นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวถึงการให้ความดูแลครอบครัว นายชุติเดช สุวรรณเกิด อดีตผู้สัมคร ส.ก.เขตดอนเมือง และหัวคะแนน นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกยิงเสียชีวิต ว่าพรรคจะดูแลทั้งครอบครัวนายชุติเดช โดยจะระดมความช่วยเหลือเงินส่วนหนึ่ง และช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย ให้ได้รับความเป็นธรรม
ส่วนความปลอดภัยของนายแทนคุณนั้นก็จะต้องระมัดระวังตัวอยู่แล้ว โดยมีการปรึกษากับผู้บริหารของพรรคอยู่เป็นระยะและอยากให้ระวังต่อการออกมาเปิดเผยชื่อบุคคลที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
ส่วนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ดูแลนโยบาย ไม่มีหน้าที่มาชี้นำคดีเพราะ ไม่ใช่พนักงานสอบสวน หรือลงมาก้าวก่ายแทรกแซงชี้นำ เพราะว่าพอผู้บังคับบัญชามาชี้ธง ก็จะเกิดความไม่เหมาะสม ควรจะส่งหมายเรียกให้ชัดเจนมากกว่า และไม่มีหน้าที่ที่จะมาเล่านิทาน ถ้าอยากจะช่วยคดี ก็ควรไปให้การกับตำรวจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลควรให้ความมั่นใจต่อความกังวลของผู้เสียหายได้อย่างไรว่า จะไม่มีการช่วยพรรคพวกตัวเอง หากมีคนของรัฐบาลมาเกี่ยวข้อง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องเร่งรัดคดี และทำให้เกิดความมั่นใจ ต้องชี้แจงให้ได้ว่า คดีจะไปยุติตรงไหน อย่างไร มีเหตุมีผลพยานหลักฐานรองรับชัดเจน และฝ่ายกฏหมายของพรรค ก็จะติดตามว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ และพนักงานสอบสวนก็ไม่ควรที่จะตัดประเด็นเรื่องการทำธุรกิจผิดกฏหมายในดอนเมือง ซึ่งนโยบายในเรื่องนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง จะทราบดีกว่า
**"เหลิม"เย้ย"มาร์ค-เทือก"ไม่รู้เรื่อง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าคดีคนร้ายลอบยิงนายชุติเดช คนสนิท นายแทนคุณ ว่า เวลามีคดี ตำรวจจะตั้งปมไว้ดังนี้ คือ 1 .ความขัดแย้งธุรกิจ 2. เรื่องชู้สาว และ 3. เรื่องการเมือง ซึ่งต้องทำเป็นพื้นฐานแบบนี้ โดยเวลาสืบสวนสอบสวน ก็จะค่อยๆ ตัดไปทีละประเด็น
"หาว่าผมชี้นำได้ไง ผมเขียนสำนวนมา 10 กว่าปี นายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพ เคยทำสำนวนไหม ก็ไม่เคย"
ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันว่า คดีนี้ต้องรอบคอบ ใครผิดต้องเข้าคุก ใครผิดก็ผิด ใครถูกก็ถูก ไม่มีลูบหน้าปละจมูก
" ผมไม่เอาด้วยกับคนผิด ผมย้ำมาตลอด ผมอายุ 64 ปี รัฐบาลมาเดี๋ยวก็ไป เหมือนละครเรื่อง “อีสา” หากผมไปทำผิด ไปปกป้อง แล้วผมต้องเข้าคุก ใครคุ้มครอง ผมไม่เอาด้วยหรอก" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ส่วนความปลอดภัยของนายแทนคุณนั้นก็จะต้องระมัดระวังตัวอยู่แล้ว โดยมีการปรึกษากับผู้บริหารของพรรคอยู่เป็นระยะและอยากให้ระวังต่อการออกมาเปิดเผยชื่อบุคคลที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
ส่วนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ดูแลนโยบาย ไม่มีหน้าที่มาชี้นำคดีเพราะ ไม่ใช่พนักงานสอบสวน หรือลงมาก้าวก่ายแทรกแซงชี้นำ เพราะว่าพอผู้บังคับบัญชามาชี้ธง ก็จะเกิดความไม่เหมาะสม ควรจะส่งหมายเรียกให้ชัดเจนมากกว่า และไม่มีหน้าที่ที่จะมาเล่านิทาน ถ้าอยากจะช่วยคดี ก็ควรไปให้การกับตำรวจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลควรให้ความมั่นใจต่อความกังวลของผู้เสียหายได้อย่างไรว่า จะไม่มีการช่วยพรรคพวกตัวเอง หากมีคนของรัฐบาลมาเกี่ยวข้อง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องเร่งรัดคดี และทำให้เกิดความมั่นใจ ต้องชี้แจงให้ได้ว่า คดีจะไปยุติตรงไหน อย่างไร มีเหตุมีผลพยานหลักฐานรองรับชัดเจน และฝ่ายกฏหมายของพรรค ก็จะติดตามว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ และพนักงานสอบสวนก็ไม่ควรที่จะตัดประเด็นเรื่องการทำธุรกิจผิดกฏหมายในดอนเมือง ซึ่งนโยบายในเรื่องนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง จะทราบดีกว่า
**"เหลิม"เย้ย"มาร์ค-เทือก"ไม่รู้เรื่อง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าคดีคนร้ายลอบยิงนายชุติเดช คนสนิท นายแทนคุณ ว่า เวลามีคดี ตำรวจจะตั้งปมไว้ดังนี้ คือ 1 .ความขัดแย้งธุรกิจ 2. เรื่องชู้สาว และ 3. เรื่องการเมือง ซึ่งต้องทำเป็นพื้นฐานแบบนี้ โดยเวลาสืบสวนสอบสวน ก็จะค่อยๆ ตัดไปทีละประเด็น
"หาว่าผมชี้นำได้ไง ผมเขียนสำนวนมา 10 กว่าปี นายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพ เคยทำสำนวนไหม ก็ไม่เคย"
ร.ต.อ.เฉลิม ยืนยันว่า คดีนี้ต้องรอบคอบ ใครผิดต้องเข้าคุก ใครผิดก็ผิด ใครถูกก็ถูก ไม่มีลูบหน้าปละจมูก
" ผมไม่เอาด้วยกับคนผิด ผมย้ำมาตลอด ผมอายุ 64 ปี รัฐบาลมาเดี๋ยวก็ไป เหมือนละครเรื่อง “อีสา” หากผมไปทำผิด ไปปกป้อง แล้วผมต้องเข้าคุก ใครคุ้มครอง ผมไม่เอาด้วยหรอก" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว