ASTV ผู้จัดการรายวัน-ไอซีทีพลิกโครงสร้างการจัดซื้อไอทีภาครัฐทั้งประเทศ นำร่องระบบคลาวด์ภาครัฐ มอบให้ สรอ.รับผิดชอบ ควักงบ 50 ล้านบาทประเดิมโครงการ คาดจะลดค่าใช้จ่ายภาครัฐได้ 30% ขอเวลาทดสอบ 3เดือนก่อนเปิดให้บริการจริง เม.ย.55 คาดรองรับหน่วยงานภาครัฐได้ 100 หน่วยงาน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า จากการสำรวจค่าใช้จ่ายภาครัฐในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์พบว่า มีสัดส่วนถึง 81% จากมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีของภาครัฐทั้งหมด หรือมูลค่าค่าใช้จ่ายเกือบ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมาทำให้ภาครัฐมักได้ใช้เทคโนโลยีเก่าในราคาที่แพง ขณะที่ความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้ภาครัฐนำระบบไอทีมาให้บริการมีสูงขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นทางกระทรวงไอซีทีจึงมีความคิดที่จะนำเทคโนโลยีระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐแทนที่รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเดิมๆ ภายใต้ชื่อโครงการนำร่องบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service) ซึ่งเป็นนโยบายที่จะช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐนำไอซีทีมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที
เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถให้บริการอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-เซอร์วิสแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นที่ต้องมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ทางกระทรวงฯ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ซึ่งคงจะมีแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้น และระยะยาวออกมา คาดว่าจะช่วยประหยัดงบลงทุนด้านไอซีทีของประเทศได้ถึง 30%
ทางด้าน ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)หรือ สรอ. กล่าวว่า ในการดำเนินงานเรื่องคลาวด์ฯ นั้นเบื้องต้นได้จัดทำระบบทดสอบร่วมกับหน่วยงานนำร่องจำนวน 10 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงสาธารณะสุข กรมธนารักษ์ เป็นต้น เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำคลาวด์มาใช้งานจริงในการให้บริการประชาชน
โครงการดังกล่าวเบื้องต้นคาดว่า จะใช้งบในการดำเนินงานประมาณ 50 ล้านบาทของปีงบประมาณ 2555 โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดสอบก่อน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยแต่ละหน่วยงานจะได้รับจัดสรรเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่บนระบบคลาวด์ของ สรอ. เมื่อทดสอบเสร็จจะนำผลที่ได้มาศึกษาถึงความต้องการและผลกระทบเพื่อเป็นแนวทางในการเปิดให้บริการจริงในช่วงเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ และจะเปิดเผยผลการศึกษาได้ในช่วงกลางปีนี้ต่อไป
จากผลการสำรวจตลาดไอทีในประเทศไทย พบว่า ปี 2554 มีการขยายตัวสูงถึง 15.6% คิดเป็นมูลค่าตลาด 293,237 ล้านบาท ภาครัฐมีการจ่ายด้านไอทีประมาณ 20.8% หรือ 59,818 ล้านบาท ในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567 ล้านบาท หรือ 38.5% เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ จัดหาครุภัณฑ์ เครื่องแม่ข่ายและระบบ เป็นต้น
ขณะที่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐจากการดำเนินโครงการนี้ คือ สามารถมีบริการทางด้านเทคโนโลยีได้ทันที จากเดิมที่ต้องรอบริการอย่างน้อย 6 เดือน จะเหลือเพียงการใช้บริการภาครัฐเสร็จใน 1 วัน โดยการทำงานจะทำบนเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) โดยเดือนเมษายนปีนี้ที่เปิดให้บริการจะสามารถรองรับหน่วยงานภาครัฐเข้าใช้งานได้ 100 หน่วยงาน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า จากการสำรวจค่าใช้จ่ายภาครัฐในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์พบว่า มีสัดส่วนถึง 81% จากมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีของภาครัฐทั้งหมด หรือมูลค่าค่าใช้จ่ายเกือบ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านมาทำให้ภาครัฐมักได้ใช้เทคโนโลยีเก่าในราคาที่แพง ขณะที่ความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้ภาครัฐนำระบบไอทีมาให้บริการมีสูงขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นทางกระทรวงไอซีทีจึงมีความคิดที่จะนำเทคโนโลยีระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐแทนที่รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเดิมๆ ภายใต้ชื่อโครงการนำร่องบริการระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service) ซึ่งเป็นนโยบายที่จะช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐนำไอซีทีมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที
เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถให้บริการอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-เซอร์วิสแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นที่ต้องมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ทางกระทรวงฯ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ซึ่งคงจะมีแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้น และระยะยาวออกมา คาดว่าจะช่วยประหยัดงบลงทุนด้านไอซีทีของประเทศได้ถึง 30%
ทางด้าน ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)หรือ สรอ. กล่าวว่า ในการดำเนินงานเรื่องคลาวด์ฯ นั้นเบื้องต้นได้จัดทำระบบทดสอบร่วมกับหน่วยงานนำร่องจำนวน 10 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงสาธารณะสุข กรมธนารักษ์ เป็นต้น เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำคลาวด์มาใช้งานจริงในการให้บริการประชาชน
โครงการดังกล่าวเบื้องต้นคาดว่า จะใช้งบในการดำเนินงานประมาณ 50 ล้านบาทของปีงบประมาณ 2555 โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดสอบก่อน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยแต่ละหน่วยงานจะได้รับจัดสรรเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่บนระบบคลาวด์ของ สรอ. เมื่อทดสอบเสร็จจะนำผลที่ได้มาศึกษาถึงความต้องการและผลกระทบเพื่อเป็นแนวทางในการเปิดให้บริการจริงในช่วงเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ และจะเปิดเผยผลการศึกษาได้ในช่วงกลางปีนี้ต่อไป
จากผลการสำรวจตลาดไอทีในประเทศไทย พบว่า ปี 2554 มีการขยายตัวสูงถึง 15.6% คิดเป็นมูลค่าตลาด 293,237 ล้านบาท ภาครัฐมีการจ่ายด้านไอทีประมาณ 20.8% หรือ 59,818 ล้านบาท ในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567 ล้านบาท หรือ 38.5% เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ จัดหาครุภัณฑ์ เครื่องแม่ข่ายและระบบ เป็นต้น
ขณะที่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐจากการดำเนินโครงการนี้ คือ สามารถมีบริการทางด้านเทคโนโลยีได้ทันที จากเดิมที่ต้องรอบริการอย่างน้อย 6 เดือน จะเหลือเพียงการใช้บริการภาครัฐเสร็จใน 1 วัน โดยการทำงานจะทำบนเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) โดยเดือนเมษายนปีนี้ที่เปิดให้บริการจะสามารถรองรับหน่วยงานภาครัฐเข้าใช้งานได้ 100 หน่วยงาน