เอเอฟพี/รอยเตอร์ - รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศวานนี้(20) ว่าตกลงเลือกใช้เครื่องบิน เอฟ-35 ของบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน แห่งสหรัฐฯ เป็นอากาศยานขับไล่หลักรุ่นต่อไปของประเทศ โดยมองเมินเครื่องบินคู่แข่งขันอื่นๆ ซึ่งแม้มีข้อได้เปรียบตรงที่เคยพิสูจน์ตัวในการสู้รบจริงมาแล้ว ทว่าอ่อนด้อยกว่าในเรื่องเทคโนโลยีสเตลท์หลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ การตัดสินใจเช่นนี้ของแดนอาทิตย์อุทัย บังเกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ ตลอดจนการที่จีนก็กำลังเปิดตัวเครื่องบินขับไล่สเตลท์ของตนเอง
ในการตกลงใจที่จะทำสัญญาซื้อ เอฟ-15 คราวนี้ ญี่ปุ่นกำลังดำเนินการตามแผนการหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ เข้าแทนที่ฝูงบิน เอฟ-4 ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้แดนอาทิตย์อุทัยยังคงเลือก เอฟ-35 ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนต้นๆ ของกระบวนการผลิต ถึงแม้มีรายงานเกี่ยวกับความบกพร่องทางเทคนิค ตลอดจนมีความหวั่นเกรงกันว่าการผลิตอาจจะล่าช้าออกไปมาก
“รัฐบาลจะสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่น เอฟ-35เอ จำนวน 42 เครื่อง หลังปีงบประมาณ 2012 เพื่อให้ฝูงเครื่องบินขับไล่ของกองกำลังปกป้องตนเองทางอากาศ (กองทัพอากาศญี่ปุ่น) มีความทันสมัยยิ่งขึ้น” คำแถลงจากคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุ
ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหม ยาซูโอะ อิชิงาวะ แถลงว่า การได้ เอฟ-35 มาใช้งาน จะช่วยให้ญี่ปุ่นปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่กำลังเปลี่ยนแปลง
“สภาพแวดล้อมทางด้านความมั่นคงซึ่งจะต้องคำนึงในเวลาตัดสินใจเกี่ยวกับเครื่องขับขับไล่ในอนาคตนั้น กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง และ เอฟ-35 มีสมรรถนะซึ่งสามารถตอบสนองได้อย่างหนักแน่นมั่งคงต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้” อิชิงาวะกล่าวกับผู้สื่อข่าว
ญี่ปุ่นปลงใจเลือก เอฟ-35 โดยมองข้ามอีก 2 ตัวเลือกที่เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันเช่นกัน คือ เอฟ/เอ-18 ซุปเปอร์ฮอร์เน็ต ของค่ายโบอิ้ง และ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของกลุ่มร่วมค้าของพวกบริษัทในยุโรป
การตัดสินใจอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นครั้งนี้มีขึ้นเพียง 1 วัน หลังเกาหลีเหนือประกาศข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของผู้นำ คิม จอง อิล ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกไปทั่วทั้งภูมิภาคว่าการเปลี่ยนตัวผู้นำใหม่อาจสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลโสมแดง
ก่อนหน้านี้ คาดกันว่า กรุงโตเกียวจะประกาศเลือกฝูงบินรบรุ่นใหม่ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังกองทัพจีนเริ่มทวีความแข็งแกร่ง และแผ่แสนยานุภาพในทะเลจีนใต้มากขึ้นทุกขณะ รวมทั้งเปิดตัวเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีสเตลท์ ซึ่งแดนมังกรพัฒนาขึ้นเอง
เอฟ-35 เป็นโครงการพัฒนาอาวุธที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเพนตากอน และประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่บานปลาย รวมถึงระบบเทคนิคที่พัฒนาได้ล่าช้ากว่ากำหนด เครื่องบินขับไล่สเตลท์ชนิดนี้ตั้งสนนราคาเอาไว้ถึงลำละ 113 ล้านดอลลาร์ สำหรับมูลค่าของ เอฟ-35 ทั้งหมดที่ญี่ปุ่นสั่งซื้อนั้น มีการให้ตัวเลขที่แตกต่างกันมาก โดยเอเอฟพีบอกว่าอยู่ที่ประมาณ 4,700 ล้านดอลลาร์ ขณะที่รอยเตอร์อ้างนักวิเคราะห์หลายรายประเมินว่าจะสูงกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
ในเบื้องต้น ญี่ปุ่นต้องการนำเครื่องบินขับไล่สเตลท์ เอฟ-22 เข้าประจำการแทนฝูงบินขับไล่เดิม แต่กฎหมายสหรัฐฯ บัญญัติข้อห้ามส่งออกเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ให้ต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐบาลกรุงวอชิงตันก็ระบุว่าได้ยุติการสร้างเอฟ-22 แล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งรั่วไหลออกมา ซึ่งมีเนื้อหาเผยให้เห็นปัญหาหลายๆ ประการที่ปรากฏขึ้นในระหว่างการบินทดสอบของ เอฟ-35 เป็นต้นว่า ระบบการลงจอด ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับอาการล้าและอาการสั่นของลำตัวเครื่องบิน โดยที่บันทึกช่วยจำที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “การพิจารณาทบทวนอย่างเร็วๆ” ฉบับนี้บอกว่า ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นทำให้เกิด “การขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการออกแบบ” ของเครื่องบินชนิดนี้ พร้อมเรียกร้องให้ “พิจารณาทบทวนอย่างจริงจังในเรื่องการจัดซื้อและการวางแผนการการผลิต”
ทางด้านโฆษกของโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ ได้ยืนยันว่าพวกเจ้าหน้าที่ระดับผู้จัดการกำลังมองหาทางลดอัตราการผลิตให้ช้าลง เพื่อให้มีเวลาในการแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีกลาโหมอิชิงาวะ บอกว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า เอฟ-35 จะส่งมาถึงมือญี่ปุ่นตามกำหนดภายในปี 2016
ในการตกลงใจที่จะทำสัญญาซื้อ เอฟ-15 คราวนี้ ญี่ปุ่นกำลังดำเนินการตามแผนการหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ เข้าแทนที่ฝูงบิน เอฟ-4 ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้แดนอาทิตย์อุทัยยังคงเลือก เอฟ-35 ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนต้นๆ ของกระบวนการผลิต ถึงแม้มีรายงานเกี่ยวกับความบกพร่องทางเทคนิค ตลอดจนมีความหวั่นเกรงกันว่าการผลิตอาจจะล่าช้าออกไปมาก
“รัฐบาลจะสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่น เอฟ-35เอ จำนวน 42 เครื่อง หลังปีงบประมาณ 2012 เพื่อให้ฝูงเครื่องบินขับไล่ของกองกำลังปกป้องตนเองทางอากาศ (กองทัพอากาศญี่ปุ่น) มีความทันสมัยยิ่งขึ้น” คำแถลงจากคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุ
ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหม ยาซูโอะ อิชิงาวะ แถลงว่า การได้ เอฟ-35 มาใช้งาน จะช่วยให้ญี่ปุ่นปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่กำลังเปลี่ยนแปลง
“สภาพแวดล้อมทางด้านความมั่นคงซึ่งจะต้องคำนึงในเวลาตัดสินใจเกี่ยวกับเครื่องขับขับไล่ในอนาคตนั้น กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง และ เอฟ-35 มีสมรรถนะซึ่งสามารถตอบสนองได้อย่างหนักแน่นมั่งคงต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้” อิชิงาวะกล่าวกับผู้สื่อข่าว
ญี่ปุ่นปลงใจเลือก เอฟ-35 โดยมองข้ามอีก 2 ตัวเลือกที่เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันเช่นกัน คือ เอฟ/เอ-18 ซุปเปอร์ฮอร์เน็ต ของค่ายโบอิ้ง และ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของกลุ่มร่วมค้าของพวกบริษัทในยุโรป
การตัดสินใจอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นครั้งนี้มีขึ้นเพียง 1 วัน หลังเกาหลีเหนือประกาศข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของผู้นำ คิม จอง อิล ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกไปทั่วทั้งภูมิภาคว่าการเปลี่ยนตัวผู้นำใหม่อาจสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลโสมแดง
ก่อนหน้านี้ คาดกันว่า กรุงโตเกียวจะประกาศเลือกฝูงบินรบรุ่นใหม่ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังกองทัพจีนเริ่มทวีความแข็งแกร่ง และแผ่แสนยานุภาพในทะเลจีนใต้มากขึ้นทุกขณะ รวมทั้งเปิดตัวเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีสเตลท์ ซึ่งแดนมังกรพัฒนาขึ้นเอง
เอฟ-35 เป็นโครงการพัฒนาอาวุธที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของเพนตากอน และประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่บานปลาย รวมถึงระบบเทคนิคที่พัฒนาได้ล่าช้ากว่ากำหนด เครื่องบินขับไล่สเตลท์ชนิดนี้ตั้งสนนราคาเอาไว้ถึงลำละ 113 ล้านดอลลาร์ สำหรับมูลค่าของ เอฟ-35 ทั้งหมดที่ญี่ปุ่นสั่งซื้อนั้น มีการให้ตัวเลขที่แตกต่างกันมาก โดยเอเอฟพีบอกว่าอยู่ที่ประมาณ 4,700 ล้านดอลลาร์ ขณะที่รอยเตอร์อ้างนักวิเคราะห์หลายรายประเมินว่าจะสูงกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
ในเบื้องต้น ญี่ปุ่นต้องการนำเครื่องบินขับไล่สเตลท์ เอฟ-22 เข้าประจำการแทนฝูงบินขับไล่เดิม แต่กฎหมายสหรัฐฯ บัญญัติข้อห้ามส่งออกเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ให้ต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐบาลกรุงวอชิงตันก็ระบุว่าได้ยุติการสร้างเอฟ-22 แล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งรั่วไหลออกมา ซึ่งมีเนื้อหาเผยให้เห็นปัญหาหลายๆ ประการที่ปรากฏขึ้นในระหว่างการบินทดสอบของ เอฟ-35 เป็นต้นว่า ระบบการลงจอด ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับอาการล้าและอาการสั่นของลำตัวเครื่องบิน โดยที่บันทึกช่วยจำที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “การพิจารณาทบทวนอย่างเร็วๆ” ฉบับนี้บอกว่า ปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นทำให้เกิด “การขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการออกแบบ” ของเครื่องบินชนิดนี้ พร้อมเรียกร้องให้ “พิจารณาทบทวนอย่างจริงจังในเรื่องการจัดซื้อและการวางแผนการการผลิต”
ทางด้านโฆษกของโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ ได้ยืนยันว่าพวกเจ้าหน้าที่ระดับผู้จัดการกำลังมองหาทางลดอัตราการผลิตให้ช้าลง เพื่อให้มีเวลาในการแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีกลาโหมอิชิงาวะ บอกว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า เอฟ-35 จะส่งมาถึงมือญี่ปุ่นตามกำหนดภายในปี 2016