลกเปลี่ยนหารือ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา
ประเด็นต่อมา ได้มีการเล่าความเป็นมาของคดี และหารือเกี่ยวกับการดำเนินการ "มาตรการชั่วคราว" ตามคำสั่งศาลโลก ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการยื่นเอกสารเพิ่มเติมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร รอบที่ 2 โดยรอบแรก ประเทศกัมพูชาได้ยื่นเอกสารไปแล้ว เมื่อเดือนเม.ย.54 ต่อด้วยฝ่ายไทยในเดือน พ.ย.54 ส่วนรอบล่าสุด ฝ่ายกัมพูชา ยื่นไปแล้วเมื่อ 8 มี.ค.55 และฝ่ายไทย จะต้องยื่นต่อศาลโลกก่อน 21 มิ.ย.นี้ โดยไทยได้ร้องขอให้ศาลโลกพิจารณาออกนั่งบัลลังก์ เพื่อรับฟังการให้ปากคำด้วยวาจาอีกครั้ง แต่ยังไม่มีการตอบรับใดๆจากศาล
ทั้งนี้ฝ่ายไทยคาดว่า การตัดสินคดีดังกล่าว จะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ แต่จะเกิดขึ้นในปี 2556
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการหารือความเห็นของทุกฝ่ายในที่ประชุมตรงกันหรือไม่
นายวีรชัย กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะเราต้องหารือกันต่อไป สิ่งสำคัญคือ ต้องมีข้อมูลจากพื้นที่ ซึ่งก็คือโลกแห่งความจริง ไปสู่โลกแห่งกฎหมาย
เมื่อถามว่าคาดการณ์ว่า ผลการตีความจะออกมาในรูปแบบใด นายวีรชัย กล่าวว่า ไม่ควรมองกันที่ผลแพ้-ชนะ เพราะบนโลกแห่งความจริง ไม่มีอะไรเป็นขาวหรือดำ เราไม่ควรโดดไปสู่บทสรุปว่า เราจะชนะ หรือแพ้แน่ เพราะมีความเป็นไปได้หลายทางมาก
" การมองว่าแพ้ ชนะไม่เป็นประโยชน์ต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา แต่ควรมองว่า เรานำปัญหาที่มีไปสู่การแก้ไขอย่างสันติ ไม่ให้เกิดการสู้รบ ไม่ว่าอะไรจะเกิด ผมมองว่ามันเป็นหนทางแห่งสันติภาพ" นายวีรชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรี ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ นายวีรชัย กล่าวว่า ให้พยายามใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด และทำให้ดีที่สุด เพื่อนำข้อคิดของเราไปที่ศาล ให้เขาเห็นมุมมองของเราอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ประโยชน์กับเรามากที่สุด
ส่วนจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ฝ่ายกัมพูชา จะถอนฟ้อง นายวีรชัย กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือเรื่องนี้ เพราะขณะนี้เราอยู่ในขั้นตอนของคดี แต่ผู้ฟ้องมีสิทธิที่จะถอนเรื่อง อย่างไรก็ดี เราไม่ได้นำตรงนั้นมาคิด
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ฝ่ายกัมพูชา ยังทำถนนเข้ามาในพื้นที่พิพาท นายวีรชัย กล่าวว่า เราก็เฝ้าดูอยู่ หากเห็นความจำเป็น เราก็จะรายงานศาลทันที
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนที่มีความห่วงใย เรื่อง ม.190 ว่าจะต้องขอความเห็นชอบกับรัฐสภา เกี่ยวกับการดำเนินการตามคำสั่ง เรื่องมาตรการชั่วคราวของศาลโลก เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ในการหารือเช้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้รีบดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือกรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ภายหลังจากที่กัมพูชาได้ทำถนนขึ้นถึงปราสาทพระวิหารแล้ว รวมถึงการเดินทางของผู้แทนขององค์กรการประชุมอิสลาม หรือ โอไอซี ลงพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาภาคใต้ และการปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน ตลอดจนกรณีของ พล.ต.นะคะมวย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองกำลังกระเหรี่ยงโกะทูบลอ ที่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพติด และขู่จะปิดด่านชายแดนไทย-พม่า ที่ จ.ตาก
** อ้างเขมรสร้างทางในที่ตัวเอง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ทีมทนายความฝ่ายไทย ในคดีปราสาทพระวิหาร ได้ชี้แจงถึงแนวทางการต่อสู้คดี และการแก้คำฟ้องของกัมพูชา ที่ฟ้องต่อศาลโลก พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้น ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน รวมถึงเหตุวางกับระเบิด ที่ชายแดนไทย-กัมพูชาด้วย ทั้งที่ฝ่ายไทยได้ทักท้วงไปแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ที่ศาลโลกวินิจฉัยให้มีคณะทำงานร่วมกันนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า แต่ยืนยันว่า คณะกรรมการของทั้งสองประเทศได้ทำงานร่วมกันอยู่
ส่วนกรณีที่กัมพูชาได้ก่อสร้างทางขึ้นปราสาทพระวิหารนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่การกระทำที่ขัดต่อคำสั่งศาลโลก แต่ยอมรับว่า ฝ่ายไทยไม่สามารถที่จะทักท้วงได้ เพราะเป็นการก่อสร้างในอาณาเขตของกัมพูชา
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีได้สั่งกำชับให้รวบรวมข้อมูล คำชี้แจงต่างๆ ของทีมทนายความทั้งหมด เพื่อกำหนดแนวทางในการต่อสู้คดี โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ทางศาลโลกก็ได้สั่งให้ฝ่ายไทยทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากทางฝ่ายกัมพูชา ได้ส่งคำชี้แจงไปแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนแนวโน้มการปิดคดีนี้ ยังไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากหากศาลโลกเปิดการไต่สวนอีก ก็อาจจะทำให้คดียืดเยื้อเกินสิ้นปีนี้ได้
** "ประยุทธ์"อ้างประท้วงไปแล้ว
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า ในการปฏิบัติตามมติคุ้มครองชั่วคราว ของศาลโลก เป็นการหารือในรายละเอียดว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีอะไรเกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานที่ดูแลด้านกฎหมาย ขณะนี้ยังไม่ถึงห้วงเวลาที่จะซีเรียสอะไร ว่าจะตัดสินหรือไม่ ซึ่งกองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบก รวมถึงเหล่าทัพ ได้ชี้แจงไปว่า เราทำหน้าที่ของเรา และในเขตอธิปไตยของไทย ทางกัมพูชา ก็ดำเนินการของฝั่งกัมพูชา ไม่มีการละเมิดซึ่งกันและกัน ยังอยู่ด้วยความสงบและสันติสุข
ทั้งนี้ การปฏิบัติการมาตรการคุ้มครองชั่วคราว เป็นเรื่องของอนาคต และไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ทำโดยทันที ขณะนี้มีคณะทำงานฯ ( Joint working group) ที่มี เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยดูแล เพื่อพูดคุยมาตรการการปรับกำลัง กับฝ่ายกัมพูชา ที่มี รมช.กลาโหมของเขาร่วมประชุม ซึ่งคงจะมีการประชุมครั้งที่ 2 ในเร็วๆ นี้
" อย่างน้อยก็มีการพูดคุยว่า ทั้งสองประเทศมุ่งไปสู่การปฏิบัติการที่ทำให้ชายแดนเราสงบเรียบร้อย ไม่มีการสู้รบซึ่งกันและกัน อย่าพูดว่าถอนหรือไม่ถอน ว่าเป็นการแพ้หรือชนะ มันจะมีผลได้ ผลเสีย จะทำให้เป็นกังวลกับคนที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้อยู่ ทางทหารมีความพร้อมดูแลอธิปไตยตามคำสั่งทุกอย่าง ที่ออกมา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่กัมพูชา ยังคงละเมิด เอ็มโอยู 43 สร้างถนนในพื้นที่พิพาทนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถนนเส้นนี้มีมาตั้งแต่การสู้รบของเขมรสามฝ่าย โดยใช้ในการส่งกำลังบำรุง ลักษณะเป็นถนนลูกรัง หรือ ถนนตามภูมิประเทศ เมื่อสถานการณ์สู้รบยุติ ถนนก็ยังอยู่ แต่ก็ชำรุดไปตามกาลเวลา จึงมีการซ่อมแซม ลาดยาง เราก็ได้ประท้วงไปหลายครั้ง เพราะอยู่ในพื้นที่พิพาท แต่ไม่ใช่ว่าเขาสร้างแล้วเราต้องสร้างในฝั่งเรา เขาก็อาจจะถือว่า เป็นฝั่งเขาก็ได้ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีปัญหา ก็ประท้วงไป แต่ถ้าเขาสร้างข้างล่าง ก็เรื่องของเขา เราก็สร้างข้างล่างของเราเหมือนกัน ไม่ได้เป็นการโต้ตอบซึ่งกันและกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยั่วยุ และจะทำให้ปัญหาเดิมพอกพูนไปเรื่อยๆ
"ผมคิดว่าต่อไปนี้ ต้องมีการพูดคุยกันมากขึ้น และแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ไทยกับกัมพูชา ก็เป็นมิตร เป็นเพื่อนบ้านที่ดีมาโดยตลอด เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันบ้าง ถึงวันนี้ก็ต้องสงบปาก สงบคำกันไว้บ้าง ถ้าตอบโต้กันทุกดอก ก็ไม่มีวันจบ แล้วประเทศก็ติดกัน คงแยกย้ายกันไม่ได้ ประเด็นที่สำคัญ ที่มีการพูดคุยกันคือ การเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า หากทะเลาะกันอย่างนี้ ก็ไม่รู้จะไปกันอย่างไรเหมือนกัน แต่ผมก็ให้สัญญาว่า ทหารก็จะทำหน้าที่ของทหารให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ไม่ใช่ท้าทาย ก้าวร้าว รุนแรง แต่ทำหน้าที่ของทหาร ซึ่งในการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี ไม่มีการให้กำลังใจอะไรเป็นพิเศษ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยดี ซึ่งหลักๆ เป็นกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนทหารจะตอบในฐานะผู้ปฏิบัติ ซึ่งจะมีการประชุมต่อในช่วงบ่าย และคงจะมีการสรุปกัน" ผบ.ทบ. กล่าว
** เผยศาลโลกไม่รับคำร้องฝ่ายไทย
ด้านนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ในการต่อสู้คดี ตีความคำตัดสินปราสาทพระวิหาร ปี 2505 ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลก กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อเท็จจริง และเล่าเรื่องความเป็นมา หารือถึงความชัดเจนของรูปคดี และแนวทางที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย
ทั้งนี้ ผลการประชุม ถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบาย และแนวทางการต่อสู้คดี ต่อที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศทั้ง 5 คน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี
นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็น ระหว่างฝ่ายกฎหมาย กับฝ่ายทหาร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการต่อสู้คดีจำเป็นต้องมองให้รอบด้าน และคำนึงถึงความเป็นจริง โดยการแลกเปลี่ยนหารือ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา
ประเด็นต่อมา ได้มีการเล่าความเป็นมาของคดี และหารือเกี่ยวกับการดำเนินการ "มาตรการชั่วคราว" ตามคำสั่งศาลโลก ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการยื่นเอกสารเพิ่มเติมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร รอบที่ 2 โดยรอบแรก ประเทศกัมพูชาได้ยื่นเอกสารไปแล้ว เมื่อเดือนเม.ย.54 ต่อด้วยฝ่ายไทยในเดือน พ.ย.54 ส่วนรอบล่าสุด ฝ่ายกัมพูชา ยื่นไปแล้วเมื่อ 8 มี.ค.55 และฝ่ายไทย จะต้องยื่นต่อศาลโลกก่อน 21 มิ.ย.นี้ โดยไทยได้ร้องขอให้ศาลโลกพิจารณาออกนั่งบัลลังก์ เพื่อรับฟังการให้ปากคำด้วยวาจาอีกครั้ง แต่ยังไม่มีการตอบรับใดๆจากศาล
ทั้งนี้ฝ่ายไทยคาดว่า การตัดสินคดีดังกล่าว จะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ แต่จะเกิดขึ้นในปี 2556
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการหารือความเห็นของทุกฝ่ายในที่ประชุมตรงกันหรือไม่
นายวีรชัย กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ เพราะเราต้องหารือกันต่อไป สิ่งสำคัญคือ ต้องมีข้อมูลจากพื้นที่ ซึ่งก็คือโลกแห่งความจริง ไปสู่โลกแห่งกฎหมาย
เมื่อถามว่าคาดการณ์ว่า ผลการตีความจะออกมาในรูปแบบใด นายวีรชัย กล่าวว่า ไม่ควรมองกันที่ผลแพ้-ชนะ เพราะบนโลกแห่งความจริง ไม่มีอะไรเป็นขาวหรือดำ เราไม่ควรโดดไปสู่บทสรุปว่า เราจะชนะ หรือแพ้แน่ เพราะมีความเป็นไปได้หลายทางมาก
" การมองว่าแพ้ ชนะไม่เป็นประโยชน์ต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา แต่ควรมองว่า เรานำปัญหาที่มีไปสู่การแก้ไขอย่างสันติ ไม่ให้เกิดการสู้รบ ไม่ว่าอะไรจะเกิด ผมมองว่ามันเป็นหนทางแห่งสันติภาพ" นายวีรชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรี ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ นายวีรชัย กล่าวว่า ให้พยายามใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด และทำให้ดีที่สุด เพื่อนำข้อคิดของเราไปที่ศาล ให้เขาเห็นมุมมองของเราอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ประโยชน์กับเรามากที่สุด
ส่วนจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ฝ่ายกัมพูชา จะถอนฟ้อง นายวีรชัย กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือเรื่องนี้ เพราะขณะนี้เราอยู่ในขั้นตอนของคดี แต่ผู้ฟ้องมีสิทธิที่จะถอนเรื่อง อย่างไรก็ดี เราไม่ได้นำตรงนั้นมาคิด
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ฝ่ายกัมพูชา ยังทำถนนเข้ามาในพื้นที่พิพาท นายวีรชัย กล่าวว่า เราก็เฝ้าดูอยู่ หากเห็นความจำเป็น เราก็จะรายงานศาลทันที
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนที่มีความห่วงใย เรื่อง ม.190 ว่าจะต้องขอความเห็นชอบกับรัฐสภา เกี่ยวกับการดำเนินการตามคำสั่ง เรื่องมาตรการชั่วคราวของศาลโลก เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ในการหารือเช้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้รีบดำเนินการ