นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมและเสวนาร่วมกับคณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชนแม่ขักพัฒนา อ.หางดง จ.เชียงใหม่ วานนี้ (22 ธ.ค.) ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะเพิ่มเงินให้กับกองทุนหมู่บ้าน 8 หมื่นแห่งทั่วประเทศอีกแห่งละ 1 หมื่นล้านบาท ให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งภายในปี 55 เพื่อให้กองทุนสามารถนำเงินไปปล่อยกู้ให้กับสมาชิกเพิ่มเติม เพิ่มสภาพคล่องในระบบ
"คลังอยากให้หมู่บ้านที่ได้รับเงินมีการพัฒนามากกว่าเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้ รวมถึงเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ไม่ใช่การดูแลเพียงการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้เท่านั้น"
การเพิ่มทุนครั้งนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อสร้างความยั่งยืนของกองทุนฯ โดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง จากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แต่ละแห่งบนพื้นฐานความสามารถในการชำระหนี้ในการให้กู้ยืมแก่สมาชิกแต่ละราย การให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่สมาชิกที่มีปัญหาในการประกอบอาชีพ หรือหนี้นอกระบบ
รวมถึงการจัดให้มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกหรือฟื้นฟูอาชีพหรือหารายได้เพิ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและทำให้มีความสามารถในการชำระคืนหนี้มากขึ้น
“กระทรวงการคลังมีนโยบายให้กองทุนหมู่บ้านฯ และตัวแทนภาคธุรกิจร่วมกันส่งเสริม การดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) เพื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยผลักดันให้ภาคเอกชนใช้นโยบาย CSR เข้ามามีส่วนร่วมในต่อยอดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีความเข้มแข็งหรือมีศักยภาพในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาความอ่อนแอด้านสถานะการเงินและการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านฯ รวมถึงสมาชิก” นายธีระชัยกล่าว
โดยภาคเอกชนสามารถดำเนินนโยบาย CSR ผ่านกองทุนหมู่บ้านในด้าน 1) การวางแผนธุรกิจ การตลาด การผลิต การบริหารจัดการ 2) การร่วมนึก ร่วมคิดเพื่อสร้างความรู้และทักษะทางธุรกิจ และ 3) การสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการร่วมกันของภาคธุรกิจและกองทุนหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันรัฐบาลจะศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการสร้างหรือปรับปรุงโครงสร้างรองรับการใช้นโยบาย CSR กับกองทุนหมู่บ้านฯ ไปพร้อมๆ กัน.
"คลังอยากให้หมู่บ้านที่ได้รับเงินมีการพัฒนามากกว่าเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีระบบบัญชีที่ตรวจสอบได้ รวมถึงเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ไม่ใช่การดูแลเพียงการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้เท่านั้น"
การเพิ่มทุนครั้งนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อสร้างความยั่งยืนของกองทุนฯ โดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง จากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แต่ละแห่งบนพื้นฐานความสามารถในการชำระหนี้ในการให้กู้ยืมแก่สมาชิกแต่ละราย การให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่สมาชิกที่มีปัญหาในการประกอบอาชีพ หรือหนี้นอกระบบ
รวมถึงการจัดให้มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกหรือฟื้นฟูอาชีพหรือหารายได้เพิ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและทำให้มีความสามารถในการชำระคืนหนี้มากขึ้น
“กระทรวงการคลังมีนโยบายให้กองทุนหมู่บ้านฯ และตัวแทนภาคธุรกิจร่วมกันส่งเสริม การดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) เพื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยผลักดันให้ภาคเอกชนใช้นโยบาย CSR เข้ามามีส่วนร่วมในต่อยอดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีความเข้มแข็งหรือมีศักยภาพในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาความอ่อนแอด้านสถานะการเงินและการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้านฯ รวมถึงสมาชิก” นายธีระชัยกล่าว
โดยภาคเอกชนสามารถดำเนินนโยบาย CSR ผ่านกองทุนหมู่บ้านในด้าน 1) การวางแผนธุรกิจ การตลาด การผลิต การบริหารจัดการ 2) การร่วมนึก ร่วมคิดเพื่อสร้างความรู้และทักษะทางธุรกิจ และ 3) การสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการร่วมกันของภาคธุรกิจและกองทุนหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันรัฐบาลจะศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการสร้างหรือปรับปรุงโครงสร้างรองรับการใช้นโยบาย CSR กับกองทุนหมู่บ้านฯ ไปพร้อมๆ กัน.