ASTVผู้จัดการรายวัน - กทม.จัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ จัดการน้ำท่วม แจงแผนใช้งบ 1,900 ล้าน ป้องน้ำท่วมระยะเร่งด่วน เร่งสร้างสวนสาธารณะที่บางบอน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ครบ 5,000 ไร่ ขออนุมัติงบ-กรอบเวลาจ่ายเยียวยาน้ำท่วมเพิ่ม ด้าน"ยงยุทธ"เสนอตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้เงินอย่างเคร่งครัด
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้เป็นประธานจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำในช่วงปีสุดท้ายของการทำงานนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการป้องกันน้ำท่วมของ กทม.ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก โดยจะมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในฤดูฝน คือ เร่งขุดลอกคูคลอง และสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการระบายน้ำให้พร้อมใช้
นอกจากนี้ กทม.ยังได้จัดส่งรายละเอียดแผนงานและโครงการตามแผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนจำนวน 114 รายการ ให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้งบอุดหนุนจากรัฐบาล 1,964 ล้านบาท ทั้งนี้ แผนงานภายใต้งบประมาณดังกล่าว ประกอบด้วย 1.งานซ่อมแซมแนวป้องกันและเสริมคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ และคันกั้นน้ำพระราชดำริฝั่งตะวันออก 931 ล้านบาท 2.งานเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำกว่า 1 ล้านบาท ได้แก่ งานขุดลอกคูคลอง 29 คลอง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำ และปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำ 3.งานสร้างระบบเตือนภัยหรือเครื่องวัดอัตราการไหลของน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จำนวน 15 คลอง 22.5 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นอีก
**“สุขุมพันธุ์”เร่งลอกคลองภายในพ.ค.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารกทม.ว่า สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ได้เสนอแผนในการขุดลอกคูคลอง ลอกท่อ เพื่อเปิดทางน้ำไหล เพื่อป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ ซึ่งทาง สนน.และสำนักงานเขตได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ย. ที่ผ่านมาและมีกำหนดเสร็จสิ้นประมาณเดือน ส.ค. - ก.ย. แต่คาดว่าฤดูฝนปีนี่จะมาเร็วกว่าปกติ เนื่องจากเดือนม.ค.ปีนี้มีปริมาณน้ำฝนแล้วกว่า 90 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าปกติที่ประมาณ 20 มิลลิเมตร ในที่ประชุมจึงมีมติให้เร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในคลองหลักๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค. นี้ ทั้งนี้กองทัพบกจะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของกทม. ในการขุดลอกคูคลองจำนวน 29 คลองด้วยงบประมาณจำนวน 67.5 ล้านบาท รวมถึงงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรเพิ่มเติมอีก 770 ล้านบาทในการขุดลอกคูคลองใน 26 เขต จำนวน 347 คลองด้วย โดยได้สั่งการให้ สนน. ไปทบทวนแผนในการขุดลอกคูคลองให้ชัดเจน โดยจะต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันกับที่กองทัพบกจะเข้ามาดำเนินการ
*** "มาร์ค"เผย"ทูตยุโรป"ห่วงน้ำท่วมไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการหารือกับ Mr.David Lipman เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ที่เดินทางมาเข้าพบว่า ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมและแผนฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเอกอัครราชทูตเป็นห่วงปัญหาการประกันภัยที่ไม่สามารถซื้อประกันภัยน้ำท่วมในราคาที่สมเหตุสมผลได้ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เพราะอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจ
***กทม.คาด ครม.เร่งจ่ายเงินช่วยน้ำท่วม
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามมติคณะรัฐมนตรี ครัวเรือนละ 5,000 บาท โดยเฉพาะใน 30 เขต ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน เฉพาะหน้ากลุ่มแรกของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางพลัด พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สาทร สายไหม สัมพันธวงศ์ หนองจอก หนองแขม และเขตหลักสี่ ว่า สำนักงานเขตจะเปิดให้ประชาชนมายื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มกราคมนี้
ส่วนประชาชนในสำนักงานเขตอีก 12 เขต ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติม ได้แก่ เขตดินแดง บางกอกใหญ่ บางบอน บึงกุ่ม ห้วยขวาง บางขุนเทียน ประเวศ บางกะปิ สะพานสูง จอมทอง พญาไท และเขตสวนหลวง กทม.ได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว เพื่อรอมติ ครม.ให้สามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนเหมือนกับ 30 เขตแรก คาดว่า ครม.จะพิจารณาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
พญ.มาลินีกล่าวว่า ขณะที่การขอความช่วยเหลือในเรื่องบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ค่าเช่าบ้านกรณีของผู้เช่า ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต เป็นการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ขณะนี้สำนักงานเขตทั้ง 42 เขตข้างต้นได้เปิดให้ยื่นคำขอและเอกสารแล้ว จึงขอให้ประชาชนรีบไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 29 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อสำนักงานเขตจะได้ดำเนินการด้านเอกสารนำส่งกรม ปภ.ให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 10 มีนาคมนี้ และดำเนินการเบิกจ่ายความช่วยเหลือดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
***เข้มเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือ
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) เพื่อหารือในกรอบการอนุมัติวงเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับประชาชน ก่อนนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (31 ม.ค.) โดยมีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยตัวแทนจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในที่ประชุม นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ขอความเห็นชอบที่ประชุมในการอนุมัติเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากปัญหาอุทกภัยในจังหวัดที่ได้รับประสบอุทกภัยในภาคใต้ จังหวัดที่ประสบปัญหาวาตภัยและดินโคลนถล่ม และจังหวัดที่ขอรับการอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุม กฟย.เห็นชอบในการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ในกรอบระยะเวลา 30 วัน แต่เห็นร่วมกันว่าให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไปกำหนดหลักเกณฑ์กรณีวาตภัย หรือลมกรรโชกแรงว่าอยู่ในระดับใดจึงสามารถอนุมัติเงินช่วยเหลือได้ พร้อมทั้งได้อนุมัติให้นำเงินจาก 9 จังหวัดที่ไม่เข้าเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ จากเกณฑ์เดิมที่จ่ายเงินช่วยเหลือทั้งหมด 62 จังหวัด เหลือ 53 จังหวัด และนำเงินส่วนดังกล่าวไปช่วยเหลือจังหวัดที่ขอเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ และจังหวัดที่ประสบกับวาตภัยและดินถล่มแทน
นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้เป็นประธานจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำในช่วงปีสุดท้ายของการทำงานนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการป้องกันน้ำท่วมของ กทม.ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก โดยจะมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับในฤดูฝน คือ เร่งขุดลอกคูคลอง และสำรวจอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการระบายน้ำให้พร้อมใช้
นอกจากนี้ กทม.ยังได้จัดส่งรายละเอียดแผนงานและโครงการตามแผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนจำนวน 114 รายการ ให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้งบอุดหนุนจากรัฐบาล 1,964 ล้านบาท ทั้งนี้ แผนงานภายใต้งบประมาณดังกล่าว ประกอบด้วย 1.งานซ่อมแซมแนวป้องกันและเสริมคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ และคันกั้นน้ำพระราชดำริฝั่งตะวันออก 931 ล้านบาท 2.งานเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำกว่า 1 ล้านบาท ได้แก่ งานขุดลอกคูคลอง 29 คลอง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำ และปรับปรุงประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำ 3.งานสร้างระบบเตือนภัยหรือเครื่องวัดอัตราการไหลของน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จำนวน 15 คลอง 22.5 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นอีก
**“สุขุมพันธุ์”เร่งลอกคลองภายในพ.ค.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมผู้บริหารกทม.ว่า สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ได้เสนอแผนในการขุดลอกคูคลอง ลอกท่อ เพื่อเปิดทางน้ำไหล เพื่อป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ ซึ่งทาง สนน.และสำนักงานเขตได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ย. ที่ผ่านมาและมีกำหนดเสร็จสิ้นประมาณเดือน ส.ค. - ก.ย. แต่คาดว่าฤดูฝนปีนี่จะมาเร็วกว่าปกติ เนื่องจากเดือนม.ค.ปีนี้มีปริมาณน้ำฝนแล้วกว่า 90 มิลลิเมตร ซึ่งสูงกว่าปกติที่ประมาณ 20 มิลลิเมตร ในที่ประชุมจึงมีมติให้เร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในคลองหลักๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค. นี้ ทั้งนี้กองทัพบกจะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของกทม. ในการขุดลอกคูคลองจำนวน 29 คลองด้วยงบประมาณจำนวน 67.5 ล้านบาท รวมถึงงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรเพิ่มเติมอีก 770 ล้านบาทในการขุดลอกคูคลองใน 26 เขต จำนวน 347 คลองด้วย โดยได้สั่งการให้ สนน. ไปทบทวนแผนในการขุดลอกคูคลองให้ชัดเจน โดยจะต้องไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันกับที่กองทัพบกจะเข้ามาดำเนินการ
*** "มาร์ค"เผย"ทูตยุโรป"ห่วงน้ำท่วมไทย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงการหารือกับ Mr.David Lipman เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ที่เดินทางมาเข้าพบว่า ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมและแผนฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเอกอัครราชทูตเป็นห่วงปัญหาการประกันภัยที่ไม่สามารถซื้อประกันภัยน้ำท่วมในราคาที่สมเหตุสมผลได้ ซึ่งรัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เพราะอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจ
***กทม.คาด ครม.เร่งจ่ายเงินช่วยน้ำท่วม
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามมติคณะรัฐมนตรี ครัวเรือนละ 5,000 บาท โดยเฉพาะใน 30 เขต ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน เฉพาะหน้ากลุ่มแรกของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางพลัด พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สาทร สายไหม สัมพันธวงศ์ หนองจอก หนองแขม และเขตหลักสี่ ว่า สำนักงานเขตจะเปิดให้ประชาชนมายื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มกราคมนี้
ส่วนประชาชนในสำนักงานเขตอีก 12 เขต ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพิ่มเติม ได้แก่ เขตดินแดง บางกอกใหญ่ บางบอน บึงกุ่ม ห้วยขวาง บางขุนเทียน ประเวศ บางกะปิ สะพานสูง จอมทอง พญาไท และเขตสวนหลวง กทม.ได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว เพื่อรอมติ ครม.ให้สามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนเหมือนกับ 30 เขตแรก คาดว่า ครม.จะพิจารณาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
พญ.มาลินีกล่าวว่า ขณะที่การขอความช่วยเหลือในเรื่องบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ค่าเช่าบ้านกรณีของผู้เช่า ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต เป็นการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ขณะนี้สำนักงานเขตทั้ง 42 เขตข้างต้นได้เปิดให้ยื่นคำขอและเอกสารแล้ว จึงขอให้ประชาชนรีบไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 29 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อสำนักงานเขตจะได้ดำเนินการด้านเอกสารนำส่งกรม ปภ.ให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 10 มีนาคมนี้ และดำเนินการเบิกจ่ายความช่วยเหลือดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
***เข้มเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือ
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) เพื่อหารือในกรอบการอนุมัติวงเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับประชาชน ก่อนนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (31 ม.ค.) โดยมีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยตัวแทนจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในที่ประชุม นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ขอความเห็นชอบที่ประชุมในการอนุมัติเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากปัญหาอุทกภัยในจังหวัดที่ได้รับประสบอุทกภัยในภาคใต้ จังหวัดที่ประสบปัญหาวาตภัยและดินโคลนถล่ม และจังหวัดที่ขอรับการอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุม กฟย.เห็นชอบในการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ในกรอบระยะเวลา 30 วัน แต่เห็นร่วมกันว่าให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไปกำหนดหลักเกณฑ์กรณีวาตภัย หรือลมกรรโชกแรงว่าอยู่ในระดับใดจึงสามารถอนุมัติเงินช่วยเหลือได้ พร้อมทั้งได้อนุมัติให้นำเงินจาก 9 จังหวัดที่ไม่เข้าเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือ จากเกณฑ์เดิมที่จ่ายเงินช่วยเหลือทั้งหมด 62 จังหวัด เหลือ 53 จังหวัด และนำเงินส่วนดังกล่าวไปช่วยเหลือจังหวัดที่ขอเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ และจังหวัดที่ประสบกับวาตภัยและดินถล่มแทน