ASTVผู้จัดการรายวัน -โพลเผยคนกรุงสนใจข่าวระเบิด ส่งผลกระทบทำให้เชื่อมั่นรัฐบาลลดลง สะท้อนความหละหลวม ขาดประสิทธิภาพของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำคนกรุงรู้สึกไม่ปลอดภัย พร้อมสนใจข่าวภารกิจลับนายกฯ ที่ รร.โฟร์ซีซั่นส์ ด้านเอแบคโพลล์ชาวบ้านให้ “ยิ่งลักษณ์” ลงพื้นที่แก้น้ำท่วม-เดินตลาดบ้าง
วันที่ 19 ก.พ. “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,374 คน ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2555 ต่อเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร สรุปผลได้ดังนี้ 1.) 5 “ข่าวเด่น” ที่คนกรุงเทพฯ สนใจติดตามอยู่ในขณะนี้ อันดับ 1 ระเบิดในกรุงเทพฯ 85.25% เพราะสร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชน เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากเหตุระเบิด,ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและภาพลักษณ์ของประเทศ ฯลฯ
อันดับ 2 ข่าวที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ/ทัวร์นกขมิ้น ประชุมลับที่ รร.โฟร์ซีซั่นส์ 83.83% เพราะ อยากรู้ข้อเท็จจริง, เป็นผู้ที่สังคมให้ความสนใจทั้งในเรื่องของการบริหารประเทศและพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกพาดพิง ฯลฯ อันดับ 3 การเยียวยาและการป้องกันน้ำท่วม 74.81% เพราะอยากรู้แนวทางป้องกันและวิธีแก้ไขที่ชัดเจนจากรัฐบาล, เห็นใจผู้ประสบภัย, กลัวว่าจะเจอน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่ผ่านมา ฯลฯ
อันดับ 4 เรื่องของเศรษฐกิจ ราคาสินค้าและน้ำมันราคาแพง 67.74% เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต, ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น, รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ฯลฯ และอันดับ 5 การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 65.45% เพราะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน, สังคมจะดีขึ้นหากยาเสพติดหมดไปจากประเทศ ฯลฯ
2.) ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กับเหตุการณ์ระเบิดที่เป็นข่าวร้อนอยู่ในขณะนี้ อันดับ 1 รู้สึกเครียด วิตกกังวล ไม่ปลอดภัย กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก 45.77% อันดับ 2 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศชาติทั้งทางด้านภาพลักษณ์ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 35.85% อันดับ 3 อยากรู้ข้อเท็จจริงถึงสาเหตุ ที่มาที่ไป และผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการวางแผนครั้งนี้ 18.38%
3.) จากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ส่งผลให้คนกรุงเทพฯมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลอย่างไร? อันดับ 1 ส่งผลกระทบทำให้เชื่อมั่นรัฐบาลลดลง 60.08% เพราะแสดงให้เห็นถึงความหละหลวม การขาดประสิทธิภาพของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง, คนกรุงเทพฯรู้สึกไม่ปลอดภัย ฯลฯ อันดับ 2 ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น 39.92% เพราะยังไม่ควรด่วนสรุปหากยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน, เชื่อว่ารัฐบาลเองก็คงไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในบ้านเมือง ฯลฯ
4.) คนกรุงเทพฯ กับวิธีปฏิบัติ/การมีส่วนช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว อันดับ 1 ช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลหรือสิ่งผิดปกติเมื่อพบเจอ 78.56% อันดับ 2 อยู่เฉยๆ/เชื่อฟัง ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 11.14% อันดับ 3 ติดตามข่าวสาร สถานการณ์บ้านเมืองอย่างมีสติและมีวิจารณญาณ 10.30%
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิจัยประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องความนิยมของสาธารณชนต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,585 ตัวอย่าง พบว่า ความมั่นใจของประชาชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ได้ 5.28 แสดงให้เห็นว่าผ่านครึ่งหนึ่ง แต่ยังอยู่ในระดับที่ชาวบ้านยังไม่ค่อยมั่นใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความพอใจของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ในการลงพื้นที่จังหวัดต่างๆ ในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม พบว่าได้สูงถึง 7.39 คะแนน
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 ต้องการให้นายกรัฐมนตรีหญิง เดินจ่ายตลาดสด เข้าถึงหัวอกปัญหาราคาสินค้าของชาวบ้าน ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่ต้องการ แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 รู้สึกกังวลต่อข่าวการก่อการร้ายภายในประเทศไทย โดยพบว่าความรู้สึกเชื่อถือต่อข้อมูลคำเตือนของสหรัฐอเมริกาได้รับความน่าเชื่อถือสูงขึ้นในหมู่ประชาชนจากร้อยละ 55.9 ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ร้อยละ 65.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่ความน่าเชื่อถือต่อข้อมูลของรัฐบาลไทยลดลงจากร้อยละ 44.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.9
น.ส.ปุณฑรีก์กล่าวต่อว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.2 คาดการณ์ว่าข่าวการก่อการร้ายจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ส่งผลระดับปานกลาง และร้อยละ 16.1 ระบุกระทบน้อยถึงน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 เห็นด้วยที่ควรมีการตั้งวอร์รูม หรือห้องปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมงด้านความมั่นคงและลดอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่
เมื่อสอบถามถึงนักการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 ระบุ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รองลงมา คือ ร้อยละ 21.2 ระบุ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 11.9 ระบุ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และร้อยละ 3.1 ระบุอื่นๆ เช่น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทติธรรม พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พบว่า คะแนนนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี เพิ่มสูงขึ้นหลังจากตกลงไปในในช่วงเดือนมกราคมที่ร้อยละ 34.7 กลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 41.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่ความนิยมของประชาชนต่อนายอภิสิทธิ์ อยู่ที่ร้อยละ 15.1 แต่กลุ่มคนที่มีจำนวนมากสุดในการสำรวจครั้งนี้เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่นิยมศรัทธาใครเลยอยู่ที่ร้อยละ 43.1 โดยลดลงจากร้อยละ 51.1 ในการสำรวจช่วงเดือนที่แล้ว.
วันที่ 19 ก.พ. “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,374 คน ระหว่างวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2555 ต่อเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร สรุปผลได้ดังนี้ 1.) 5 “ข่าวเด่น” ที่คนกรุงเทพฯ สนใจติดตามอยู่ในขณะนี้ อันดับ 1 ระเบิดในกรุงเทพฯ 85.25% เพราะสร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชน เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากเหตุระเบิด,ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและภาพลักษณ์ของประเทศ ฯลฯ
อันดับ 2 ข่าวที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ/ทัวร์นกขมิ้น ประชุมลับที่ รร.โฟร์ซีซั่นส์ 83.83% เพราะ อยากรู้ข้อเท็จจริง, เป็นผู้ที่สังคมให้ความสนใจทั้งในเรื่องของการบริหารประเทศและพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกพาดพิง ฯลฯ อันดับ 3 การเยียวยาและการป้องกันน้ำท่วม 74.81% เพราะอยากรู้แนวทางป้องกันและวิธีแก้ไขที่ชัดเจนจากรัฐบาล, เห็นใจผู้ประสบภัย, กลัวว่าจะเจอน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่ผ่านมา ฯลฯ
อันดับ 4 เรื่องของเศรษฐกิจ ราคาสินค้าและน้ำมันราคาแพง 67.74% เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต, ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น, รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ฯลฯ และอันดับ 5 การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 65.45% เพราะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน, สังคมจะดีขึ้นหากยาเสพติดหมดไปจากประเทศ ฯลฯ
2.) ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กับเหตุการณ์ระเบิดที่เป็นข่าวร้อนอยู่ในขณะนี้ อันดับ 1 รู้สึกเครียด วิตกกังวล ไม่ปลอดภัย กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก 45.77% อันดับ 2 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศชาติทั้งทางด้านภาพลักษณ์ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 35.85% อันดับ 3 อยากรู้ข้อเท็จจริงถึงสาเหตุ ที่มาที่ไป และผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการวางแผนครั้งนี้ 18.38%
3.) จากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ส่งผลให้คนกรุงเทพฯมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลอย่างไร? อันดับ 1 ส่งผลกระทบทำให้เชื่อมั่นรัฐบาลลดลง 60.08% เพราะแสดงให้เห็นถึงความหละหลวม การขาดประสิทธิภาพของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง, คนกรุงเทพฯรู้สึกไม่ปลอดภัย ฯลฯ อันดับ 2 ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น 39.92% เพราะยังไม่ควรด่วนสรุปหากยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน, เชื่อว่ารัฐบาลเองก็คงไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในบ้านเมือง ฯลฯ
4.) คนกรุงเทพฯ กับวิธีปฏิบัติ/การมีส่วนช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว อันดับ 1 ช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลสอดส่องสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลหรือสิ่งผิดปกติเมื่อพบเจอ 78.56% อันดับ 2 อยู่เฉยๆ/เชื่อฟัง ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 11.14% อันดับ 3 ติดตามข่าวสาร สถานการณ์บ้านเมืองอย่างมีสติและมีวิจารณญาณ 10.30%
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิจัยประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องความนิยมของสาธารณชนต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 2,585 ตัวอย่าง พบว่า ความมั่นใจของประชาชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ได้ 5.28 แสดงให้เห็นว่าผ่านครึ่งหนึ่ง แต่ยังอยู่ในระดับที่ชาวบ้านยังไม่ค่อยมั่นใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความพอใจของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ในการลงพื้นที่จังหวัดต่างๆ ในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม พบว่าได้สูงถึง 7.39 คะแนน
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.9 ต้องการให้นายกรัฐมนตรีหญิง เดินจ่ายตลาดสด เข้าถึงหัวอกปัญหาราคาสินค้าของชาวบ้าน ในขณะที่ร้อยละ 23.1 ไม่ต้องการ แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 รู้สึกกังวลต่อข่าวการก่อการร้ายภายในประเทศไทย โดยพบว่าความรู้สึกเชื่อถือต่อข้อมูลคำเตือนของสหรัฐอเมริกาได้รับความน่าเชื่อถือสูงขึ้นในหมู่ประชาชนจากร้อยละ 55.9 ในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ร้อยละ 65.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่ความน่าเชื่อถือต่อข้อมูลของรัฐบาลไทยลดลงจากร้อยละ 44.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.9
น.ส.ปุณฑรีก์กล่าวต่อว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.2 คาดการณ์ว่าข่าวการก่อการร้ายจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ส่งผลระดับปานกลาง และร้อยละ 16.1 ระบุกระทบน้อยถึงน้อยที่สุด โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 เห็นด้วยที่ควรมีการตั้งวอร์รูม หรือห้องปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมงด้านความมั่นคงและลดอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่
เมื่อสอบถามถึงนักการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 ระบุ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รองลงมา คือ ร้อยละ 21.2 ระบุ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 11.9 ระบุ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และร้อยละ 3.1 ระบุอื่นๆ เช่น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทติธรรม พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พบว่า คะแนนนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี เพิ่มสูงขึ้นหลังจากตกลงไปในในช่วงเดือนมกราคมที่ร้อยละ 34.7 กลับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 41.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในขณะที่ความนิยมของประชาชนต่อนายอภิสิทธิ์ อยู่ที่ร้อยละ 15.1 แต่กลุ่มคนที่มีจำนวนมากสุดในการสำรวจครั้งนี้เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่นิยมศรัทธาใครเลยอยู่ที่ร้อยละ 43.1 โดยลดลงจากร้อยละ 51.1 ในการสำรวจช่วงเดือนที่แล้ว.