“ฟอร์ด” ประกาศพร้อมรับการเกิดเออีซี (AEC) หลังโรงงานแห่งใหม่ในไทย ที่มีความยืดหยุ่นต่อการผลิตสูง พร้อมเริ่มเดินเครื่องผลิตปีนี้ รองรับแผนผลิตรถระดับโลก 8 รุ่น ที่จะเปิดตัวภายในปี 2558 ย้ำไทยเป็นศูนย์กลางและยุทธศาสตร์สำคัญ ที่จะลดช่องว่างตัวเลขการขายกับค่ายรถญี่ปุ่น ด้วยจุดเด่นตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า
นายเจมส์ ดี ฟาร์ลีย์ จูเนียร์ รองประธานกลุ่มผู้บริหารฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการ ของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เปิดเผยว่า การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการมาประชุมเกี่ยวกับฟอร์ดในไทยโดยตรง เพื่อรับฟังและร่วมกันกำหนดทิศทางของฟอร์ดในช่วง 2-3 ปีจากนี้ไป หลังจากในช่วงปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ในไทยเป็นอย่างดียิ่ง
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นนัยสำคัญของฟอร์ดในประเทศไทย ซึ่งเราได้ให้คำมั่นเป็น 1 ใน 3 ฐานการผลิตหลักของฟอร์ดในภูมิภาคเอเชีย เพื่อผลักดันให้ฟอร์ดเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะหลังจากเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 และจะทำให้กลายเป็นตลาดรถที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งในโลก จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของฟอร์ดในตลาดอาเซียน”
นายปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ด อาเซียน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาฟอร์ดได้ลงทุนในไทย รวมเป็นมูลค่าสูงกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในไทย โดยเฉพาะโรงงานแห่งใหม่ของฟอร์ด ที่จะเริ่มการผลิตในปีนี้กับรุ่นฟอร์ด โฟกัส โฉมใหม่ และจะเผยโฉมกันในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2012 เดือนเมษายนปีนี้
ทั้งนี้โรงงานใหม่ดังกล่าว นับว่ามีความทันสมัยและยืดหยุ่นในการผลิตอย่างมาก สามารถที่จะผลิตรถได้หลากหลายรุ่นและประเภท จึงสามารถตอบสนองผู้บริโภคได้ครอบคลุม และเหมาะสมกับความต้องของตลาด สอดรับกับที่ฟอร์ดได้ประกาศไปแล้ว จะมีการเปิดตัวรถใหม่ 8 รุ่นระดับโลกในภูมิภาคนี้ โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ โฉมใหม่ เป็นรุ่นแรกที่ได้แนะนำไป ซึ่งเร็วๆ นี้ก็จะเป็นรถยนต์นั่งรุ่นโฟกัสใหม่ตามออกมาสู่ตลาด
“ฟอร์ดจึงมีความพร้อมสำหรับเออีซี แต่ยืนยันเรายังมุ่งมั่นที่จะเจริญเติบโตในไทยเป็นหลัก แม้อนาคตตลาดอินโดนีเซียจะแซงไทย ซึ่งนั่นมาจากจำนวนประชากรของอินโดนีเซียมีมากกว่า 200 ล้านคน แน่นอนฟอร์ดกำลังประเมินความน่าสนใจ และมองโอกาสจากอินโดนีเซียอยู่เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั่นฟอร์ดยังยืนยันคำมั่นสัญญาต่อไทย ในการที่เป็นฐานผลิตหลัก 1 ใน 3 แห่งของเอเชีย และที่สำคัญฐานผลิตในไทยได้เตรียมรองรับการส่งออกไว้แล้ว”
นายฟาร์ลีย์เปิดเผยว่า ไทยไม่เพียงจะเป็นศูนย์กลางสำคัญของฟอร์ดในภูมิภาค แต่ยังจะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของฟอร์ดกับบริษัทรถญี่ปุ่น โดยเฉพาะโตโยต้าที่ตนเคยทำงานมาก่อน แม้ว่าปัจจุบันจะมีช่องห่างของยอดขายแตกต่างกันมาก แต่ภายหลังจากเปิดตัวรถใหม่ครบ 8 รุ่นภายในปี 2558 มั่นใจจะสามารถลดช่องดังกล่าวได้แน่นอน
“สิ่งนี้สามารถเป็นไปได้ เพราะหลายพื้นที่เมื่อเทียบกับรถยนต์ญี่ปุ่น ฟอร์ดสามารถแข่งขันได้ และอาจจะเด่นกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งในไทยคงต้องมองระยะยาว แต่จากเปิดตัวรถรุ่นเฟียสต้าในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าฟอร์ดในไทยมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลก นั่นมาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีทันสมัย จึงทำให้เหนือกว่าคู่แข่ง และเช่นกันปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ ที่เพิ่งเปิดตัวสู่ตลาด รวมถึงอีก 7 โมเดลรถระดับโลก ที่กำลังจะทยอยแนะนำสู่ตลาดออกมา ฟอร์ดจึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถแข่งขันกับค่ายรถญี่ปุ่นอย่างสูสี”
ส่วนปัจจัยที่จะลดช่องว่างระหว่างฟอร์ดกับแบรนด์รถญี่ปุ่น อันดับแรกผู้บริโภคในไทยฉลาดที่จะเลือกและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าตลอดเวลา ทำให้ฟอร์ดมีโอกาสมากในไทย แน่นอนโตโยต้าหรือรถญี่ปุ่นอื่นๆ อาจจะใหญ่กว่าในตลาดนี้ แต่รถยนต์ฟอร์ดมีสิ่งสำคัญ ได้แก่ เรื่องของคุณภาพ, เทคโนโลยีทันสมัย, มาตรฐานความปลอดภัย, ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เห็นได้จากรถรุ่นฟอร์ด เฟียสต้า หรือปิกอัพเรนเจอร์ และที่กำลังจะทยอยเปิดออกมาต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยต่อมาเป็นเรื่องของเครือข่ายและการบริการหลังการขาย นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันฟอร์ดในไทยมีโชว์รูมและศูนย์บริการ 103 แห่ง ภายในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 30 แห่ง ทำให้สิ่งเหล่านี้สามารถตอบรับนโยบายของฟอร์ด ที่มุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการก่อนและหลังการขาย จากนั้นจึงจะมาเป็นเรื่องของแบรนด์ในลำดับต่อมา
นายเจมส์ ดี ฟาร์ลีย์ จูเนียร์ รองประธานกลุ่มผู้บริหารฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการ ของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เปิดเผยว่า การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการมาประชุมเกี่ยวกับฟอร์ดในไทยโดยตรง เพื่อรับฟังและร่วมกันกำหนดทิศทางของฟอร์ดในช่วง 2-3 ปีจากนี้ไป หลังจากในช่วงปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ในไทยเป็นอย่างดียิ่ง
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นนัยสำคัญของฟอร์ดในประเทศไทย ซึ่งเราได้ให้คำมั่นเป็น 1 ใน 3 ฐานการผลิตหลักของฟอร์ดในภูมิภาคเอเชีย เพื่อผลักดันให้ฟอร์ดเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะหลังจากเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 และจะทำให้กลายเป็นตลาดรถที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งในโลก จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของฟอร์ดในตลาดอาเซียน”
นายปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ด อาเซียน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาฟอร์ดได้ลงทุนในไทย รวมเป็นมูลค่าสูงกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในไทย โดยเฉพาะโรงงานแห่งใหม่ของฟอร์ด ที่จะเริ่มการผลิตในปีนี้กับรุ่นฟอร์ด โฟกัส โฉมใหม่ และจะเผยโฉมกันในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2012 เดือนเมษายนปีนี้
ทั้งนี้โรงงานใหม่ดังกล่าว นับว่ามีความทันสมัยและยืดหยุ่นในการผลิตอย่างมาก สามารถที่จะผลิตรถได้หลากหลายรุ่นและประเภท จึงสามารถตอบสนองผู้บริโภคได้ครอบคลุม และเหมาะสมกับความต้องของตลาด สอดรับกับที่ฟอร์ดได้ประกาศไปแล้ว จะมีการเปิดตัวรถใหม่ 8 รุ่นระดับโลกในภูมิภาคนี้ โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ โฉมใหม่ เป็นรุ่นแรกที่ได้แนะนำไป ซึ่งเร็วๆ นี้ก็จะเป็นรถยนต์นั่งรุ่นโฟกัสใหม่ตามออกมาสู่ตลาด
“ฟอร์ดจึงมีความพร้อมสำหรับเออีซี แต่ยืนยันเรายังมุ่งมั่นที่จะเจริญเติบโตในไทยเป็นหลัก แม้อนาคตตลาดอินโดนีเซียจะแซงไทย ซึ่งนั่นมาจากจำนวนประชากรของอินโดนีเซียมีมากกว่า 200 ล้านคน แน่นอนฟอร์ดกำลังประเมินความน่าสนใจ และมองโอกาสจากอินโดนีเซียอยู่เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั่นฟอร์ดยังยืนยันคำมั่นสัญญาต่อไทย ในการที่เป็นฐานผลิตหลัก 1 ใน 3 แห่งของเอเชีย และที่สำคัญฐานผลิตในไทยได้เตรียมรองรับการส่งออกไว้แล้ว”
นายฟาร์ลีย์เปิดเผยว่า ไทยไม่เพียงจะเป็นศูนย์กลางสำคัญของฟอร์ดในภูมิภาค แต่ยังจะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของฟอร์ดกับบริษัทรถญี่ปุ่น โดยเฉพาะโตโยต้าที่ตนเคยทำงานมาก่อน แม้ว่าปัจจุบันจะมีช่องห่างของยอดขายแตกต่างกันมาก แต่ภายหลังจากเปิดตัวรถใหม่ครบ 8 รุ่นภายในปี 2558 มั่นใจจะสามารถลดช่องดังกล่าวได้แน่นอน
“สิ่งนี้สามารถเป็นไปได้ เพราะหลายพื้นที่เมื่อเทียบกับรถยนต์ญี่ปุ่น ฟอร์ดสามารถแข่งขันได้ และอาจจะเด่นกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งในไทยคงต้องมองระยะยาว แต่จากเปิดตัวรถรุ่นเฟียสต้าในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าฟอร์ดในไทยมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลก นั่นมาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีทันสมัย จึงทำให้เหนือกว่าคู่แข่ง และเช่นกันปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ ที่เพิ่งเปิดตัวสู่ตลาด รวมถึงอีก 7 โมเดลรถระดับโลก ที่กำลังจะทยอยแนะนำสู่ตลาดออกมา ฟอร์ดจึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถแข่งขันกับค่ายรถญี่ปุ่นอย่างสูสี”
ส่วนปัจจัยที่จะลดช่องว่างระหว่างฟอร์ดกับแบรนด์รถญี่ปุ่น อันดับแรกผู้บริโภคในไทยฉลาดที่จะเลือกและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าตลอดเวลา ทำให้ฟอร์ดมีโอกาสมากในไทย แน่นอนโตโยต้าหรือรถญี่ปุ่นอื่นๆ อาจจะใหญ่กว่าในตลาดนี้ แต่รถยนต์ฟอร์ดมีสิ่งสำคัญ ได้แก่ เรื่องของคุณภาพ, เทคโนโลยีทันสมัย, มาตรฐานความปลอดภัย, ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เห็นได้จากรถรุ่นฟอร์ด เฟียสต้า หรือปิกอัพเรนเจอร์ และที่กำลังจะทยอยเปิดออกมาต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยต่อมาเป็นเรื่องของเครือข่ายและการบริการหลังการขาย นับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันฟอร์ดในไทยมีโชว์รูมและศูนย์บริการ 103 แห่ง ภายในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 30 แห่ง ทำให้สิ่งเหล่านี้สามารถตอบรับนโยบายของฟอร์ด ที่มุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการก่อนและหลังการขาย จากนั้นจึงจะมาเป็นเรื่องของแบรนด์ในลำดับต่อมา