ล่วงเลยมา 5 วันแล้วกับเหตุการณ์คาร์บอมบ์ย่านธุรกิจการค้ากลางเมืองยะลา 2 ลูกซ้อน กับอีก 1 ลูกที่ศูนย์การค้าและโรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า หาดใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555 ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 14 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่าครึ่งพัน ขณะที่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจแม้จะยังประเมินไม่ได้ แต่ประมาณกันว่าภาวะอาฟเตอร์ช็อกจะยังต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้นตัวเลขความเสียหายหลักหมื่นล้านบาทจึงไม่น่าจะเกินเลยความเป็นจริง
ข่าวคราวการก่อวินาศกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในรอบหลายสิบปีที่เกิดขึ้นกับ 2 เมืองใหญ่บนแผ่นดินด้ามขวาน แม้การเคลื่อนตัวของข้อมูลจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคลี่คลายความสงสัยในสังคมไปได้หลายเปราะ แต่ความดำมืดที่ฝังอยู่ในใจผู้คนมานมนานกับสถานการณ์ครานี้เหมือนเป็นการตอกย้ำความมืดบอดให้เพิ่มขึ้นไปอีก
มีคำถามมากมายเกี่ยวกับไฟใต้ที่วนเวียนอยู่ในสังคมและยังไม่มีคำตอบ โดยเฉพาะที่ว่าใครลงมือกระทำกันแน่ จริงหรือที่เป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นเรื่องของกลุ่มผลประโยชน์นอกระบบ หรือเป็นการแย่งชิงอำนาจรัฐของก๊วนการเมือง หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งคนในเครื่องแบบ แล้วทำไมต้องเอาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปสังเวย บ้านเมืองที่แสนจะบอบช้ำแบบสุดๆ เช่นนี้ทำไมไม่มีใครเสนอหน้ารับผิดชอบ ฯลฯ
พลันเมื่อเกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 3 ลูกในเวลาไล่เลี่ยกันล่าสุด มีคำถามใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกและเชื่อว่าน่าจะยากได้คำตอบใดๆ เช่นเคย อาทิ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของไฟใต้ที่มีการใช้สารก่อเปลวไฟเพิ่มการทำลายล้างพ่วงไปกับระเบิดจริงหรือ การก่อวินาศกรรมได้ใหญ่โตและบรรลุวัตถุประสงค์ได้เช่นนี้ฝ่ายตรงข้ามรัฐมีศักยภาพทำได้จริงหรือเปล่า ทำไม่เหตุการณ์ความรุนแรงที่ชายแดนใต้จึงไปสอดรับกับความวุ่นวายในบ้านเมือง และก่อประโยชน์กับบางกลุ่มการเมืองได้อย่างมีเลศนัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ผมจะยังติดใจในคำถามต่างๆ ข้างต้น แต่เวลานี้ความรู้สึกนึกคิดกลับกระจ่างชัดแล้วว่า ระเบิดที่โหมเปลวไฟใต้ให้ลุกโชนเที่ยวล่าสุดเป็นภาพสะท้อนที่ตอกได้อย่างย้ำชัดเจนยิ่งว่า...
รัฐไทยได้กลายเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” จนยากจะเยียวยาแล้ว?!
ไม่เชื่อลองไปพิจารณาจากคำนิยามรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ดูครับ กล่าวคือ รัฐที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้
ความล้มเหลวเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ผู้กุมกลไกอำนาจรัฐทุกระดับในท้องถิ่น นอกจากจะไม่สามารถคุ้มครองป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุวินาศกรรมในพื้นที่รับผิดชอบแล้ว ผู้นำท้องถิ่นบางคนยังถึงกับพยายามบิดเบือนความจริงเพื่อลดกระแสถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างรีบออกมาบอกกับสังคมขณะที่ยังไม่ได้กลับเข้าพื้นที่ไปดูเหตุการณ์ด้วยตาตัวเองด้วยซ้ำว่า ระเบิดที่เกิดขึ้นไม่ใช่วินาศกรรม เป็นแค่เพียงแก๊สระเบิดเท่านั้น ทว่าเมื่อเรื่องแดงก็กลายเป็นผลสะท้อนถูกอัดหนักขึ้นไปอีก
ควันไฟจากเหตุระเบิดยังไม่ทันจางหาย การปัดความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันก็เกิดขึ้นเป็นพัลวัน บ้างก็ว่าเหตุเกิดขึ้นอยู่ในเขตเมืองเป็นพื้นที่ดูแลโดยตรงของตำรวจ ขณะที่มีเสียงกระทบกระเทียบว่าทำไมทหารที่ดูแลพื้นที่รอบนอกปล่อยให้คาร์บอมบ์หลุดลอดเข้าสู่เขตเมือง รวมถึงการโบ้ยใบ้โยนกลองกันไปมาของบรรดาหน่วยข่าวทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร
ขณะที่เปลวไฟมอด หมอกควันสงบไม่นาน บรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงก็แห่ลงพื้นที่กันคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน เลขา สมช. ผู้บัญชาการทหารและตำรวจ แต่ส่วนมากกลับไม่ได้เป็นไปเพื่อช่วยให้ผู้น้อยกอบกู้สถานการณ์และเคลียร์พื้นที่อย่างคล่องตัวขึ้น สิ่งที่ปรากฏกลับกลายเป็นต่างฝ่ายต่างเน้นเรื่องการสร้างภาพที่ใครจะดูดีหรือเหนือชั้นกว่ากัน และก็ไม่ลืมที่จะใช้วาทกรรมฟาดฟันกันให้เห็นปมขัดแย้งที่ฝังลึก อย่างการฟาดงวงฟาดงากันเรื่องตั้งโต๊ะเจรจากับขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลุ่มต่างๆ นั่นไง
อีกทั้งไฟขัดแย้งระหว่างกลุ่มก๊วนการเมือง หรือหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง อันเป็นเสมือนไปสุมขอนที่สามารถปะทุเมื่อใดก็ได้ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตไฟใต้ระลอกใหม่ตั้งปี 2547 ซึ่งไม้ขีดก้านแรกจุดขึ้นจากน้ำมือของนักโทษหนีคุกทักษิณ ชินวัตร แล้ว เชื้อไฟต่างๆ ก็ยังถูกกองสุมทบทับต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ทั้งที่เป็นการแย่งชิงอำนาจและคะแนนนิยมในชายแดนใต้ โดยเฉพาะมวยถูกคู่ระหว่างประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย ศอ.บต.กับ กอ.รมน.ภาค 4 รวมถึงทหารกับตำรวจ
แม้ปัจจุบันขบวนการกุดหัว ศอ.บต.ที่ถูกตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ฉบับใหม่จากฝีมือพรรคประชาธิปัตย์ โดยดัน “เลขาธิการ ศอ.บต.” เป็นถึงระดับ ซี 11 ข้ามหน้าข้ามตา “แม่ทัพภาค 4” ในฐานะ “ผอ.กอ.รมน.ภาค 4” จึงต้องการผลักไสให้เลขาธิการ ศอ.บต.ไปตั้งฐานในกรุงเทพฯ แล้วส่งเพียง “ผอ.ศอ.บต.ส่วนหน้า” ไปไว้ที่ชายแดนใต้เพื่อให้ง่ายต่อการสยายปีกโอบคลุมก็ยังคงอยู่
นอกจากนี้แล้ว ความสับสนในส่วนของคำจำกัดความพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าควรเอาแค่ 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กับ 4 อำเภอของ จ.สงจลา คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย หรือจะเอาทั้ง 5 จังหวัดชายแดนใต้แบบที่เคยเป็นมารวมอีกทั้ง 2 จังหวัดเข้าไปด้วยคือ สงขลากับสตูล หรือจะขยายไปคลุมแค่อีกไม่กี่อำเภอของ จ.สงขลาที่รวม อ.หาดใหญ่เข้าไว้ด้วย สิ่งเหล่านี้เกี่ยวโยงกับกรอบคิดทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกาศกฎอัยการศึกของฝ่ายทหารที่คลุมไปแล้วทั้งหมด หรือการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างสะเปะสะปะ เช่นที่กำลังเกิดความสับสนกับ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ที่เกิด จยย.บอมบ์ในห้วงเวลาเดียวกัน
นี่เป็นเพียงส่วนเลี้ยวการฉายภาพความล้มเหลวของอำนาจรัฐในพื้นที่วิกฤตไฟใต้ ซึ่งยังไม่ได้รวมเอาความไร้ประสิทธิภาพ ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม รวมถึงการไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลพริตตี้ภายใต้ระบอบทักษิณ และมิพักต้องกล่าวถึงคำปรามาสถึงความไม่เฉลียวฉลาดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งลงพื้นที่คาร์บอมบ์ที่ห้างและโรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า แล้วเอ๋อปล่อยไก่อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “จังหวัดหาดใหญ่” ให้คนได้กล่าวขานกันสนุกสนามอีกครั้ง
ไฟใต้จากการก่อวินาศกรรมกลางเมืองยะลาและกลางเมืองหาดใหญ่เที่ยวล่าสุด จึงไม่ต่างจากสปอตไลต์ส่องให้เห็นรัฐที่ล้มเหลว ณ ผืนแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับภาพรัฐที่ล้มเหลวในภาพรวมของประเทศนั้น เราคงไม่ต้องรอให้เกิดเปลวไฟวินาศกรรมไปถ้วนทั่วแผ่นดินไทยเสียก่อนจึงจะได้เห็นกระมั่ง ซึ่งผู้คนจำนวนมากในสังคมไทยต่างก็คาดการณ์กันหนาหูว่า สิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอีกไม่นานเสียด้วย หากรอให้ถึงเวลานั้นประเทศชาติคงไม่ถูกเผาผลาญกลายเป็นจุลไปแล้วละหรือ
ดังนี้แล้วภาพรัฐที่ล้มเหลวบนแผ่นดินด้ามขวานที่ปรากฏ ผมว่าน่าจะเป็นภาพสะท้อนรัฐที่ล้มเหลวไปทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี และผมเชื่อด้วยจริงใจว่าแค่นี้ก็ยากที่จะหาทางเยียวยาแล้วด้วย
ข่าวคราวการก่อวินาศกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในรอบหลายสิบปีที่เกิดขึ้นกับ 2 เมืองใหญ่บนแผ่นดินด้ามขวาน แม้การเคลื่อนตัวของข้อมูลจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคลี่คลายความสงสัยในสังคมไปได้หลายเปราะ แต่ความดำมืดที่ฝังอยู่ในใจผู้คนมานมนานกับสถานการณ์ครานี้เหมือนเป็นการตอกย้ำความมืดบอดให้เพิ่มขึ้นไปอีก
มีคำถามมากมายเกี่ยวกับไฟใต้ที่วนเวียนอยู่ในสังคมและยังไม่มีคำตอบ โดยเฉพาะที่ว่าใครลงมือกระทำกันแน่ จริงหรือที่เป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นเรื่องของกลุ่มผลประโยชน์นอกระบบ หรือเป็นการแย่งชิงอำนาจรัฐของก๊วนการเมือง หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งคนในเครื่องแบบ แล้วทำไมต้องเอาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปสังเวย บ้านเมืองที่แสนจะบอบช้ำแบบสุดๆ เช่นนี้ทำไมไม่มีใครเสนอหน้ารับผิดชอบ ฯลฯ
พลันเมื่อเกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 3 ลูกในเวลาไล่เลี่ยกันล่าสุด มีคำถามใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกและเชื่อว่าน่าจะยากได้คำตอบใดๆ เช่นเคย อาทิ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของไฟใต้ที่มีการใช้สารก่อเปลวไฟเพิ่มการทำลายล้างพ่วงไปกับระเบิดจริงหรือ การก่อวินาศกรรมได้ใหญ่โตและบรรลุวัตถุประสงค์ได้เช่นนี้ฝ่ายตรงข้ามรัฐมีศักยภาพทำได้จริงหรือเปล่า ทำไม่เหตุการณ์ความรุนแรงที่ชายแดนใต้จึงไปสอดรับกับความวุ่นวายในบ้านเมือง และก่อประโยชน์กับบางกลุ่มการเมืองได้อย่างมีเลศนัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ผมจะยังติดใจในคำถามต่างๆ ข้างต้น แต่เวลานี้ความรู้สึกนึกคิดกลับกระจ่างชัดแล้วว่า ระเบิดที่โหมเปลวไฟใต้ให้ลุกโชนเที่ยวล่าสุดเป็นภาพสะท้อนที่ตอกได้อย่างย้ำชัดเจนยิ่งว่า...
รัฐไทยได้กลายเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” จนยากจะเยียวยาแล้ว?!
ไม่เชื่อลองไปพิจารณาจากคำนิยามรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ดูครับ กล่าวคือ รัฐที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้
ความล้มเหลวเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ผู้กุมกลไกอำนาจรัฐทุกระดับในท้องถิ่น นอกจากจะไม่สามารถคุ้มครองป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุวินาศกรรมในพื้นที่รับผิดชอบแล้ว ผู้นำท้องถิ่นบางคนยังถึงกับพยายามบิดเบือนความจริงเพื่อลดกระแสถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างรีบออกมาบอกกับสังคมขณะที่ยังไม่ได้กลับเข้าพื้นที่ไปดูเหตุการณ์ด้วยตาตัวเองด้วยซ้ำว่า ระเบิดที่เกิดขึ้นไม่ใช่วินาศกรรม เป็นแค่เพียงแก๊สระเบิดเท่านั้น ทว่าเมื่อเรื่องแดงก็กลายเป็นผลสะท้อนถูกอัดหนักขึ้นไปอีก
ควันไฟจากเหตุระเบิดยังไม่ทันจางหาย การปัดความรับผิดชอบระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันก็เกิดขึ้นเป็นพัลวัน บ้างก็ว่าเหตุเกิดขึ้นอยู่ในเขตเมืองเป็นพื้นที่ดูแลโดยตรงของตำรวจ ขณะที่มีเสียงกระทบกระเทียบว่าทำไมทหารที่ดูแลพื้นที่รอบนอกปล่อยให้คาร์บอมบ์หลุดลอดเข้าสู่เขตเมือง รวมถึงการโบ้ยใบ้โยนกลองกันไปมาของบรรดาหน่วยข่าวทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร
ขณะที่เปลวไฟมอด หมอกควันสงบไม่นาน บรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงก็แห่ลงพื้นที่กันคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน เลขา สมช. ผู้บัญชาการทหารและตำรวจ แต่ส่วนมากกลับไม่ได้เป็นไปเพื่อช่วยให้ผู้น้อยกอบกู้สถานการณ์และเคลียร์พื้นที่อย่างคล่องตัวขึ้น สิ่งที่ปรากฏกลับกลายเป็นต่างฝ่ายต่างเน้นเรื่องการสร้างภาพที่ใครจะดูดีหรือเหนือชั้นกว่ากัน และก็ไม่ลืมที่จะใช้วาทกรรมฟาดฟันกันให้เห็นปมขัดแย้งที่ฝังลึก อย่างการฟาดงวงฟาดงากันเรื่องตั้งโต๊ะเจรจากับขบวนการแบ่งแยกดินแดนกลุ่มต่างๆ นั่นไง
อีกทั้งไฟขัดแย้งระหว่างกลุ่มก๊วนการเมือง หรือหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง อันเป็นเสมือนไปสุมขอนที่สามารถปะทุเมื่อใดก็ได้ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตไฟใต้ระลอกใหม่ตั้งปี 2547 ซึ่งไม้ขีดก้านแรกจุดขึ้นจากน้ำมือของนักโทษหนีคุกทักษิณ ชินวัตร แล้ว เชื้อไฟต่างๆ ก็ยังถูกกองสุมทบทับต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ทั้งที่เป็นการแย่งชิงอำนาจและคะแนนนิยมในชายแดนใต้ โดยเฉพาะมวยถูกคู่ระหว่างประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย ศอ.บต.กับ กอ.รมน.ภาค 4 รวมถึงทหารกับตำรวจ
แม้ปัจจุบันขบวนการกุดหัว ศอ.บต.ที่ถูกตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ฉบับใหม่จากฝีมือพรรคประชาธิปัตย์ โดยดัน “เลขาธิการ ศอ.บต.” เป็นถึงระดับ ซี 11 ข้ามหน้าข้ามตา “แม่ทัพภาค 4” ในฐานะ “ผอ.กอ.รมน.ภาค 4” จึงต้องการผลักไสให้เลขาธิการ ศอ.บต.ไปตั้งฐานในกรุงเทพฯ แล้วส่งเพียง “ผอ.ศอ.บต.ส่วนหน้า” ไปไว้ที่ชายแดนใต้เพื่อให้ง่ายต่อการสยายปีกโอบคลุมก็ยังคงอยู่
นอกจากนี้แล้ว ความสับสนในส่วนของคำจำกัดความพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าควรเอาแค่ 3 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กับ 4 อำเภอของ จ.สงจลา คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย หรือจะเอาทั้ง 5 จังหวัดชายแดนใต้แบบที่เคยเป็นมารวมอีกทั้ง 2 จังหวัดเข้าไปด้วยคือ สงขลากับสตูล หรือจะขยายไปคลุมแค่อีกไม่กี่อำเภอของ จ.สงขลาที่รวม อ.หาดใหญ่เข้าไว้ด้วย สิ่งเหล่านี้เกี่ยวโยงกับกรอบคิดทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการประกาศกฎอัยการศึกของฝ่ายทหารที่คลุมไปแล้วทั้งหมด หรือการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างสะเปะสะปะ เช่นที่กำลังเกิดความสับสนกับ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ที่เกิด จยย.บอมบ์ในห้วงเวลาเดียวกัน
นี่เป็นเพียงส่วนเลี้ยวการฉายภาพความล้มเหลวของอำนาจรัฐในพื้นที่วิกฤตไฟใต้ ซึ่งยังไม่ได้รวมเอาความไร้ประสิทธิภาพ ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม รวมถึงการไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลพริตตี้ภายใต้ระบอบทักษิณ และมิพักต้องกล่าวถึงคำปรามาสถึงความไม่เฉลียวฉลาดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งลงพื้นที่คาร์บอมบ์ที่ห้างและโรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า แล้วเอ๋อปล่อยไก่อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “จังหวัดหาดใหญ่” ให้คนได้กล่าวขานกันสนุกสนามอีกครั้ง
ไฟใต้จากการก่อวินาศกรรมกลางเมืองยะลาและกลางเมืองหาดใหญ่เที่ยวล่าสุด จึงไม่ต่างจากสปอตไลต์ส่องให้เห็นรัฐที่ล้มเหลว ณ ผืนแผ่นดินจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับภาพรัฐที่ล้มเหลวในภาพรวมของประเทศนั้น เราคงไม่ต้องรอให้เกิดเปลวไฟวินาศกรรมไปถ้วนทั่วแผ่นดินไทยเสียก่อนจึงจะได้เห็นกระมั่ง ซึ่งผู้คนจำนวนมากในสังคมไทยต่างก็คาดการณ์กันหนาหูว่า สิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอีกไม่นานเสียด้วย หากรอให้ถึงเวลานั้นประเทศชาติคงไม่ถูกเผาผลาญกลายเป็นจุลไปแล้วละหรือ
ดังนี้แล้วภาพรัฐที่ล้มเหลวบนแผ่นดินด้ามขวานที่ปรากฏ ผมว่าน่าจะเป็นภาพสะท้อนรัฐที่ล้มเหลวไปทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี และผมเชื่อด้วยจริงใจว่าแค่นี้ก็ยากที่จะหาทางเยียวยาแล้วด้วย