วานนี้ (4 มี.ค.55)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ฯ มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคมว่า ตนอยากฝากถึงนายกรัฐมมนตรีให้มีการเตรียมตัว เพื่อให้ตอบคำถามและให้ความชัดเจนเรื่องการบริหารจัดการน้ำของไทย กับภาคเอกชนของญี่ปุ่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเองได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และได้แสดงให้ประเทศญี่ปุ่นเห็นว่ารัฐบาลไทยกำลังเร่งดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการน้ำ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังตั้งข้อสังเกตุถึงกำหนดการของนายกรัฐมนตรีว่า ไม่มีการเปิดช่วงให้มีการซักถามข้อสงสัย โดยมีแต่เพียงการแถลงข่าวเท่านั้น ซึ่งมองว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเตรียมแผนรับมือกับปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล ว่า หากรัฐบาลยังไม่เปิดเผยรายละเอียดและความชัดเจน เกี่ยวกับพื้นที่รับน้ำและการชดเชยเยียวยาให้กับประชาชนจะใช้แนวทางใดนั้น เชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น และประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือรัฐบาล และมองว่ารัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารจัดการเพื่อป้องกันอุทกภัย มากเกินไป จนทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและความสับสนในบทบาทการทำงาน
นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ ที่ปรึกษานิคมอุตสาหกรรมบางชัน เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 มี.ค.นี้จะนำแผนป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เสนอต่อ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอความเห็นชอบ
เบื้องต้นเห็นว่า ควรที่จะมีการก่อสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วม โดยใช้วิธีการกดฝังแผ่นเหล็กชีทไพล์ ลงใต้พื้นดิน ลึกประมาณ 4-6 เมตร และอยู่เหนือผิวดินขึ้นไปประมาณ 2 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่ปลอดภัย เพราะอุทกภัยครั้งที่ผ่านมานั้น นิคมอุตสาหกรรมบางชัน น้ำท่วมสูง 1.10 เมตร โดยคาดว่า จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 เดือน
สำหรับการกดฝังแผ่นเหล็กชีทไพล์ เริ่มต้นตั้งแต่ด้านหลังของกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน ไปจนถึงสุดทางของนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ที่ติดกับคลองแสนแสบ นอกจากนี้ ก็จะมีการก่อสร้างที่บึงกระเทียมและบึงหลอแหล อีกด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะขุดลอกคลองแสนแสบ ตั้งแต่บริเวณกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน ไปจนถึง วัดศรีบุญเรือง เพื่อเปิดทางน้ำให้ไหลสะดวกมากยิ่งขึ้น.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา การประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 5 มี.ค.นี้ มีระเบียบวาระสำคัญ คือรับทราบรายงานและกระทู้ถามด่วนแล้ว ยังมีเรื่องด่วนที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณา 2 เรื่อง คือ 1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และ 2.พ.ร.ก.การบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกูเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังตั้งข้อสังเกตุถึงกำหนดการของนายกรัฐมนตรีว่า ไม่มีการเปิดช่วงให้มีการซักถามข้อสงสัย โดยมีแต่เพียงการแถลงข่าวเท่านั้น ซึ่งมองว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการเตรียมแผนรับมือกับปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล ว่า หากรัฐบาลยังไม่เปิดเผยรายละเอียดและความชัดเจน เกี่ยวกับพื้นที่รับน้ำและการชดเชยเยียวยาให้กับประชาชนจะใช้แนวทางใดนั้น เชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น และประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือรัฐบาล และมองว่ารัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารจัดการเพื่อป้องกันอุทกภัย มากเกินไป จนทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและความสับสนในบทบาทการทำงาน
นายธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ ที่ปรึกษานิคมอุตสาหกรรมบางชัน เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 มี.ค.นี้จะนำแผนป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เสนอต่อ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอความเห็นชอบ
เบื้องต้นเห็นว่า ควรที่จะมีการก่อสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วม โดยใช้วิธีการกดฝังแผ่นเหล็กชีทไพล์ ลงใต้พื้นดิน ลึกประมาณ 4-6 เมตร และอยู่เหนือผิวดินขึ้นไปประมาณ 2 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่ปลอดภัย เพราะอุทกภัยครั้งที่ผ่านมานั้น นิคมอุตสาหกรรมบางชัน น้ำท่วมสูง 1.10 เมตร โดยคาดว่า จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 เดือน
สำหรับการกดฝังแผ่นเหล็กชีทไพล์ เริ่มต้นตั้งแต่ด้านหลังของกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน ไปจนถึงสุดทางของนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ที่ติดกับคลองแสนแสบ นอกจากนี้ ก็จะมีการก่อสร้างที่บึงกระเทียมและบึงหลอแหล อีกด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะขุดลอกคลองแสนแสบ ตั้งแต่บริเวณกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน ไปจนถึง วัดศรีบุญเรือง เพื่อเปิดทางน้ำให้ไหลสะดวกมากยิ่งขึ้น.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา การประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 5 มี.ค.นี้ มีระเบียบวาระสำคัญ คือรับทราบรายงานและกระทู้ถามด่วนแล้ว ยังมีเรื่องด่วนที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณา 2 เรื่อง คือ 1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 และ 2.พ.ร.ก.การบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกูเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555