ศูนย์ข่าวขอนแก่น-แผนตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่นเดินหน้า คณะทำงานประชุมนัดแรกหาแนวทางจัดตั้งนิคม เล็งพื้นที่ริมทางหลวงหมายเลข 12 และพื้นที่โซนอ.บ้านไผ่ และอ.พล แต่ติดปัญหาร่างผังเมืองรวมขอนแก่น กำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว พร้อมตั้งคณะทำงานชุดเล็ก เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน
แผนผลักดันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่น เริ่มเดินหน้า หลังจากที่นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เซ็นคำสั่งแต่งตั้งที่ 3788/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น เมื่อ 7 พ.ย. ประกอบด้วยคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 14 คน
ทั้งนี้ มีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานคณะกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นรองประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่น เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โยธาธิการจังหวัดขอนแก่น ธนารักษ์จังหวัดขอนแก่น ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เป็นคณะกรรมการ โดยมีนายประกอบ วิริธจินดา อุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เป็นกรรมการและเลขานุการ
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น ได้จัดประชุมครั้งแรก ร่วมกันหาแนวทางจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่นให้เป็นรูปธรรม โดยมีรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะทำงาน
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่นจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในจังหวัดขอนแก่น มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ทำให้โครงการชะงักไป
ทั้งนี้ มีความจำเป็น ที่ต้องผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขึ้นในจังหวัดขอนแก่น เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายการลงทุน และเพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ที่จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่เป้าหมายที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุน หากล่าช้าอาจเสียโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมในจังหวัดขอนแก่น โดยนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว มีเป้าหมายเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาด ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านนายวิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นในฐานะคณะกรรมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว กล่าวว่า นักลงทุนมีความต้องการที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น แต่ติดปัญหาที่ไม่มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับ ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการต่างชาติ ให้ความสนใจติดต่อขอข้อมูลเข้ามาหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนโซนเอเชีย ทั้งไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน
ที่สำคัญรัฐบาลญี่ปุ่น ผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs ย้ายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายอันดับต้น พื้นที่ตั้งโรงงานจะต้องไม่เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย หรือภัยพิบัติธรรมชาติอื่น ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นมีศักยภาพโดดเด่นมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ลอจิสติกส์ การศึกษา การแพทย์ของภาคอีสาน
ติดปัญหาร่างผังเมืองรวมขอนแก่น
ทั้งนี้ผลการหารือ ได้มุ่งประเด็นไปที่การจัดหาที่ดินผืนใหญ่ มารองรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แต่ก็ติดปัญหาร่างผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่น ซึ่งพื้นที่ที่จะรองรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้นั้น ต้องเป็นพื้นที่สีม่วง ซึ่งร่างผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นกำหนดโซน ไว้ที่อ.น้ำพอง ซึ่งที่ผ่านมาเคยผลักดันตั้งนิคมอุตสาหกรรมโคกหินขาว ก็ติดปัญหามวลชนในพื้นที่และเป็นพื้นที่ต้นน้ำ
ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมน่าจะอยู่ในโซนอ.บ้านไผ่ และอ.เมืองพล เพราะจะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ และมีแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟเส้นใหม่จากขอนแก่น ไปยังกาฬสินธุ์ และนครพนมได้ หรือพื้นที่ในโซนทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) แต่ก็ยังหาพื้นที่รองรับไม่ได้ โดยร่างผังเมืองรวมกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อทำเกษตรกรรมเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว จำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อให้ทันต่อกระแสการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนของโรงงานในพื้นที่ประสบอุทกภัย และเพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมจะมีบทบาทสำคัญต่อการจัดระเบียบไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่แบบกระจัดกระจายจนไม่สามารถควบคุมได้ จนก่อมลพิษในอนาคต
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติตั้งอนุกรรมการดำเนินการชุดเล็ก เพื่อให้การทำงานกระชับและรวดเร็ว มีบทบาทในการทำงานจัดหาที่ดิน รองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่นให้สำเร็จเป็นรูปธรรม
แผนผลักดันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่น เริ่มเดินหน้า หลังจากที่นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เซ็นคำสั่งแต่งตั้งที่ 3788/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น เมื่อ 7 พ.ย. ประกอบด้วยคณะทำงานรวมทั้งสิ้น 14 คน
ทั้งนี้ มีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานคณะกรรมการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นรองประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่น เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โยธาธิการจังหวัดขอนแก่น ธนารักษ์จังหวัดขอนแก่น ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เป็นคณะกรรมการ โดยมีนายประกอบ วิริธจินดา อุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เป็นกรรมการและเลขานุการ
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น ได้จัดประชุมครั้งแรก ร่วมกันหาแนวทางจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่นให้เป็นรูปธรรม โดยมีรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะทำงาน
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่นจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมาการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในจังหวัดขอนแก่น มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ทำให้โครงการชะงักไป
ทั้งนี้ มีความจำเป็น ที่ต้องผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขึ้นในจังหวัดขอนแก่น เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายการลงทุน และเพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ที่จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่เป้าหมายที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุน หากล่าช้าอาจเสียโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมในจังหวัดขอนแก่น โดยนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว มีเป้าหมายเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาด ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านนายวิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นในฐานะคณะกรรมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว กล่าวว่า นักลงทุนมีความต้องการที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น แต่ติดปัญหาที่ไม่มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรองรับ ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการต่างชาติ ให้ความสนใจติดต่อขอข้อมูลเข้ามาหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนโซนเอเชีย ทั้งไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน
ที่สำคัญรัฐบาลญี่ปุ่น ผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs ย้ายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายอันดับต้น พื้นที่ตั้งโรงงานจะต้องไม่เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย หรือภัยพิบัติธรรมชาติอื่น ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่นมีศักยภาพโดดเด่นมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ลอจิสติกส์ การศึกษา การแพทย์ของภาคอีสาน
ติดปัญหาร่างผังเมืองรวมขอนแก่น
ทั้งนี้ผลการหารือ ได้มุ่งประเด็นไปที่การจัดหาที่ดินผืนใหญ่ มารองรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แต่ก็ติดปัญหาร่างผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่น ซึ่งพื้นที่ที่จะรองรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมได้นั้น ต้องเป็นพื้นที่สีม่วง ซึ่งร่างผังเมืองรวมจังหวัดขอนแก่นกำหนดโซน ไว้ที่อ.น้ำพอง ซึ่งที่ผ่านมาเคยผลักดันตั้งนิคมอุตสาหกรรมโคกหินขาว ก็ติดปัญหามวลชนในพื้นที่และเป็นพื้นที่ต้นน้ำ
ส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมน่าจะอยู่ในโซนอ.บ้านไผ่ และอ.เมืองพล เพราะจะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ และมีแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟเส้นใหม่จากขอนแก่น ไปยังกาฬสินธุ์ และนครพนมได้ หรือพื้นที่ในโซนทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) แต่ก็ยังหาพื้นที่รองรับไม่ได้ โดยร่างผังเมืองรวมกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อทำเกษตรกรรมเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว จำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อให้ทันต่อกระแสการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนของโรงงานในพื้นที่ประสบอุทกภัย และเพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมจะมีบทบาทสำคัญต่อการจัดระเบียบไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่แบบกระจัดกระจายจนไม่สามารถควบคุมได้ จนก่อมลพิษในอนาคต
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติตั้งอนุกรรมการดำเนินการชุดเล็ก เพื่อให้การทำงานกระชับและรวดเร็ว มีบทบาทในการทำงานจัดหาที่ดิน รองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวจังหวัดขอนแก่นให้สำเร็จเป็นรูปธรรม