ASTVผู้จัดการรายวัน - บอสใหญ่ CMC Group แจงข้อร้องเรียนโครงการคอนโดฯแบงค์คอก ฮอไรซอน รามคำแหง ยืนยันถูกต้องตามหลักก่อสร้าง กฎหมาย สิ่งแวดล้อม รวมถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการของบริษัทนครภิรมย์ฯ
นายแพทย์วิเชียร แพทยานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC GROUP กล่าวชี้แจงถึงกรณีที่ลูกบ้านในโครงการคอนโดมิเนียมหรู " แบงค์คอก ฮอไรซอน รามคำแหง" บนถนนรามคำแหง ออกมาระบุถึงปัญหาของโครงการว่า ก่อนอื่นต้องขอยืนยันว่าทุกๆสิ่งที่ทางโครงการดำเนินการ อยู่บนหลักการของการดูแลผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯให้ได้รับคุณภาพในการบริการ และคำนึงถึงโอกาสในอนาคตของผู้ซื้อ ที่จะได้รับจากเลือกซื้อห้องชุดจากโครงการในรูปของมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในการดำเนินธุรกิจของ CMC GROUP จะอยู่บนพื้นฐานความโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประกันภัย หรือ เรื่องการบริหารจัดการภายในโครงการทุกๆโครงการ
โดยในเรื่องของตัวอาคารนั้น ต้องยืนยันว่า การตรวจสอบอาคารในส่วนต่างๆเป็นไปตามกฎกระทรวงที่เราปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง และก็มีผู้ตรวจอาคารที่มีใบอนุญาติ(ไลเซ่นส์ ) มีผลงาน ปฎิบัติตามกฎหมายการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง ทำให้เราสามารถออกจำหน่ายห้องชุดได้อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย ซึ่งในเรื่องของการปิดช่องชาร์ปของช่อง Shaft เรามีการปิดช่องชาร์ปโดยเทปูนทุกช่องทุกชั้น มีเพียงชั้นลอยที่ช่องชาร์ปไม่ได้ปิด เนื่องจากข้อกำหนดของกทม.ระบุว่า ชั้นใดมีพื้นที่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร(ตร.ม. )จะถูกจัดให้เป็นชั้นลอย ซึ่งเราก็ตีความตามข้อกำหนดของกทม.ต้องทำหรือไม่อย่างไร แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะดำเนินการปิดช่องชาร์ป
เรื่องของระบบบำบัดน้ำเสียในส่วนของถังบำบัดที่มีการระบุว่าแตกชำรุดนั้น ถังบำบัดน้ำเสียที่ตั้งอยู่ชั้นล่าง มีการรั่ว เกิดจากข้อต่อของเครื่องปั๊มเคลื่อนไม่แน่น ซึ่งเราได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว และเป็นแค่จุดเดียว ไม่ใช่แตกชำรุดผิดเรื่องสวล. อันนี้ไม่จริง
" ผมอยู่ในวงการอสังหารฯมานานหลายสิบปี คงไม่ทำอะไรในลักษณะทำกำไรแล้ว ตีหัวเข้าบ้าน หรือทำอะไรที่ผิดกฎหมาย กว่า CMC Group จะสร้างชื่อเสียงได้ ต้องใช้เวลาสะสมมาหลายสิบปี และโครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน รามคำแหง เป็นของบริษัทแม่ที่เราต้องการสร้างผลงานให้เป็นที่รับรู้ของลูกค้าในระดับบน ดังนั้น ก็อยากวิงวอนให้ผู้ที่เดือนร้อน มองตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่เอาจุดเล็กมาขายผล "
ในส่วนของบริษัท นครภิรมย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดนั้น ในหลักการบริหารจัดการโครงการคอนโดฯ การให้บริษัทลูกเข้าไปดูแลจัดการ ก็เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลให้แก่ลูกค้าในโครงการ อีกทั้ง ทางบริษัท นครภิรมย์ฯ ยึดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ในการเข้าเสนอราคาเพื่อร่วมบริหารอาคารชุดต่อไป ซึ่งการจะเลือกบริษัทใหม่หรือบริษัทเดิมเข้ามาจัดการ จะเป็นที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคลอาคารชุดจะตัดสินใจ
" ลึกๆแล้ว ก็ไม่ต้องการมาสร้างขัดแย้งกับใครบางคน เพราะเราไม่ต้องการให้ผู้ที่ซื้ออาคารชุด เกิดปัญหา และการที่บริษัท นครภิรมย์ เสนอตัวเข้ามา ก็เพราะลูกบ้านส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 พอใจกับนครภิรมย์ มีกลุ่มที่เป็นส่วนน้อย ที่ต้องการเอากลุ่มบริษัทใหม่เข้ามาบริหาร อาจะเป็นการทำร้ายลูกบ้านส่วนใหญ่ ซึ่งเรา(CMC Group) และนครภิรมย์ เป็นห่วงเจ้าของ ไม่อยากให้เจ้าของเข้าใจผิด และกลัวลูกบ้านขาดโอกาสในการบริหารแอสเสทของคอนโดฯ ทั้งเรื่องราคา และการปล่อยเช่า ที่อาจสูญเสียรายได้ที่ควรจะเป็นของเจ้าของห้องร่วม "
นายแพทย์วิเชียร ระบุต่อว่า ทางโครงการได้ให้พื้นที่ส่วนกลางแก่นิติบุคคลอาคารชุด อาทิเช่น ชั้น 8 ทั้งชั้น ประมาณ 1,000 ตร.ม. มอบเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และชั้น 8A ชั้นลอย ประมาณ 160 ตร.ม. ยกให้โครงการ ซึ่งหากรวมเป็นพื้นที่ขายแล้วจะมีมูลค่าเกือบ 10 ล้านบาท
นายแพทย์วิเชียร แพทยานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ CMC GROUP กล่าวชี้แจงถึงกรณีที่ลูกบ้านในโครงการคอนโดมิเนียมหรู " แบงค์คอก ฮอไรซอน รามคำแหง" บนถนนรามคำแหง ออกมาระบุถึงปัญหาของโครงการว่า ก่อนอื่นต้องขอยืนยันว่าทุกๆสิ่งที่ทางโครงการดำเนินการ อยู่บนหลักการของการดูแลผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯให้ได้รับคุณภาพในการบริการ และคำนึงถึงโอกาสในอนาคตของผู้ซื้อ ที่จะได้รับจากเลือกซื้อห้องชุดจากโครงการในรูปของมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในการดำเนินธุรกิจของ CMC GROUP จะอยู่บนพื้นฐานความโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประกันภัย หรือ เรื่องการบริหารจัดการภายในโครงการทุกๆโครงการ
โดยในเรื่องของตัวอาคารนั้น ต้องยืนยันว่า การตรวจสอบอาคารในส่วนต่างๆเป็นไปตามกฎกระทรวงที่เราปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง และก็มีผู้ตรวจอาคารที่มีใบอนุญาติ(ไลเซ่นส์ ) มีผลงาน ปฎิบัติตามกฎหมายการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง ทำให้เราสามารถออกจำหน่ายห้องชุดได้อย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย ซึ่งในเรื่องของการปิดช่องชาร์ปของช่อง Shaft เรามีการปิดช่องชาร์ปโดยเทปูนทุกช่องทุกชั้น มีเพียงชั้นลอยที่ช่องชาร์ปไม่ได้ปิด เนื่องจากข้อกำหนดของกทม.ระบุว่า ชั้นใดมีพื้นที่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร(ตร.ม. )จะถูกจัดให้เป็นชั้นลอย ซึ่งเราก็ตีความตามข้อกำหนดของกทม.ต้องทำหรือไม่อย่างไร แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะดำเนินการปิดช่องชาร์ป
เรื่องของระบบบำบัดน้ำเสียในส่วนของถังบำบัดที่มีการระบุว่าแตกชำรุดนั้น ถังบำบัดน้ำเสียที่ตั้งอยู่ชั้นล่าง มีการรั่ว เกิดจากข้อต่อของเครื่องปั๊มเคลื่อนไม่แน่น ซึ่งเราได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว และเป็นแค่จุดเดียว ไม่ใช่แตกชำรุดผิดเรื่องสวล. อันนี้ไม่จริง
" ผมอยู่ในวงการอสังหารฯมานานหลายสิบปี คงไม่ทำอะไรในลักษณะทำกำไรแล้ว ตีหัวเข้าบ้าน หรือทำอะไรที่ผิดกฎหมาย กว่า CMC Group จะสร้างชื่อเสียงได้ ต้องใช้เวลาสะสมมาหลายสิบปี และโครงการแบงค์คอก ฮอไรซอน รามคำแหง เป็นของบริษัทแม่ที่เราต้องการสร้างผลงานให้เป็นที่รับรู้ของลูกค้าในระดับบน ดังนั้น ก็อยากวิงวอนให้ผู้ที่เดือนร้อน มองตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่เอาจุดเล็กมาขายผล "
ในส่วนของบริษัท นครภิรมย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดนั้น ในหลักการบริหารจัดการโครงการคอนโดฯ การให้บริษัทลูกเข้าไปดูแลจัดการ ก็เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลให้แก่ลูกค้าในโครงการ อีกทั้ง ทางบริษัท นครภิรมย์ฯ ยึดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ในการเข้าเสนอราคาเพื่อร่วมบริหารอาคารชุดต่อไป ซึ่งการจะเลือกบริษัทใหม่หรือบริษัทเดิมเข้ามาจัดการ จะเป็นที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคลอาคารชุดจะตัดสินใจ
" ลึกๆแล้ว ก็ไม่ต้องการมาสร้างขัดแย้งกับใครบางคน เพราะเราไม่ต้องการให้ผู้ที่ซื้ออาคารชุด เกิดปัญหา และการที่บริษัท นครภิรมย์ เสนอตัวเข้ามา ก็เพราะลูกบ้านส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 พอใจกับนครภิรมย์ มีกลุ่มที่เป็นส่วนน้อย ที่ต้องการเอากลุ่มบริษัทใหม่เข้ามาบริหาร อาจะเป็นการทำร้ายลูกบ้านส่วนใหญ่ ซึ่งเรา(CMC Group) และนครภิรมย์ เป็นห่วงเจ้าของ ไม่อยากให้เจ้าของเข้าใจผิด และกลัวลูกบ้านขาดโอกาสในการบริหารแอสเสทของคอนโดฯ ทั้งเรื่องราคา และการปล่อยเช่า ที่อาจสูญเสียรายได้ที่ควรจะเป็นของเจ้าของห้องร่วม "
นายแพทย์วิเชียร ระบุต่อว่า ทางโครงการได้ให้พื้นที่ส่วนกลางแก่นิติบุคคลอาคารชุด อาทิเช่น ชั้น 8 ทั้งชั้น ประมาณ 1,000 ตร.ม. มอบเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และชั้น 8A ชั้นลอย ประมาณ 160 ตร.ม. ยกให้โครงการ ซึ่งหากรวมเป็นพื้นที่ขายแล้วจะมีมูลค่าเกือบ 10 ล้านบาท