วานนี้(19 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงไปในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้คู่แข่งหลายพื้นที่ว่ารัฐบาลต้องไปทบทวนตนเอง เพราะวันที่ตนไปช่วยหาเสียงเลือกตั้งนายกฯอบจ.จ.กาญจนบุรี เห็นป้ายของผู้สมัครที่ขึ้นว่าเป็นพรรคเพื่อไทยพยามยามพูดถึงนโยบายรัฐบาลด้วย ดังนั้นรัฐบาลควรจะต้องเอาผลการเลือกตั้งไปดูแล้วพิจารณาว่าต้องทำงานหนักขึ้นเพราะเหมือนกับว่าไม่ได้รับการตอบรับในบ้างพื้นที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์คิดว่ากรณีดังกล่าวเป็นโอกาสที่ดีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนถือว่าในขณะนี้ทางพรรคได้ติดตามการทำงานและปฏิกิริยาของประชาชน ซึ่งแน่นอนคนก็ผ่านการเลือกตั้งใหญ่เพียงครึ่งปีกว่าๆก็ยังอยากให้โอกาสรัฐบาลทำงาน แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าความไม่พอใจกับการแก้ไขปัญหาหลักๆของรัฐบาล มันยังมีอยู่ ทั้งเรื่องของแพงและความกังวลเรื่องน้ำท่วมทั้งเรื่องความขัดแย้งในบ้านเมือง เพราะฉะนั้นสามเรื่องนี้ก็ยังหัวสำคัญที่รัฐบาลต้องเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาให้ได้
ส่วนการเลือกตั้งซ่อมส.ส.ที่จ.ปทุมธานี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางพรรค.ก็ทำงานเต็มที่ เพราะผู้ลงสมัครเคยได้ลงสมัครมาแล้วและในช่วงน้ำท่วมก็มีบทบาทชัดเจน โดยคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นรองอยู่ เพราะเป็นที่นั่งเก่าของพรรคเพื่อไทย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ที่ประชุมได้มีการคัดเลือกรายชื่อคณะกรรมการ 3 ชุดเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ประกอบด้วยคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรค โดยพรรคจะมีการจัดประชุมใหญ่ในวันที่ 29-30 มี.ค.นี้
นอกจากนี้ยังมีมติส่งนายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 5 จ.ปทุมธานี โดยทางพรรคมีความคาดหวังสูง และยังเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะ โดยจะช่วยนายเกียรติศักดิ์หาเสียงอย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชนหลายจังหวัดที่ถูกทาสีว่าเป็นจังหวัดสีแดงนั้น คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดเช่นนั้น และจะเชิญชวนให้ร่วมกันออกมาพิสูจน์ด้วยผลการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
ที่ประชุมยังได้วิเคราะห์ถึงผลการเลือกตั้งนายกฯ อบจ.กาญจนบุรีว่า แม้ผู้สมัครจะไม่ได้ลงเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง แต่เป็นสามีของส.ส.พรรค และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลงพื้นที่ไปช่วยหาเสียง ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก ทำให้ประเมินว่าขณะนี้ประชาชนเริ่มรับไม่ได้ตั้งแต่สถานการณ์น้ำท่วมที่รัฐบาลบริหารผิดพลาดจนทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศมากที่สุดในประวัติการณ์และตามด้วยปัญหาของแพงที่รัฐบาลไม่รู้ร้อนร้อนหนาวที่จะแก้ปัญหา เมื่อความทุกข์ส่งไปถึงประชาชนเขาจึงเริ่มแสดงออก และปรากฎการณ์อย่างนี้ยังเกิดขึ้นที่จ.อุดรธานีด้วย เพราะทีมที่กลุ่มคนเสื้อแดงสนับสนุนก็พ่ายแพ้ผลการเลือกตั้ง เหมือนเช่นที่ จ.นครราชสีมา
“ตอนนี้รัฐบาลทำให้ประชาชนรู้ว่าการเมืองกินไม่ได้ การแก้รัฐธรรมนูญกินไม่ได้ ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลไปเยียวยาเรื่องน้ำท่วม ไม่ใช่เอาเวลาไปแก้รัฐธรรมนูญ ไปเยียวยาคนเผาบ้านเผาเมือง จึงสะท้อนออกมาเป็นผลการเลือกตั้งดังกล่าว” นายชวนนท์กล่าว
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสะท้อนถึงผลการเลือกตั้งสนามใหญ่ ในอนาคตได้หรือไม่ นายชวนนท์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคก็ทำงานหนักอยู่แล้ว ไม่ว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่นจะออกมาเป็นอย่างไร เราก็ไม่ประมาท แม้ประชาชนจะเริ่มสงสัยในความสามารถของรัฐบาล พรรคก็จำเป็นต้องแสดงศักยภาพออกมาด้วยผลงานต่างๆ รวมถึงการประกาศเจตนารมณ์และจุดยืนของพรรคในการประชุมใหญ่ของพรรค ที่จะมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ผ่านมา
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.นครราชสีมา ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มโคราชชาติพัฒนา ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้รับคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ชนะผู้สมัครที่คนเสื้อแดง ถึง 65,963 คะแนน
ส่วนการเลือกตั้งนายก อบจ.กาญจนบุรี นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ทิ้งห่างผู้สมัครของเพรรคเพื่อไทย 40,562 คะแนน
ขณะที่การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านดุง จ.อุดรธานี คนที่พรรคภูมิใจไทยหนุนก็ชนะคนที่พรรค เพื่อไทยสนับสนุนกว่า 1 พันคะแนน
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุมคณะอำนวยการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ปทุมธานี เขต 5 ว่ามีความเป็นห่วงประชาชนจะเกิดความสับสน เนื่องจาก กกต.จว.ปทุมธานีกำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งนายกอบจ.ปทุมธานี ดังนั้น กกต.จะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ
นอกจากนี้กกต.กำลังหารือเพื่อเสนอแก้กฎหมายเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการเลือกตั้ง นายกฯอบจ.และสมาชิก อบจ. ในคราวเดียวกัน แต่ระยะเวลาต้องห่างกันไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากจะได้ประหยัดงบประมาณและป้องกันความเบื่อหน่ายของประชาชน เช่น การเลือกตั้ง นายกฯอบจ.บุรีรัมย์ ที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 57 ล้านบาท และงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกอบจ.บุรีรัมย์อีก 58 ล้านบาท ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและประชาชนต้องออกมาเลือกตั้ง 2 ครั้ง
ส่วนการเลือกตั้งนายกอบจ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครราชสีมานั้น มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากพอสมควรส่วนใหญ่เป็นเรื่องซื้อสิทธิขายเสียง โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ที่มี 12 เรื่อง จ.นครราชสีมา มีเรื่อง 4 – 5 เรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์คิดว่ากรณีดังกล่าวเป็นโอกาสที่ดีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนถือว่าในขณะนี้ทางพรรคได้ติดตามการทำงานและปฏิกิริยาของประชาชน ซึ่งแน่นอนคนก็ผ่านการเลือกตั้งใหญ่เพียงครึ่งปีกว่าๆก็ยังอยากให้โอกาสรัฐบาลทำงาน แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าความไม่พอใจกับการแก้ไขปัญหาหลักๆของรัฐบาล มันยังมีอยู่ ทั้งเรื่องของแพงและความกังวลเรื่องน้ำท่วมทั้งเรื่องความขัดแย้งในบ้านเมือง เพราะฉะนั้นสามเรื่องนี้ก็ยังหัวสำคัญที่รัฐบาลต้องเดินหน้าในการแก้ไขปัญหาให้ได้
ส่วนการเลือกตั้งซ่อมส.ส.ที่จ.ปทุมธานี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางพรรค.ก็ทำงานเต็มที่ เพราะผู้ลงสมัครเคยได้ลงสมัครมาแล้วและในช่วงน้ำท่วมก็มีบทบาทชัดเจน โดยคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นรองอยู่ เพราะเป็นที่นั่งเก่าของพรรคเพื่อไทย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ที่ประชุมได้มีการคัดเลือกรายชื่อคณะกรรมการ 3 ชุดเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ประกอบด้วยคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรค โดยพรรคจะมีการจัดประชุมใหญ่ในวันที่ 29-30 มี.ค.นี้
นอกจากนี้ยังมีมติส่งนายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 5 จ.ปทุมธานี โดยทางพรรคมีความคาดหวังสูง และยังเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะ โดยจะช่วยนายเกียรติศักดิ์หาเสียงอย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชนหลายจังหวัดที่ถูกทาสีว่าเป็นจังหวัดสีแดงนั้น คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดเช่นนั้น และจะเชิญชวนให้ร่วมกันออกมาพิสูจน์ด้วยผลการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
ที่ประชุมยังได้วิเคราะห์ถึงผลการเลือกตั้งนายกฯ อบจ.กาญจนบุรีว่า แม้ผู้สมัครจะไม่ได้ลงเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง แต่เป็นสามีของส.ส.พรรค และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลงพื้นที่ไปช่วยหาเสียง ซึ่งได้รับคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก ทำให้ประเมินว่าขณะนี้ประชาชนเริ่มรับไม่ได้ตั้งแต่สถานการณ์น้ำท่วมที่รัฐบาลบริหารผิดพลาดจนทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศมากที่สุดในประวัติการณ์และตามด้วยปัญหาของแพงที่รัฐบาลไม่รู้ร้อนร้อนหนาวที่จะแก้ปัญหา เมื่อความทุกข์ส่งไปถึงประชาชนเขาจึงเริ่มแสดงออก และปรากฎการณ์อย่างนี้ยังเกิดขึ้นที่จ.อุดรธานีด้วย เพราะทีมที่กลุ่มคนเสื้อแดงสนับสนุนก็พ่ายแพ้ผลการเลือกตั้ง เหมือนเช่นที่ จ.นครราชสีมา
“ตอนนี้รัฐบาลทำให้ประชาชนรู้ว่าการเมืองกินไม่ได้ การแก้รัฐธรรมนูญกินไม่ได้ ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลไปเยียวยาเรื่องน้ำท่วม ไม่ใช่เอาเวลาไปแก้รัฐธรรมนูญ ไปเยียวยาคนเผาบ้านเผาเมือง จึงสะท้อนออกมาเป็นผลการเลือกตั้งดังกล่าว” นายชวนนท์กล่าว
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะสะท้อนถึงผลการเลือกตั้งสนามใหญ่ ในอนาคตได้หรือไม่ นายชวนนท์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคก็ทำงานหนักอยู่แล้ว ไม่ว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่นจะออกมาเป็นอย่างไร เราก็ไม่ประมาท แม้ประชาชนจะเริ่มสงสัยในความสามารถของรัฐบาล พรรคก็จำเป็นต้องแสดงศักยภาพออกมาด้วยผลงานต่างๆ รวมถึงการประกาศเจตนารมณ์และจุดยืนของพรรคในการประชุมใหญ่ของพรรค ที่จะมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ผ่านมา
รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.นครราชสีมา ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มโคราชชาติพัฒนา ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้รับคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ชนะผู้สมัครที่คนเสื้อแดง ถึง 65,963 คะแนน
ส่วนการเลือกตั้งนายก อบจ.กาญจนบุรี นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ทิ้งห่างผู้สมัครของเพรรคเพื่อไทย 40,562 คะแนน
ขณะที่การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านดุง จ.อุดรธานี คนที่พรรคภูมิใจไทยหนุนก็ชนะคนที่พรรค เพื่อไทยสนับสนุนกว่า 1 พันคะแนน
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุมคณะอำนวยการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ปทุมธานี เขต 5 ว่ามีความเป็นห่วงประชาชนจะเกิดความสับสน เนื่องจาก กกต.จว.ปทุมธานีกำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งนายกอบจ.ปทุมธานี ดังนั้น กกต.จะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ
นอกจากนี้กกต.กำลังหารือเพื่อเสนอแก้กฎหมายเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการเลือกตั้ง นายกฯอบจ.และสมาชิก อบจ. ในคราวเดียวกัน แต่ระยะเวลาต้องห่างกันไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากจะได้ประหยัดงบประมาณและป้องกันความเบื่อหน่ายของประชาชน เช่น การเลือกตั้ง นายกฯอบจ.บุรีรัมย์ ที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 57 ล้านบาท และงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกอบจ.บุรีรัมย์อีก 58 ล้านบาท ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและประชาชนต้องออกมาเลือกตั้ง 2 ครั้ง
ส่วนการเลือกตั้งนายกอบจ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครราชสีมานั้น มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากพอสมควรส่วนใหญ่เป็นเรื่องซื้อสิทธิขายเสียง โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ที่มี 12 เรื่อง จ.นครราชสีมา มีเรื่อง 4 – 5 เรื่อง