ในช่วงระยะเวลานี้ หลังสถานการณ์มหาวิกฤตน้ำท่วมกำลังคลี่คลายลง ปัญหาประเด็นทางการเมืองก็ได้กลับมาสู่พื้นที่ข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องการปรองดองของคนในชาติ ที่มีปัญหาขัดแย้งกันในทางการเมืองได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง ขยายประเด็นจนกลายเป็น “วาทกรรมทางการเมือง” เพื่อเบี่ยงเบนความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของนายกฯ ปู ยิ่งลักษณ์ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างขึ้นมาเป็นม่านบังตาการเมือง เพื่อการช่วยเหลือนักโทษชายหนีคดีอย่างทักษิณ เจ้าของพรรคเพื่อไทย และเป็นผู้มีบารมีสั่งการเหนือรัฐบาลปูตัวจริงอีกครั้ง
ขณะเดียวกันการกลับจากกัมพูชา เพื่อเข้ามอบตัวของกี้ร์ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช.ประเภทฮาร์ดคอร์ที่หลบหนีคดีเป็นเวลาเกือบสองปีจากข้อกล่าวหาของทางการหลายสิบคดี ไม่ว่าข้อกล่าวหา ก่อการร้าย ก่อจลาจล ล้มล้างสถาบัน บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น มีอาวุธสงคราม ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และล้มการประชุมผู้นำอาเซียนที่พัทยา ฯลฯ โดยเมื่อยื่นขอประกันตัวต่อศาลอาญา ปรากฏศาลสั่งไม่อนุญาต เป็นเหตุให้นายอริสมันต์ ต้องไปนอนคุกเรือนจำลาดยาว บางเขน จนได้เช่นเดียวกับแกนนำ นปช. คนอื่นๆ
ก่อนหน้านี้ การได้ลิ้มรสชาติชีวิตของการนอนคุกย่อมทำให้เขาต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตนเองอันเป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคน เขาจะได้รับอิสรภาพนั้นหรือไม่ ผู้เขียนคงไม่อาจไปก้าวล่วงดุลพินิจของศาล ขอให้เรื่องนี้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ที่เป็นไปโดยอิสระปราศจากการครอบงำแทรกแซงใดๆ ประชาชนย่อมเคารพต่อดุลพินิจและยอมรับได้
ประเด็นปัญหาที่ตามมาควบคู่กับกรณีข้างต้นดังกล่าว คือ มีความพยายามของ “กลุ่มคนเสื้อแดงและแกนนำ” พยายามจะเรียกร้องให้ราชทัณฑ์และศาล ควบคุมตัวนายอริสมันต์อย่างผู้ต้องหา “คดีการเมือง” โดยพูดถึงการคุมขังผู้ต้องโทษหรือต้องหาคดีการเมืองในอดีต ที่เคยถูกควบคุมตัวไว้ที่ ร.ร.ตำรวจนครบาลบางเขน ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลปู โดยอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ขอให้มีการปรับปรุงสถานที่ดังกล่าวให้สะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างดี มีเครื่องปรับอากาศ เรียกว่า “คุกติดแอร์” มีสภาพแตกต่างจากเรือนจำหรือคุกบางขวางราวฟ้ากับนรก
ทั้งนี้กลุ่มคนและฝ่ายการเมืองที่ต้องการช่วยเหลือมวลชนคนเสื้อแดง ที่ต้องหาคดีได้อ้างเหตุผลจากรายงานและข้อเสนอของ “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มาสนับสนุนข้อเรียกร้องของตน โดยข้อเสนอแนะของ คอป. ฉบับที่ 2 ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี 7 ข้อเสนอหลัก มีข้อ 1. คือ รัฐบาลต้องลดความขัดแย้งด้วยการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเท่าเทียม โดยในส่วนของประชาชนต้องให้สิทธิเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ต้องมีการผลักดันให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบทุกฝ่ายที่มีส่วนให้เกิดความรุนแรง รวมถึงเจ้าหน้าที่ต้องเข้าสู่การวินิจฉัยตามกระบวนการยุติธรรมด้วย และ ข้อ3. “...ควรสนับสนุนให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ตามสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยพนักงานสอบสวนอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหา ความมีเหตุหลบหนี ทำลายพยานหลักฐาน หรือเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่ หากไม่มีเหตุดังกล่าว ควรมีการยืนยันเพื่อให้สิทธิได้รับการปล่อยตัว”
เนื่องจากคดีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การเมือง แต่หากไม่ได้รับการปล่อยตัวรัฐบาลก็ควรจัดสถานที่ในการควบคุมอื่นที่เหมาะสมที่ไม่ใช่เรือนจำปกติ เช่น สถานที่ที่เคยใช้กับนักโทษคดีการเมืองในอดีต ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน
โดย 2 ใน 7 ข้อเสนอของ คอป.นี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นแกนนำและกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งเปิดช่องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงก้าวก่าย กระบวนการยุติธรรมชั้นต้น คือ ชั้นอัยการและพนักงานสอบสวน ทั้งการชะลอคดีและการปล่อยตัวชั่วคราว
แต่ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการพูดถึงและเสนอข้อเท็จจริงข้อกฎหมายเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมและชุมชน ประเทศไทยก็คือ อย่างไรเรียกว่า “เป็นคดีการเมืองและอะไรที่เป็นคดีความผิดทางอาญา” อันจะถือเอาเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่ควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างเป็นธรรม โดยเป็นที่ยอมรับได้ของสังคมที่ปกครองโดย “หลักนิติรัฐ” (Rechtsstaat) หรือ “หลักนิติธรรม” (Rule of Law)
นี่คือสิ่งที่ คอป.เองก็ยังมิได้ให้คำนิยามและความหมายของคำว่า “คดีการเมือง” หาก คอป.จะให้ความกระจ่างแก่สังคมต่อรัฐบาลและเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย คอป.ก็สมควรที่จะต้องให้รายละเอียด และจำแนกแยกแยะให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างความผิดทางการเมืองกับความผิดทางอาญาให้ชัดเจนกว่านี้
มิเช่นนั้นแล้ว รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงก็อาจจะนำเอาไปอ้าง สนับสนุนการต่อสู้และการทำความผิดทางอาญาของตน จนนำไปสู่การทำลายหลักการ และกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองได้ หรืออาจบานปลายจนนักโทษหรือผู้ต้องหาคดีอาญาคนอื่นๆ นำมาอ้าง เพื่อขอรับการปฏิบัติในการถูกควบคุมตัวเช่นเดียวกับบรรดาแกนนำ นปช.หรือคนเสื้อแดงที่ต้องคดีบ้าง สังคมอาจจะวุ่นวาย ขัดแย้งนำไปสู่ความแตกแยกมากกว่าจะเกิดการปรองดองอย่างที่ คอป.คาดหวัง
ในการชุมนุมทางการเมือง และการเกิดเหตุการณ์จลาจลจนนำไปสู่การเผาบ้านเผาเมือง แม้จะมีแรงจูงใจทางการชุมนุมมาจากเหตุผลทางการเมืองก็ตาม แต่พฤติกรรมและการกระทำของแต่ละคนย่อมมีความผิดที่แตกต่างกันได้ ผู้ที่มาชุมนุมและร่วมแสดงความคิดเห็นโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แม้จะขัดขวางทางจราจรหรือพื้นที่สาธารณะ มิได้มีส่วนใช้ความรุนแรงหรือรู้เห็นสนับสนุนการกระทำนั้นๆ ย่อมถือเป็นเรื่องทางการเมืองได้ แต่แกนนำก็ดี ผู้ชุมนุมที่ติดอาวุธหรือผู้กระทำผิดทางอาญา เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น หรือทางราชการ, ปล้นหรือขโมยทรัพย์สิน ฆ่าผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แม้จะมาชุมนุมโดยมีแรงจูงใจทางการเมืองก็ตาม ต้องถือว่าเป็นผู้กระทำผิดทางอาญา มิใช่ผู้ต้องหาคดีทางการเมืองอย่างเดียว
ดังนั้นผู้ที่กระทำความผิดในทางการเมือง และมีส่วนเข้าร่วมเป็นตัวการผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญาร้ายแรงจะเหมารวมให้เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมือง เพื่อรับสิทธิการปฏิบัติเยี่ยงผู้ต้องคดีการเมืองเห็นจะไม่ชอบ
นอกจากนี้การกระทำความผิดในคดีการเมืองอื่นๆ โดยทั่วไปต้องไม่มีการกระทำอันเป็นการใช้ความรุนแรงที่เป็นการผิดกฎหมาย คุกคามต่อชีวิต ทรัพย์สินหรือความสงบสุขของสังคม เช่น การกระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.พรรคการเมืองความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.เหล่านี้ก็อาจถือเป็นคดีการเมืองได้
ด้วยเหตุนี้คดีการเมืองกับคดีอาญาจึงแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญ การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด จำต้องมีความละเอียดและเคร่งครัด มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง การที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงรังเกียจเรื่องสองมาตรฐานในการยุติธรรม แต่กลับเป็นผู้สร้างความไร้มาตรฐานและหลายมาตรฐาน จนหามาตรฐานใดๆ ในการยุติธรรมไม่ได้เลยเสียเอง ย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลและ คอป.ต้องทบทวนและพิจารณาตัวเอง อย่าทำให้สังคมสับสนอีกต่อไป
ขณะเดียวกันการกลับจากกัมพูชา เพื่อเข้ามอบตัวของกี้ร์ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช.ประเภทฮาร์ดคอร์ที่หลบหนีคดีเป็นเวลาเกือบสองปีจากข้อกล่าวหาของทางการหลายสิบคดี ไม่ว่าข้อกล่าวหา ก่อการร้าย ก่อจลาจล ล้มล้างสถาบัน บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น มีอาวุธสงคราม ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และล้มการประชุมผู้นำอาเซียนที่พัทยา ฯลฯ โดยเมื่อยื่นขอประกันตัวต่อศาลอาญา ปรากฏศาลสั่งไม่อนุญาต เป็นเหตุให้นายอริสมันต์ ต้องไปนอนคุกเรือนจำลาดยาว บางเขน จนได้เช่นเดียวกับแกนนำ นปช. คนอื่นๆ
ก่อนหน้านี้ การได้ลิ้มรสชาติชีวิตของการนอนคุกย่อมทำให้เขาต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่ออิสรภาพของตนเองอันเป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกคน เขาจะได้รับอิสรภาพนั้นหรือไม่ ผู้เขียนคงไม่อาจไปก้าวล่วงดุลพินิจของศาล ขอให้เรื่องนี้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ที่เป็นไปโดยอิสระปราศจากการครอบงำแทรกแซงใดๆ ประชาชนย่อมเคารพต่อดุลพินิจและยอมรับได้
ประเด็นปัญหาที่ตามมาควบคู่กับกรณีข้างต้นดังกล่าว คือ มีความพยายามของ “กลุ่มคนเสื้อแดงและแกนนำ” พยายามจะเรียกร้องให้ราชทัณฑ์และศาล ควบคุมตัวนายอริสมันต์อย่างผู้ต้องหา “คดีการเมือง” โดยพูดถึงการคุมขังผู้ต้องโทษหรือต้องหาคดีการเมืองในอดีต ที่เคยถูกควบคุมตัวไว้ที่ ร.ร.ตำรวจนครบาลบางเขน ซึ่งขณะนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลปู โดยอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ขอให้มีการปรับปรุงสถานที่ดังกล่าวให้สะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างดี มีเครื่องปรับอากาศ เรียกว่า “คุกติดแอร์” มีสภาพแตกต่างจากเรือนจำหรือคุกบางขวางราวฟ้ากับนรก
ทั้งนี้กลุ่มคนและฝ่ายการเมืองที่ต้องการช่วยเหลือมวลชนคนเสื้อแดง ที่ต้องหาคดีได้อ้างเหตุผลจากรายงานและข้อเสนอของ “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มาสนับสนุนข้อเรียกร้องของตน โดยข้อเสนอแนะของ คอป. ฉบับที่ 2 ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี 7 ข้อเสนอหลัก มีข้อ 1. คือ รัฐบาลต้องลดความขัดแย้งด้วยการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเท่าเทียม โดยในส่วนของประชาชนต้องให้สิทธิเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน ต้องมีการผลักดันให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบทุกฝ่ายที่มีส่วนให้เกิดความรุนแรง รวมถึงเจ้าหน้าที่ต้องเข้าสู่การวินิจฉัยตามกระบวนการยุติธรรมด้วย และ ข้อ3. “...ควรสนับสนุนให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ตามสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยพนักงานสอบสวนอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหา ความมีเหตุหลบหนี ทำลายพยานหลักฐาน หรือเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่ หากไม่มีเหตุดังกล่าว ควรมีการยืนยันเพื่อให้สิทธิได้รับการปล่อยตัว”
เนื่องจากคดีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การเมือง แต่หากไม่ได้รับการปล่อยตัวรัฐบาลก็ควรจัดสถานที่ในการควบคุมอื่นที่เหมาะสมที่ไม่ใช่เรือนจำปกติ เช่น สถานที่ที่เคยใช้กับนักโทษคดีการเมืองในอดีต ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน
โดย 2 ใน 7 ข้อเสนอของ คอป.นี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นแกนนำและกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งเปิดช่องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงก้าวก่าย กระบวนการยุติธรรมชั้นต้น คือ ชั้นอัยการและพนักงานสอบสวน ทั้งการชะลอคดีและการปล่อยตัวชั่วคราว
แต่ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการพูดถึงและเสนอข้อเท็จจริงข้อกฎหมายเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมและชุมชน ประเทศไทยก็คือ อย่างไรเรียกว่า “เป็นคดีการเมืองและอะไรที่เป็นคดีความผิดทางอาญา” อันจะถือเอาเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่ควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างเป็นธรรม โดยเป็นที่ยอมรับได้ของสังคมที่ปกครองโดย “หลักนิติรัฐ” (Rechtsstaat) หรือ “หลักนิติธรรม” (Rule of Law)
นี่คือสิ่งที่ คอป.เองก็ยังมิได้ให้คำนิยามและความหมายของคำว่า “คดีการเมือง” หาก คอป.จะให้ความกระจ่างแก่สังคมต่อรัฐบาลและเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย คอป.ก็สมควรที่จะต้องให้รายละเอียด และจำแนกแยกแยะให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างความผิดทางการเมืองกับความผิดทางอาญาให้ชัดเจนกว่านี้
มิเช่นนั้นแล้ว รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงก็อาจจะนำเอาไปอ้าง สนับสนุนการต่อสู้และการทำความผิดทางอาญาของตน จนนำไปสู่การทำลายหลักการ และกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองได้ หรืออาจบานปลายจนนักโทษหรือผู้ต้องหาคดีอาญาคนอื่นๆ นำมาอ้าง เพื่อขอรับการปฏิบัติในการถูกควบคุมตัวเช่นเดียวกับบรรดาแกนนำ นปช.หรือคนเสื้อแดงที่ต้องคดีบ้าง สังคมอาจจะวุ่นวาย ขัดแย้งนำไปสู่ความแตกแยกมากกว่าจะเกิดการปรองดองอย่างที่ คอป.คาดหวัง
ในการชุมนุมทางการเมือง และการเกิดเหตุการณ์จลาจลจนนำไปสู่การเผาบ้านเผาเมือง แม้จะมีแรงจูงใจทางการชุมนุมมาจากเหตุผลทางการเมืองก็ตาม แต่พฤติกรรมและการกระทำของแต่ละคนย่อมมีความผิดที่แตกต่างกันได้ ผู้ที่มาชุมนุมและร่วมแสดงความคิดเห็นโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 แม้จะขัดขวางทางจราจรหรือพื้นที่สาธารณะ มิได้มีส่วนใช้ความรุนแรงหรือรู้เห็นสนับสนุนการกระทำนั้นๆ ย่อมถือเป็นเรื่องทางการเมืองได้ แต่แกนนำก็ดี ผู้ชุมนุมที่ติดอาวุธหรือผู้กระทำผิดทางอาญา เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น หรือทางราชการ, ปล้นหรือขโมยทรัพย์สิน ฆ่าผู้อื่นหรือเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แม้จะมาชุมนุมโดยมีแรงจูงใจทางการเมืองก็ตาม ต้องถือว่าเป็นผู้กระทำผิดทางอาญา มิใช่ผู้ต้องหาคดีทางการเมืองอย่างเดียว
ดังนั้นผู้ที่กระทำความผิดในทางการเมือง และมีส่วนเข้าร่วมเป็นตัวการผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญาร้ายแรงจะเหมารวมให้เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมือง เพื่อรับสิทธิการปฏิบัติเยี่ยงผู้ต้องคดีการเมืองเห็นจะไม่ชอบ
นอกจากนี้การกระทำความผิดในคดีการเมืองอื่นๆ โดยทั่วไปต้องไม่มีการกระทำอันเป็นการใช้ความรุนแรงที่เป็นการผิดกฎหมาย คุกคามต่อชีวิต ทรัพย์สินหรือความสงบสุขของสังคม เช่น การกระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.พรรคการเมืองความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.เหล่านี้ก็อาจถือเป็นคดีการเมืองได้
ด้วยเหตุนี้คดีการเมืองกับคดีอาญาจึงแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญ การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด จำต้องมีความละเอียดและเคร่งครัด มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง การที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงรังเกียจเรื่องสองมาตรฐานในการยุติธรรม แต่กลับเป็นผู้สร้างความไร้มาตรฐานและหลายมาตรฐาน จนหามาตรฐานใดๆ ในการยุติธรรมไม่ได้เลยเสียเอง ย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลและ คอป.ต้องทบทวนและพิจารณาตัวเอง อย่าทำให้สังคมสับสนอีกต่อไป