-"พาณิชย์"จับมืออาเซียนทำแผนสกัดสินค้าก๊อปปี้ทะลักตามแนวชายแดน
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ มีแผนที่จะเพิ่มความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยจะหารือถึงการเพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย ณ จุดส่งออก-นำเข้า เพิ่มการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากร การแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าส่งออก-นำเข้า และการหาวิธีการสกัดการลักลอบการขนสินค้าละเมิดเข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว และภายในปี 2556 จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ทุกอย่างจะเป็นรูปธรรมก่อนจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
"ที่ผ่านมา เมื่อกรมฯ เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งการมุ่งจับกุมแหล่งผลิต แหล่งจัดเก็บ ก็เลยทำให้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไปอยู่ตามแนวชายแดน ไปผลิตแล้วขนกลับเข้ามาขายในไทย ทำให้การปราบปรามการละเมิดยังไม่หมดไป แต่กรมฯ เชื่อว่า เมื่อมีความร่วมมือในการปราบปรามกับประเทศที่มีชายแดนติดกัน จะช่วยให้ปัญหาการละเมิดหมดไปได้"นางปัจฉิมากล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ ยังมีแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญากับอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมสู่ AEC โดยจะผลักดันให้อาเซียนเข้าเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารกรุงมาดริด ซึ่งจะช่วยให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อขอรับความคุ้มครองทำได้ดีขึ้น โดยสามารถขอรับความคุ้มครองได้กว่า 80 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน ออสเตรเลีย และในอาเซียนที่เป็นภาคี ด้วยการยื่นคำขอเพียงฉบับเดียว รวมถึงการผลักดันให้เข้าร่วมภาคีอนุสัญญากรุงเฮก เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ และเพิ่มความร่วมมือด้านการตรวจสอบสิทธิบัตร ซึ่งจะทำให้สามารถนำผลตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรของอาเซียนอื่นมาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ โดยจัดทำเว็บไซต์กลางของอาเซียนในการสืบหาข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน และมีแผนที่จะจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและต่อยอดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน
นางปัจฉิมากล่าวว่า สำหรับการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ ในประเด็นการป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ กรมฯ คาดว่าจะสามารถผลักดันออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ รวมไปถึงการเพิ่มกฎหมายลิขสิทธิ์ประเด็นการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต ที่จะผลักดันให้ออกตามมา โดยหากการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้ง 2 เรื่องนี้มีผลบังคับใช้เชื่อว่าจะทำให้โอกาสที่ไทยจะหลุดพ้นจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ภายใต้กฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ในการทบทวนปีหน้าอย่างแน่นอน
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ มีแผนที่จะเพิ่มความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยจะหารือถึงการเพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย ณ จุดส่งออก-นำเข้า เพิ่มการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากร การแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าส่งออก-นำเข้า และการหาวิธีการสกัดการลักลอบการขนสินค้าละเมิดเข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว และภายในปี 2556 จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ทุกอย่างจะเป็นรูปธรรมก่อนจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
"ที่ผ่านมา เมื่อกรมฯ เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งการมุ่งจับกุมแหล่งผลิต แหล่งจัดเก็บ ก็เลยทำให้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไปอยู่ตามแนวชายแดน ไปผลิตแล้วขนกลับเข้ามาขายในไทย ทำให้การปราบปรามการละเมิดยังไม่หมดไป แต่กรมฯ เชื่อว่า เมื่อมีความร่วมมือในการปราบปรามกับประเทศที่มีชายแดนติดกัน จะช่วยให้ปัญหาการละเมิดหมดไปได้"นางปัจฉิมากล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ ยังมีแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญากับอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมสู่ AEC โดยจะผลักดันให้อาเซียนเข้าเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารกรุงมาดริด ซึ่งจะช่วยให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อขอรับความคุ้มครองทำได้ดีขึ้น โดยสามารถขอรับความคุ้มครองได้กว่า 80 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน ออสเตรเลีย และในอาเซียนที่เป็นภาคี ด้วยการยื่นคำขอเพียงฉบับเดียว รวมถึงการผลักดันให้เข้าร่วมภาคีอนุสัญญากรุงเฮก เพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบ และเพิ่มความร่วมมือด้านการตรวจสอบสิทธิบัตร ซึ่งจะทำให้สามารถนำผลตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรของอาเซียนอื่นมาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ โดยจัดทำเว็บไซต์กลางของอาเซียนในการสืบหาข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในอาเซียน จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นของอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน และมีแผนที่จะจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและต่อยอดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน
นางปัจฉิมากล่าวว่า สำหรับการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ ในประเด็นการป้องกันการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ กรมฯ คาดว่าจะสามารถผลักดันออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ รวมไปถึงการเพิ่มกฎหมายลิขสิทธิ์ประเด็นการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต ที่จะผลักดันให้ออกตามมา โดยหากการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้ง 2 เรื่องนี้มีผลบังคับใช้เชื่อว่าจะทำให้โอกาสที่ไทยจะหลุดพ้นจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ภายใต้กฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ในการทบทวนปีหน้าอย่างแน่นอน