ASTVผู้จัดการรายวัน-“สวนดุสิตโพล”เผยดัชนีการเมืองไทย ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบ ปัญหาคอรัปชั่น-สินค้าแพง-ว่างงาน ในเดือน มี.ค. ฉุดฮวบ 5.23 เต็ม 10 คะแนน
วานนี้(2 เม.ย.55)“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดทำดัชนีการเมืองไทย โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าการเมืองไทยดีขึ้น แย่ลง หรือเหมือนเดิมในแต่ละเดือน โดยเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน จากคะแนนเต็ม 10 และหาค่าเฉลี่ย ภาพรวมของการเมืองไทย
ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้ได้สำรวจดัชนีการเมืองดังกล่าวจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 5,403 คน ระหว่างวันที่ 25-31 มีนาคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 55 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.23 คะแนน ลดลงเล็กน้อยจาก 5.25 ในเดือน ก.พ.55 จากปัจจัยเรื่องการปัญหาคอรัปชั่น ราคาสินค้าแพง ปัญหาว่างงาน และความยากจน ที่เป็นตัวฉุดให้คะแนนต่ำกว่าเดือนก่อน ขณะที่ผลงานของนายกรัฐมนตรียังคงเป็นปัจจัยที่โดดเด่นและเข้าตาประชาชน โดยได้คะแนน 5.90 คะแนน เท่ากับเดือนก.พ. 55
สำหรับตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทยทั้ง 25 ประเด็น แม้จะมี 19 ประเด็นที่ได้คะแนนเกินครึ่ง แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 9 ประเด็นที่คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่มี 2 ประเด็นได้คะแนนเท่ากับเดือนก่อน ส่วนอีก 8 ประเด็นมีคะแนนลดลงจากเดือนก่อน
โดย 9 ประเด็นที่คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ บทบาทของสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ ได้คะแนน 5.80 เพิ่มจาก 5.73, ผลงานของรัฐบาล ได้คะแนน 5.71 เพิ่มจาก 5.70, การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน ได้คะแนน 5.64 เพิ่มจาก 5.51, การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ ได้คะแนน 5.56 เพิ่มจาก 5.52, การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน ได้คะแนน 5.43 เพิ่มจาก 5.09, การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม ได้คะแนน 5.36 เพิ่มจาก 5.31, สภาพของสังคมโดยรวม ได้คะแนน 5.29 เพิ่มจาก 5.28, ความเป็นอยู่ของประชาชน ได้คะแนน 5.21 เพิ่มจาก 5.19, ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย ได้คะแนน 5.16 เพิ่มจาก 5.06
ขณะที่มี 2 ประเด็นได้คะแนนเท่ากับเดือนก่อน ได้แก่ ผลงานของนายกรัฐมนตรี ได้คะแนน 5.90 และความสามัคคีของคนในชาติ ได้คะแนน 5.10
ส่วนอีก 8 ประเด็นมีคะแนนลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติด ได้คะแนน 5.09 ลดลงจาก 5.66, การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ได้คะแนน 5.47 ลดลงจาก 5.53, การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม ได้คะแนน 5.44 ลดลงจาก 5.49, การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ ได้คะแนน 5.40 ลดลงจาก 5.41, จริยธรรม /วัฒนธรรมของคนในชาติ ได้คะแนน 5.33 ลดลงจาก 5.35, ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ ได้คะแนน 5.27 ลดลงจาก 5.29, สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม ได้คะแนน 5.22 ลดลงจาก 5.32 และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้คะแนน 5.15 ลดลงจาก 5.21
นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทยอีก 6 ประเด็นที่เป็นตัวฉุดเพราะได้คะแนนไม่ถึงครึ่ง ได้แก่ การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล ได้คะแนน 4.76 ลดลงจาก 4.87, การปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ได้คะแนน 4.69 เพิ่มขึ้นจาก 4.69, การแก้ปัญหาความยากจน ได้คะแนน 4.68 ลดลงจาก 4.80, การแก้ปัญหาการว่างงาน ได้คะแนน 4.65 คะแนน ลดลงจาก 4.84, ราคาสินค้า ได้คะแนน 4.57 ลดลงจาก 4.78 และการแก้ปัญหาคอรัปชั่น ได้คะแนน 4.44 ลดลงจาก 4.60
วานนี้(2 เม.ย.55)“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดทำดัชนีการเมืองไทย โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าการเมืองไทยดีขึ้น แย่ลง หรือเหมือนเดิมในแต่ละเดือน โดยเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน จากคะแนนเต็ม 10 และหาค่าเฉลี่ย ภาพรวมของการเมืองไทย
ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้ได้สำรวจดัชนีการเมืองดังกล่าวจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 5,403 คน ระหว่างวันที่ 25-31 มีนาคม 2555 สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 55 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.23 คะแนน ลดลงเล็กน้อยจาก 5.25 ในเดือน ก.พ.55 จากปัจจัยเรื่องการปัญหาคอรัปชั่น ราคาสินค้าแพง ปัญหาว่างงาน และความยากจน ที่เป็นตัวฉุดให้คะแนนต่ำกว่าเดือนก่อน ขณะที่ผลงานของนายกรัฐมนตรียังคงเป็นปัจจัยที่โดดเด่นและเข้าตาประชาชน โดยได้คะแนน 5.90 คะแนน เท่ากับเดือนก.พ. 55
สำหรับตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทยทั้ง 25 ประเด็น แม้จะมี 19 ประเด็นที่ได้คะแนนเกินครึ่ง แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 9 ประเด็นที่คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่มี 2 ประเด็นได้คะแนนเท่ากับเดือนก่อน ส่วนอีก 8 ประเด็นมีคะแนนลดลงจากเดือนก่อน
โดย 9 ประเด็นที่คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ บทบาทของสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ ได้คะแนน 5.80 เพิ่มจาก 5.73, ผลงานของรัฐบาล ได้คะแนน 5.71 เพิ่มจาก 5.70, การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน ได้คะแนน 5.64 เพิ่มจาก 5.51, การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ ได้คะแนน 5.56 เพิ่มจาก 5.52, การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน ได้คะแนน 5.43 เพิ่มจาก 5.09, การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม ได้คะแนน 5.36 เพิ่มจาก 5.31, สภาพของสังคมโดยรวม ได้คะแนน 5.29 เพิ่มจาก 5.28, ความเป็นอยู่ของประชาชน ได้คะแนน 5.21 เพิ่มจาก 5.19, ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย ได้คะแนน 5.16 เพิ่มจาก 5.06
ขณะที่มี 2 ประเด็นได้คะแนนเท่ากับเดือนก่อน ได้แก่ ผลงานของนายกรัฐมนตรี ได้คะแนน 5.90 และความสามัคคีของคนในชาติ ได้คะแนน 5.10
ส่วนอีก 8 ประเด็นมีคะแนนลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติด ได้คะแนน 5.09 ลดลงจาก 5.66, การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ได้คะแนน 5.47 ลดลงจาก 5.53, การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม ได้คะแนน 5.44 ลดลงจาก 5.49, การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ ได้คะแนน 5.40 ลดลงจาก 5.41, จริยธรรม /วัฒนธรรมของคนในชาติ ได้คะแนน 5.33 ลดลงจาก 5.35, ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ ได้คะแนน 5.27 ลดลงจาก 5.29, สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม ได้คะแนน 5.22 ลดลงจาก 5.32 และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้คะแนน 5.15 ลดลงจาก 5.21
นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทยอีก 6 ประเด็นที่เป็นตัวฉุดเพราะได้คะแนนไม่ถึงครึ่ง ได้แก่ การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล ได้คะแนน 4.76 ลดลงจาก 4.87, การปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ได้คะแนน 4.69 เพิ่มขึ้นจาก 4.69, การแก้ปัญหาความยากจน ได้คะแนน 4.68 ลดลงจาก 4.80, การแก้ปัญหาการว่างงาน ได้คะแนน 4.65 คะแนน ลดลงจาก 4.84, ราคาสินค้า ได้คะแนน 4.57 ลดลงจาก 4.78 และการแก้ปัญหาคอรัปชั่น ได้คะแนน 4.44 ลดลงจาก 4.60