ASTVผู้จัดการรายวัน -กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รับมือยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดรับอากาศร้อน ผนึกสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดึงอาคารและโรงงานนับ 1,000 แห่ง ร่วมสร้าง “เครือข่ายผู้นำรักษ์พลังงาน” หวังลดการใช้พลังงานอย่างจริงจัง เอกชนขานรับเข้าร่วมโครงการเพียบ
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศร้อนในปี 2555 นี้ ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในบางจังหวัดมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศา และจากตัวเลขยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ(พีค) ก็ทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง พพ. จึงได้ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ TBCSD เปิดตัวโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน รูปแบบสมัครใจ ได้ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เปิดตัวโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน รูปแบบสมัครใจ หรือ Voluntary Agreement (วีเอ) ขึ้น กลุ่มเป้าหมายสำคัญของโครงการคือ คือผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการ ซึ่งเฉพาะสองส่วนนี้ก็มีการใช้พลังงานรวมกันแล้วคิดเป็นร้อยละ 44 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ มีอาคาร โรงงานควบคุมรวมกันประมาณ 6,000 แห่ง
ทางกรมฯและพันธมิตรที่ดำเนินโครงการวีเอนี้ จะเชิญองค์กรที่มีความมุ่งมั่นด้านการลดใช้พลังงาน ให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์พลังงานแบบสมัครใจดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีหน่วยงานที่ คิดดีทำดี เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่งในปีนี้ และจะขยายผลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีภาคเอกชนชั้นนำที่เข้าร่วมเครือข่ายแล้ว ไม่น้อยกว่า 50 องค์กร อาทิ ธนาคารกสิกรไทย กรุงไทย เซ็นทรัลพัฒนา โลตัส เอนโก้ เอแบค ไบเออร์ วีนิไทย สแปนชั่น เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ และรัฐวิสาหกิจอย่าง ปตท. บางจาก ฯลฯ โดยโครงการ ฯ จะเปิดรับสมัคร ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2555 นี้ ก่อนที่จะประกาศรายชื่อเครือข่าย คนทำดี ด้านการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว แก่สาธารณะชนต่อไป
“เราหวังว่าองค์กรที่เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมด จะสร้างความร่วมมือกัน สร้างเครือข่ายการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกันเพื่อลดการใช้พลังงานและส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้นอกจากจะมีภาพลักษณ์ที่ดีว่าให้ความสนใจกับการสถานการณ์พลังงานของประเทศแล้ว โครงการนี้ยังช่วยให้ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ได้ข้อมูลทั้งด้านแหล่งเงินทุน และเทคโนโลยีต่างๆ ในการลงทุนกิจการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ได้รับองค์ความรู้สามารถปฏิบัติจริงเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน ทำให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น และยังได้ช่วยชาติประหยัดงบประมาณอีกด้วย”อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกล่าว
นางสาวขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นในเรื่องอาคารอนุรักษ์พลังงาน คือ นอกเหนือจากแต่ละอาคารจะมีการสร้างทีมบริหารจัดการอาคารที่มีประสิทธิภาพขึ้นเพื่อบริหารจัดการอาคารแล้ว ยังมีอีกหลายสถานประกอบการที่สามารถสร้างกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)ขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายไปทั่วทั้งองค์กร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างกลไกลการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนขึ้นในแต่ละองค์กรในอนาคต
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศร้อนในปี 2555 นี้ ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในบางจังหวัดมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศา และจากตัวเลขยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ(พีค) ก็ทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง พพ. จึงได้ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ TBCSD เปิดตัวโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน รูปแบบสมัครใจ ได้ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เปิดตัวโครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน รูปแบบสมัครใจ หรือ Voluntary Agreement (วีเอ) ขึ้น กลุ่มเป้าหมายสำคัญของโครงการคือ คือผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการ ซึ่งเฉพาะสองส่วนนี้ก็มีการใช้พลังงานรวมกันแล้วคิดเป็นร้อยละ 44 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ มีอาคาร โรงงานควบคุมรวมกันประมาณ 6,000 แห่ง
ทางกรมฯและพันธมิตรที่ดำเนินโครงการวีเอนี้ จะเชิญองค์กรที่มีความมุ่งมั่นด้านการลดใช้พลังงาน ให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์พลังงานแบบสมัครใจดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีหน่วยงานที่ คิดดีทำดี เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่งในปีนี้ และจะขยายผลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีภาคเอกชนชั้นนำที่เข้าร่วมเครือข่ายแล้ว ไม่น้อยกว่า 50 องค์กร อาทิ ธนาคารกสิกรไทย กรุงไทย เซ็นทรัลพัฒนา โลตัส เอนโก้ เอแบค ไบเออร์ วีนิไทย สแปนชั่น เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ และรัฐวิสาหกิจอย่าง ปตท. บางจาก ฯลฯ โดยโครงการ ฯ จะเปิดรับสมัคร ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2555 นี้ ก่อนที่จะประกาศรายชื่อเครือข่าย คนทำดี ด้านการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว แก่สาธารณะชนต่อไป
“เราหวังว่าองค์กรที่เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมด จะสร้างความร่วมมือกัน สร้างเครือข่ายการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกันเพื่อลดการใช้พลังงานและส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้นอกจากจะมีภาพลักษณ์ที่ดีว่าให้ความสนใจกับการสถานการณ์พลังงานของประเทศแล้ว โครงการนี้ยังช่วยให้ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ได้ข้อมูลทั้งด้านแหล่งเงินทุน และเทคโนโลยีต่างๆ ในการลงทุนกิจการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ได้รับองค์ความรู้สามารถปฏิบัติจริงเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน ทำให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น และยังได้ช่วยชาติประหยัดงบประมาณอีกด้วย”อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกล่าว
นางสาวขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นในเรื่องอาคารอนุรักษ์พลังงาน คือ นอกเหนือจากแต่ละอาคารจะมีการสร้างทีมบริหารจัดการอาคารที่มีประสิทธิภาพขึ้นเพื่อบริหารจัดการอาคารแล้ว ยังมีอีกหลายสถานประกอบการที่สามารถสร้างกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)ขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายไปทั่วทั้งองค์กร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างกลไกลการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนขึ้นในแต่ละองค์กรในอนาคต