นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงความพร้อมการประกาศราคาที่ดินรอบบัญชีใหม่ปี 2555-2558 ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการประเมินราคา และจัดทำบัญชีราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพร้อมจะประกาศใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555 แน่นอน ซึ่งการประเมินราคาที่ดินจะยึดหลักการวิเคราะห์จากหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายที่ดินในตลาด รวมทั้งนำปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการประเมินราคาที่ดิน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ การใช้ประโยชน์ ทำเลที่ตั้ง การคมนาคม สาธารณูปโภค และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ การผังเมือง การควบคุมอาคาร เพื่อให้ได้ราคาประเมินที่ดินที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เป็นธรรม เชื่อถือได้ โดยสามารถนำไปใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เกิดจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ อีกทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปค้ำประกัน การลงทุน ธุรกรรมต่างๆ และเพื่อการเวนคืนที่ดิน รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายด้านภาษี และการกระจายถือครองทรัพย์สิน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกด้วย
ทั้งนี้ จากการดำเนินการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศประมาณ 29.3 ล้านแปลง หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็น ที่ดินรายแปลงประมาณ 6 ล้านแปลง และที่ดินรายบล็อกประมาณ 23.3 ล้านแปลง พบว่าราคาที่ดินทั่วประเทศเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 21.34 โดยที่ดินในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 21.40 ส่วนกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.13 บริเวณที่มีราคาประเมินที่ดินสูงสุดของประเทศอยู่ที่กรุงเทพฯ ยังคงเป็นถนนสีลม ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตารางวาละ 850,000 บาท รองลงมาเป็นถนนราชดำริ จากแยกราชประสงค์ไปถึงคลองแสนแสบ และที่ถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และที่ถนนเพลินจิตตลอดสาย ตารางวาละ 800,000 บาท
สำหรับราคาประเมินที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดกลายเป็นพื้นที่เขตอื่น ได้แก่ พื้นที่เขตวัฒนา คลองเตย พระโขนง และบางนา ปรับตัวสูงขึ้นถึงโดยเฉลี่ยร้อยละ 39.20 โดยได้รับอิทธิพลจากการขยายส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รองลงมาเป็นเขตบางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 33.06 และเขตบางขุนเทียน จอมทอง บางบอน เฉลี่ยร้อยละ 29 ตามลำดับ
ส่วนพื้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นแต่หลังจากที่มีการลงพื้นที่สำรวจจริง ผลที่ได้มีอัตราเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่ เขตจตุจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ลาดพร้าว ร้อยละ 0.7 และประเวศ ร้อยละ 1.5 เท่านั้น เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวกรมธนารักษ์ได้มีการปรับราคาประเมินไปแล้วในระหว่างรอบบัญชีราคาประเมินใกล้เคียงกับราคาตลาดอยู่แล้ว
สำหรับส่วนภูมิภาคมีพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอย่างน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ คือ จังหวัดนราธิวาส ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 141.09 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ค่อนข้างดียางพารามีราคาสูงส่งผลให้มีกำลังซื้อ ประกอบกับราคาประเมินไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 2 รอบบัญชีที่ผ่านมา รองลงมาเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยละ 81.27 และตราด ร้อยละ 74.42
ทั้งนี้ ในต่างจังหวัดที่มีราคาที่ดินสูงสุดกลับอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตารางวาละ 400,000 บาท ยังคงเป็นราคาเดิม ส่วนราคาที่ดินต่ำสุด เพียงตารางวาละ 10 บาท อยู่พื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และเชียงใหม่ในอำเภอดอยหล่อ แม่แจ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมไม่มีทางเข้าออก
***********
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ การผังเมือง การควบคุมอาคาร เพื่อให้ได้ราคาประเมินที่ดินที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เป็นธรรม เชื่อถือได้ โดยสามารถนำไปใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เกิดจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ อีกทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปค้ำประกัน การลงทุน ธุรกรรมต่างๆ และเพื่อการเวนคืนที่ดิน รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายด้านภาษี และการกระจายถือครองทรัพย์สิน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกด้วย
ทั้งนี้ จากการดำเนินการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศประมาณ 29.3 ล้านแปลง หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็น ที่ดินรายแปลงประมาณ 6 ล้านแปลง และที่ดินรายบล็อกประมาณ 23.3 ล้านแปลง พบว่าราคาที่ดินทั่วประเทศเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 21.34 โดยที่ดินในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 21.40 ส่วนกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.13 บริเวณที่มีราคาประเมินที่ดินสูงสุดของประเทศอยู่ที่กรุงเทพฯ ยังคงเป็นถนนสีลม ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตารางวาละ 850,000 บาท รองลงมาเป็นถนนราชดำริ จากแยกราชประสงค์ไปถึงคลองแสนแสบ และที่ถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และที่ถนนเพลินจิตตลอดสาย ตารางวาละ 800,000 บาท
สำหรับราคาประเมินที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดกลายเป็นพื้นที่เขตอื่น ได้แก่ พื้นที่เขตวัฒนา คลองเตย พระโขนง และบางนา ปรับตัวสูงขึ้นถึงโดยเฉลี่ยร้อยละ 39.20 โดยได้รับอิทธิพลจากการขยายส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รองลงมาเป็นเขตบางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 33.06 และเขตบางขุนเทียน จอมทอง บางบอน เฉลี่ยร้อยละ 29 ตามลำดับ
ส่วนพื้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นแต่หลังจากที่มีการลงพื้นที่สำรวจจริง ผลที่ได้มีอัตราเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่ เขตจตุจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ลาดพร้าว ร้อยละ 0.7 และประเวศ ร้อยละ 1.5 เท่านั้น เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวกรมธนารักษ์ได้มีการปรับราคาประเมินไปแล้วในระหว่างรอบบัญชีราคาประเมินใกล้เคียงกับราคาตลาดอยู่แล้ว
สำหรับส่วนภูมิภาคมีพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอย่างน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ คือ จังหวัดนราธิวาส ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 141.09 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ค่อนข้างดียางพารามีราคาสูงส่งผลให้มีกำลังซื้อ ประกอบกับราคาประเมินไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 2 รอบบัญชีที่ผ่านมา รองลงมาเป็นจังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยละ 81.27 และตราด ร้อยละ 74.42
ทั้งนี้ ในต่างจังหวัดที่มีราคาที่ดินสูงสุดกลับอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตารางวาละ 400,000 บาท ยังคงเป็นราคาเดิม ส่วนราคาที่ดินต่ำสุด เพียงตารางวาละ 10 บาท อยู่พื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และเชียงใหม่ในอำเภอดอยหล่อ แม่แจ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมไม่มีทางเข้าออก
***********