วานนี้(18 ม.ค.)นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง การจับจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 694 ตัวอย่าง ว่ากลุ่มตัวอย่างต่างระบุว่าของเซ่นไหว้ส่วนใหญ่นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมู เป็ด ไก่ ไข่ ผลไม้ ผัก รวมถึงกระดาษ โดยเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับของเซ่นไหว้เฉลี่ยอยู่ที่ 4,641 บาท และสูงสุด 80,000 บาท ซึ่งตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.1 ระบุเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 40.6 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 10.3 ระบุลดลง ส่วนสถานที่จับจ่ายใช้สอยในปีนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ยังคงเป็นตลาดสด และร้อยละ 18.1 ไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้า เฉพาะกลุ่มที่ซื้อในห้างฯ นี้ พบว่าจะใช้เงินสดมากกว่าบัตรเครดิต (ร้อยละ 85.7 และ 14.3 ตามลำดับ)
สำหรับการจ่ายแต๊ะเอีย พบว่าตัวอย่างร้อยละ 67.7 ระบุว่าตัวเองเป็นคนจ่าย ขณะที่ร้อยละ 32.3 ไม่ต้องจ่าย โดยจำนวนเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 4,282 บาท และสูงสุด 50,000 บาท ซึ่งตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.9 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 16.3 ระบุลดลง เมื่อถามถึงเหตุผลของการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปีนี้เป็นปีมังกรทองเป็นปีที่จะเจริญร่ำรวย เชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่าการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้นจะทำให้ตนได้เองได้กลับมาเป็นร้อยเท่าพันเท่า
เมื่อสอบถามถึงแผนการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ไม่มีแผนท่องเที่ยว ขณะที่ ร้อยละ 31.5 ระบุมีแผน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ เช่น จังหวัดชลบุรี (พัทยา/บางแสน) กรุงเทพมหานคร ระยอง เชียงใหม่ เลย เป็นต้น โดยมีร้อยละ 12.4 ตั้งใจจะไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
อย่างไรก็ดี พบว่าตัวอย่างร้อยละ 74.9 มีแผนจะไปทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุไม่มีแผน เฉพาะกลุ่มที่มีแผน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 ตั้งใจจะไปวัดในกรุงเทพ เช่น วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ศาลเจ้าพ่อเสือ เจ้าพ่อเห้งเจีย ศาลเจ้าพ่อกวนอู เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 1.5 ที่ตั้งใจจะไปวัดที่ต่างจังหวัด เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) วัดพระพุทธบาท (สระบุรี) วัดหลวงปู่โต (นครราชสีมา) เป็นต้น
ทั้งนี้ พบว่าค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,796 บาท และสูงสุด 300,000 บาท ซึ่งตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.1 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ระบุลดลง
นอกจากนี้เมื่อทำการประมาณการทางสถิติ พบว่า จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ 23,994,967,254 บาท โดยพบว่า จะมีวงเงินสะพัดจากค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อของเซ่นไหว้ 11,140,906,140 บาท ค่าใช้จ่ายสำหรับเงินแต๊ะเอีย 6,958,959,014 บาท และค่าใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ 5,895,102,100 บาท ตามลำดับ
สำหรับการจ่ายแต๊ะเอีย พบว่าตัวอย่างร้อยละ 67.7 ระบุว่าตัวเองเป็นคนจ่าย ขณะที่ร้อยละ 32.3 ไม่ต้องจ่าย โดยจำนวนเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 4,282 บาท และสูงสุด 50,000 บาท ซึ่งตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.9 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 16.3 ระบุลดลง เมื่อถามถึงเหตุผลของการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปีนี้เป็นปีมังกรทองเป็นปีที่จะเจริญร่ำรวย เชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่าการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้นจะทำให้ตนได้เองได้กลับมาเป็นร้อยเท่าพันเท่า
เมื่อสอบถามถึงแผนการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ไม่มีแผนท่องเที่ยว ขณะที่ ร้อยละ 31.5 ระบุมีแผน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ เช่น จังหวัดชลบุรี (พัทยา/บางแสน) กรุงเทพมหานคร ระยอง เชียงใหม่ เลย เป็นต้น โดยมีร้อยละ 12.4 ตั้งใจจะไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
อย่างไรก็ดี พบว่าตัวอย่างร้อยละ 74.9 มีแผนจะไปทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุไม่มีแผน เฉพาะกลุ่มที่มีแผน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 ตั้งใจจะไปวัดในกรุงเทพ เช่น วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ศาลเจ้าพ่อเสือ เจ้าพ่อเห้งเจีย ศาลเจ้าพ่อกวนอู เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 1.5 ที่ตั้งใจจะไปวัดที่ต่างจังหวัด เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) วัดพระพุทธบาท (สระบุรี) วัดหลวงปู่โต (นครราชสีมา) เป็นต้น
ทั้งนี้ พบว่าค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,796 บาท และสูงสุด 300,000 บาท ซึ่งตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.1 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ระบุลดลง
นอกจากนี้เมื่อทำการประมาณการทางสถิติ พบว่า จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ 23,994,967,254 บาท โดยพบว่า จะมีวงเงินสะพัดจากค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อของเซ่นไหว้ 11,140,906,140 บาท ค่าใช้จ่ายสำหรับเงินแต๊ะเอีย 6,958,959,014 บาท และค่าใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ 5,895,102,100 บาท ตามลำดับ