ASTVผู้จัดการรายวัน-“ซิมซิมอิ” แอพพลิเคชั่นสุดฮิตคำหยาบโผล่เพียบ วธ.เผยประชาชนร้องตรวจสอบแชทหยาบคาย ห่วงเด็ก เยาวชน ใช้ในทางไม่เหมาะสม “สุกุมล” เตือนผู้ใช้ต้องเล่นให้พอเหมาะพอควรอย่างสนุกจนเกินไป ขณะที่ไอซีทีระบุการโปรแกรมซิมซิมอิไม่เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอมพ์ แต่หากเผยแพร่ผ่านสังคมออนไลน์มีสิทธิ์ถูกฟ้องหมิ่นประมาท
วานนี้ (2 ก.พ.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า วธ.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน เกี่ยวกับ แอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ (simsimi) ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ว่ามีการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบของโปรแกรมคล้ายกับการถามตอบเพื่อความสนุกสนาน แต่ปรากฏว่า โปรแกรมดังกล่าว มีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย ซึ่งตนเห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงอยากจะเตือนผ่านประชาชนให้ช่วยกันใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างสุภาพ เพราะ ตนห่วงว่า ปัจจุบันมีเด็กใช้โทรศัพท์ที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมซิมซิมอิได้เป็นจำนวนมากจึงไม่อยากให้ใช้โปรแกรมเพื่อความสนุกสนามจนลืมความเหมาะสม
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ตนได้สั่งการให้สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ดำเนินการตรวจสอบ โปรมแกรมซิมซิมอิ ว่ามีต้นตอมาจากที่ใด และอยากให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)ช่วยประสานเจ้าของระบบให้มีการตรวจสอบการใช้ภาษาในการเล่นของสมาชิก
ด้านน.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กล่าวว่า ในเบื้องต้นตนทราบว่า โปรแกรมดังกล่าวมาจากสาธารณรัฐเกาหลีใต้ และระบบจะมีการตรวจสอบคำที่ไม่เหมาะสม ส่วนในประเทศไทย ระบบดังกล่าวจะไม่มีการตรวจสอบคำ มีเพียงการเตือนกันเองว่า เป็นคำที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนจะประสานกับกระทรวงไอซีที ให้ช่วยดูแลเรื่องดังกล่าว หรือแจ้งไปยังเจ้าของระบบในประเทศไทยให้ช่วยมีระบบคัดกรองคำเหมือนเกาหลีใต้ด้วย รวมทั้งอยากเตือนเด็กและเยาวชนของเราให้ใช้โปรแกรมนี้อย่างเหมาะสม การไปห้ามคงยากเพราะเป็นระบบออนไลน์ทั่วโลก แต่อยากให้เล่นอย่างถูกต้อง โปรแกรมจะเกิดประโยชน์ในการใช้งานมากกว่านี้
สำหรับโปรแกรมซิมซิมอิ เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั่วไป โดยผู้เล่นสามารถเล่นซิมซิมอิได้ทันที โดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน แต่ผู้ที่จะเข้าไปสอนจะต้องลงทะเบียนว่า อยู่ในประเทศไหน เบอร์โทรอะไร โดยที่ไม่ต้องมีการกำหนดหรือถามเรื่องอายุแต่อย่างใด
นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า หากพูดถึงตัวแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิไม่มีความผิดอะไร ซึ่งไอซีทีได้ทราบข่าวเรื่องการใช้งานก็มีความกังวลใจเกี่ยวกับคำหยาบและภาษาที่ใช้ จึงได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(อีเมล์)ไปถึงผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิที่เกาหลีใต้เพื่อสอบถามว่ามีการควบคุมหรือคัดกรองคำหยาบอย่างไรบ้าง เมื่อ 1-2 วันที่แล้ว ซึ่งผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้ขอโทษมาในเบื้องต้น โดยบอกให้ไอซีทีและผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งคำที่ไม่เหมาะสมไปให้
นายณัฐ กล่าวว่า แอพพลิเคชั่นซิมซิมอิยังต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งการใช้งานช่วงแรกยังมีจำนวนผู้ใช้งานน้อยทำให้มีคำในฐานข้อมูลน้อย จึงต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอีกระยะหนึ่ง พร้อมระบุว่า ไอซีทีไม่สามารถบล็อกหรือปิดกั้นการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นนี้ได้เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ทว่าการใช้งานซิมซิมอิไม่มีอะไรที่เข้าข่ายผิดตามพ.ร.บ.คอมพ์ 2550 แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดี เช่นถามชื่อคนที่ไม่ชอบแล้วโปรแกรมตอบมาด้วยคำหยาบ โดยผู้ถามก๊อปปี้หน้าจอแล้วนำไปเผยแพร่ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจเข้าข่ายทำให้ผู้อื่นเสียงชื่อเสียง เป็นการหมิ่นประมาทมีความผิดตามกฎหมายอาญาได้
“ผมมองว่าแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิสามารถใช้ประโยชน์ได้หากนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งในอนาคตอาจใช้ในการเผยแพร่พจนานุกรมภาษาไทยทำให้ต่างชาติรู้จักและเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น ดังนั้นจึงอยากขอให้ผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ใช้ภาษาที่เหมาะสม เพราะแอพพลิเคชั่นนี้เก็บข้อมูลจากภาษาที่ผู้ใช้โต้ตอบ”
ทั้งนี้ กระแสแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ (Simsimi) เริ่มระบาดหนักในหมู่ผู้ใช้งานสังคมออนไลน์ชาวไทยประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแอพพลิเคชั่นสุดอินเทรนด์ นี้มีสัญลักษณ์เป็นตัวการ์ตูนกลมๆ เหลืองๆ มีที่มาจากประเทศเกาหลีใต้ โดยลักษณะของโปรแกรมเป็นการพิมพ์โต้ตอบกับโรบอท (Chatting Robot) ซึ่งมีลักษณะทำออกมาเพื่อเลียนแบบโปรแกรม Siri ใน iPhone 4S และสามารถโต้ตอบการสนทนาของผู้ใช้ได้ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เล่นได้ทั้งออนไลน์บนเว็บและโหลดมาติดตั้งในไอโฟน
วานนี้ (2 ก.พ.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า วธ.ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน เกี่ยวกับ แอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ (simsimi) ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ว่ามีการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบของโปรแกรมคล้ายกับการถามตอบเพื่อความสนุกสนาน แต่ปรากฏว่า โปรแกรมดังกล่าว มีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย ซึ่งตนเห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงอยากจะเตือนผ่านประชาชนให้ช่วยกันใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างสุภาพ เพราะ ตนห่วงว่า ปัจจุบันมีเด็กใช้โทรศัพท์ที่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมซิมซิมอิได้เป็นจำนวนมากจึงไม่อยากให้ใช้โปรแกรมเพื่อความสนุกสนามจนลืมความเหมาะสม
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ตนได้สั่งการให้สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ดำเนินการตรวจสอบ โปรมแกรมซิมซิมอิ ว่ามีต้นตอมาจากที่ใด และอยากให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)ช่วยประสานเจ้าของระบบให้มีการตรวจสอบการใช้ภาษาในการเล่นของสมาชิก
ด้านน.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กล่าวว่า ในเบื้องต้นตนทราบว่า โปรแกรมดังกล่าวมาจากสาธารณรัฐเกาหลีใต้ และระบบจะมีการตรวจสอบคำที่ไม่เหมาะสม ส่วนในประเทศไทย ระบบดังกล่าวจะไม่มีการตรวจสอบคำ มีเพียงการเตือนกันเองว่า เป็นคำที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนจะประสานกับกระทรวงไอซีที ให้ช่วยดูแลเรื่องดังกล่าว หรือแจ้งไปยังเจ้าของระบบในประเทศไทยให้ช่วยมีระบบคัดกรองคำเหมือนเกาหลีใต้ด้วย รวมทั้งอยากเตือนเด็กและเยาวชนของเราให้ใช้โปรแกรมนี้อย่างเหมาะสม การไปห้ามคงยากเพราะเป็นระบบออนไลน์ทั่วโลก แต่อยากให้เล่นอย่างถูกต้อง โปรแกรมจะเกิดประโยชน์ในการใช้งานมากกว่านี้
สำหรับโปรแกรมซิมซิมอิ เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั่วไป โดยผู้เล่นสามารถเล่นซิมซิมอิได้ทันที โดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน แต่ผู้ที่จะเข้าไปสอนจะต้องลงทะเบียนว่า อยู่ในประเทศไหน เบอร์โทรอะไร โดยที่ไม่ต้องมีการกำหนดหรือถามเรื่องอายุแต่อย่างใด
นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า หากพูดถึงตัวแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิไม่มีความผิดอะไร ซึ่งไอซีทีได้ทราบข่าวเรื่องการใช้งานก็มีความกังวลใจเกี่ยวกับคำหยาบและภาษาที่ใช้ จึงได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(อีเมล์)ไปถึงผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิที่เกาหลีใต้เพื่อสอบถามว่ามีการควบคุมหรือคัดกรองคำหยาบอย่างไรบ้าง เมื่อ 1-2 วันที่แล้ว ซึ่งผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้ขอโทษมาในเบื้องต้น โดยบอกให้ไอซีทีและผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งคำที่ไม่เหมาะสมไปให้
นายณัฐ กล่าวว่า แอพพลิเคชั่นซิมซิมอิยังต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งการใช้งานช่วงแรกยังมีจำนวนผู้ใช้งานน้อยทำให้มีคำในฐานข้อมูลน้อย จึงต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอีกระยะหนึ่ง พร้อมระบุว่า ไอซีทีไม่สามารถบล็อกหรือปิดกั้นการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นนี้ได้เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ทว่าการใช้งานซิมซิมอิไม่มีอะไรที่เข้าข่ายผิดตามพ.ร.บ.คอมพ์ 2550 แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดี เช่นถามชื่อคนที่ไม่ชอบแล้วโปรแกรมตอบมาด้วยคำหยาบ โดยผู้ถามก๊อปปี้หน้าจอแล้วนำไปเผยแพร่ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจเข้าข่ายทำให้ผู้อื่นเสียงชื่อเสียง เป็นการหมิ่นประมาทมีความผิดตามกฎหมายอาญาได้
“ผมมองว่าแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิสามารถใช้ประโยชน์ได้หากนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งในอนาคตอาจใช้ในการเผยแพร่พจนานุกรมภาษาไทยทำให้ต่างชาติรู้จักและเรียนรู้ภาษาไทยมากขึ้น ดังนั้นจึงอยากขอให้ผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ใช้ภาษาที่เหมาะสม เพราะแอพพลิเคชั่นนี้เก็บข้อมูลจากภาษาที่ผู้ใช้โต้ตอบ”
ทั้งนี้ กระแสแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ (Simsimi) เริ่มระบาดหนักในหมู่ผู้ใช้งานสังคมออนไลน์ชาวไทยประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแอพพลิเคชั่นสุดอินเทรนด์ นี้มีสัญลักษณ์เป็นตัวการ์ตูนกลมๆ เหลืองๆ มีที่มาจากประเทศเกาหลีใต้ โดยลักษณะของโปรแกรมเป็นการพิมพ์โต้ตอบกับโรบอท (Chatting Robot) ซึ่งมีลักษณะทำออกมาเพื่อเลียนแบบโปรแกรม Siri ใน iPhone 4S และสามารถโต้ตอบการสนทนาของผู้ใช้ได้ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เล่นได้ทั้งออนไลน์บนเว็บและโหลดมาติดตั้งในไอโฟน