ศรีสะเกษ-เครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ รวมตัวชุมนุมเปิดเวทีปราศรัย ต้านคำสั่งศาลโลก ค้านถอนทหารและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าพื้นที่เขาพระวิหาร เผยเตรียมบุกยื่นประท้วงสถานทูตอิเหนา จี้ระงับส่งทหารจุ้นเขาพระวิหาร 24 ก.พ.นี้
วานนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีประชาชนกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้กว่า 200 คน รวมตัวกันเปิดเวทีปราศรัย พร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก กรณีให้ดำเนินการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ชายแดนเขาพระวิหาร และให้ส่งผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามายังพื้นที่พิพาทเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ภายในวันที่ 30 มี.ค.นี้ โดย มีนายปราโมทย์ หอยมุข ประธานกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์บนเวที
นายปราโมทย์กล่าวว่า หลังจากที่ไทยได้สูญเสียปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งแต่ปี 2505 มาแล้วนั้น การยอมรับคำสั่งของศาลโลกของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการยอมรับการเสียดินแดนอีกครั้ง ทางกลุ่มเครือข่ายฯ จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อคัดค้านการดำเนินการของรัฐบาลที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนี้ โดยพวกเราประชาชนไทยยืนยันคัดค้านการถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนไทยเขาพระวิหาร, คัดค้านการยอมรับคำสั่งของศาลโลก และคัดค้านการเข้ามาของทหารจากประเทศอินโดนีเซียที่จะเข้ามาสังเกตการณ์พื้นที่เขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา
ทั้งนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ จะเดินทางเข้ายื่นหนังสือประท้วงคัดค้านการส่งทหารประเทศอินโดนีเซียเข้ามายังพื้นที่เขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อแสดงถึงจุดยืนในการคัดค้านคำสั่งของศาลโลกและให้ประเทศอินโดนีเซียระงับการส่งทหารเข้าพื้นที่เขาพระวิหาร พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับมติของศาลโลก และไม่ถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนไทยเขาพระวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การชุมนุมเปิดปราศรัยกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ ที่บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ดังกล่าว ยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งวัน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจากที่ว่าการ อ.กันทรลักษ์ มาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลา
เมื่อเดือนก.ค.2554 ที่ผ่านมา ศาลโลกมีคำสั่งออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ในคดีประเทศกัมพูชายื่นร้องต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 โดยให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทชายแดนเขาพระวิหาร ห้ามฝ่ายไทยขัดขวางการเข้าออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ปลอดทหารของเจ้าหน้าที่ และอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าไปในพื้นที่ปลอดทหารชั่วคราวได้
วานนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีประชาชนกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้กว่า 200 คน รวมตัวกันเปิดเวทีปราศรัย พร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก กรณีให้ดำเนินการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ชายแดนเขาพระวิหาร และให้ส่งผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามายังพื้นที่พิพาทเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ภายในวันที่ 30 มี.ค.นี้ โดย มีนายปราโมทย์ หอยมุข ประธานกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์บนเวที
นายปราโมทย์กล่าวว่า หลังจากที่ไทยได้สูญเสียปราสาทเขาพระวิหาร ตั้งแต่ปี 2505 มาแล้วนั้น การยอมรับคำสั่งของศาลโลกของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการยอมรับการเสียดินแดนอีกครั้ง ทางกลุ่มเครือข่ายฯ จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อคัดค้านการดำเนินการของรัฐบาลที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนี้ โดยพวกเราประชาชนไทยยืนยันคัดค้านการถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนไทยเขาพระวิหาร, คัดค้านการยอมรับคำสั่งของศาลโลก และคัดค้านการเข้ามาของทหารจากประเทศอินโดนีเซียที่จะเข้ามาสังเกตการณ์พื้นที่เขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา
ทั้งนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ จะเดินทางเข้ายื่นหนังสือประท้วงคัดค้านการส่งทหารประเทศอินโดนีเซียเข้ามายังพื้นที่เขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อแสดงถึงจุดยืนในการคัดค้านคำสั่งของศาลโลกและให้ประเทศอินโดนีเซียระงับการส่งทหารเข้าพื้นที่เขาพระวิหาร พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับมติของศาลโลก และไม่ถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนไทยเขาพระวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การชุมนุมเปิดปราศรัยกลุ่มเครือข่ายรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ ที่บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ดังกล่าว ยังคงดำเนินต่อไปตลอดทั้งวัน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจากที่ว่าการ อ.กันทรลักษ์ มาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลา
เมื่อเดือนก.ค.2554 ที่ผ่านมา ศาลโลกมีคำสั่งออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ในคดีประเทศกัมพูชายื่นร้องต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 โดยให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทชายแดนเขาพระวิหาร ห้ามฝ่ายไทยขัดขวางการเข้าออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ปลอดทหารของเจ้าหน้าที่ และอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าไปในพื้นที่ปลอดทหารชั่วคราวได้