ASTVผู้จัดการรายวัน-ในช่วงเวลาปลายปีนับจากนี้ไป เริ่มมีความเคลื่อนไหวสองอย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกเป็นความเคลื่อนไหวปรับคณะรัฐมนตรี ที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในราวต้นปีหน้า ส่วนเรื่องที่สองเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เริ่มเขย่ากันหนักขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพชัดก็ต้องพิจารณากันไปทีละเรื่อง ทีละประเด็น เริ่มจากการปรับคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งเชื่อว่าต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะนี่คือการกลบเกลื่อน เบี่ยงเบนลดแรงกดดันที่กำลังพุ่งเข้ามาหา นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากล้มเหลว “ห่วยแตก” จากการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของเธอและทีมงาน ในช่วงที่ผ่านมา
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมายของ ทักษิณ ชินวัตร จากเดิมที่ผลักดันให้น้องสาวตัวเองลงมาเป็นนายกฯโคลนนิ่ง ยึดอำนาจรัฐเอาไว้แทน เนื่องจากประสบการณ์ในอดีต จนไม่อาจไว้วางใจใครได้อีกแล้ว เชื่อว่าหากสถานการณ์เดินต่อไปตามปกติ ยังเชื่อว่าสามารถชักใยให้ ยิ่งลักษณ์ประคองไปได้
แต่กลายเป็นว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ เธอต้องเปลือยตัวตนออกมาให้เห็นจนล่อนจ้อน ว่าที่แท้แล้ว “กลวง” อย่างไม่น่าเชื่อ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็คือ เมื่อเกิดความล้มเหลวดังกล่าวแล้วทำให้ชาวบ้านต้องจับตาจ้องดูความผิดพลาดของนายกฯ ทุกฝีก้าว จนเวลานี้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ต่างจาก “ตัวตลก” โดยสังเกตจากคำพูดที่สะท้อนออกมาให้เห็นว่า เป็นคนไม่มีภูมิความรู้ เหมือนคนไม่อ่านหนังสือจนขาดความรู้รอบตัว
ด้วยความล้มเหลวดังกล่าว มันก็ต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อลดแรงกดดันให้พ้นไปจากตัว ยิ่งลักษณ์ ด้วยการปรับคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆออกไปบ้าง
แต่คำถามก็คือ การปรับคณะรัฐมนตรีจะออกมาในลักษณะใดบ้าง
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์และความจำเป็นบังคับแล้ว มั่นใจว่าการปรับคณะรัฐมนตรีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในราวต้นปีหน้า น่าจะออกมาในลักษณะเป็นการปรับเล็ก สลับเปลี่ยนกันจำกัดเฉพาะภายในพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ซึ่งหากแยกประเภท ก็น่าจะมีอยู่สองอย่าง นั่นคือ อย่างแรก ก็โละทิ้งบางตำแหน่งออกไปแล้วนำคนใหม่เข้ามาแทน แบบนี้ยังเป็นการลดแรงกดดันภายในพรรคลงได้ระดับหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งก็เป็นการสลับตำแหน่งกันเอง โดยบางคนที่ทำหน้ารับใช้ ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าตา ก็อาจได้ขยับเลื่อนขึ้นไปนั่งเก้าอี้สำคัญมากขึ้น
ขณะที่การปรับคณะรัฐมนตรีจากนอกพรรค น่าจะเป็นไปได้น้อยกว่า เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับภารกิจสำคัญที่รออยู่ข้างหน้า และเป็นความหวังครั้งสุดท้ายของ ทักษิณ สำหรับการหวนกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกรอบ
นั่นคือ วาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แน่นอนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้เสียงสนับสนุนจำนวนมาก และหากประกันความชัวร์ก็ต้องมีเสียงมากพอ โดยเฉพาะการดึงเสียงเข้ามาเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น อย่าได้แปลกใจที่ก่อนหน้านี้เริ่มมีข่าวหนาหูว่ามีความพยายามดึง กลุ่มมัชฌิมา ของ สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ซุกอยู่ในพรรคภูมิใจไทย ให้แยกตัวออกมา
สำหรับบรรหาร ศิลปอาชา และพรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีข่าวออกมาตลอดเวลาว่า ทำให้ ทักษิณ ไม่พอใจ โดยอ้างเรื่องการบริหารจัดการน้ำของ ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ล้มเหลว สร้างความเสียหายให้กับ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย กระทบไปถึง ทักษิณ ดังกล่าว
แต่เชื่อว่านั่นเพียงแค่ความเคลื่อนไหวเพื่อต้องการเบี่ยงเบน หรือเป็นช่องทางในการระบายอารมณ์โกรธเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง และความจำเป็นของทักษิณ ในวันหน้าที่จะต้องพึ่งพาเสียงของ พรรคชาติไทยพัฒนา และบรรหาร ขณะเดียวกัน ฝ่ายบรรหารก็ต้องพึ่งพาอีกฝ่าย ต้องการเป็นรัฐบาลต่อไป
เพราะนั่นคือ อำนาจ และงบประมาณสำหรับใช้ในการฟื้นฟูหลังน้ำลดจำนวนมหาศาล คงไม่มีใครอยากตกขบวนแน่นอน
เมื่อวกกลับมาที่การเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายทักษิณ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่าจะเคลื่อนไหวเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่เปิดสภาสมัยสามัญวันที่ 21 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป และหากพิจารณาจากผลที่ออกมา หากสามารถแก้ไขได้สำเร็จ คนที่ได้กำไร มีแต่ได้กับได้ ก็มีแต่เขาเท่านั้น
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการดำเนินการจะมาแบบเป็นขั้นเป็นตอน ประเภทหยั่งเชิงทีละขั้น เช่น เริ่มจากการเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมทั้งพระราชบัญญัติล้างมลทิน แล้วค่อยตามติดมาด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด สำหรับการหวนคืนอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มเห็นการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว และคาดว่าจะดีเดย์ในช่วงเปิดสภาปลายปีนี้ เป็นต้นไป
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากภารกิจและเป้าหมายที่รออยู่ข้างหน้าสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร แล้วก็ต้องหาแนวร่วมและเสียงสนับสนุนให้ได้มากที่สุด และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมเขาถึงไม่กล้าหักบรรหาร ตรงกันข้ามยังต้องหาเสียงมาเพิ่มอีก ซึ่งอย่าได้แปลกใจเมื่อเริ่มมีข่าว “งูเห่า” ในพรรคภูมิใจไทย ด้วยการดึง กลุ่มมัชฌิมา ของ สมศักดิ์ เทพสุทิน มาร่วม อย่างน้อยก็เพื่อประกันความชัวร์ให้ได้มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร
เนื่องจากยังไม่อาจหวังพึ่งวุฒิสภาได้เต็มร้อย และงานนี้ถ้าพลาดอีก ก็คงลากยาวไม่มีกำหนดแน่ !!
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เห็นภาพชัดก็ต้องพิจารณากันไปทีละเรื่อง ทีละประเด็น เริ่มจากการปรับคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งเชื่อว่าต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะนี่คือการกลบเกลื่อน เบี่ยงเบนลดแรงกดดันที่กำลังพุ่งเข้ามาหา นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากล้มเหลว “ห่วยแตก” จากการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของเธอและทีมงาน ในช่วงที่ผ่านมา
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมายของ ทักษิณ ชินวัตร จากเดิมที่ผลักดันให้น้องสาวตัวเองลงมาเป็นนายกฯโคลนนิ่ง ยึดอำนาจรัฐเอาไว้แทน เนื่องจากประสบการณ์ในอดีต จนไม่อาจไว้วางใจใครได้อีกแล้ว เชื่อว่าหากสถานการณ์เดินต่อไปตามปกติ ยังเชื่อว่าสามารถชักใยให้ ยิ่งลักษณ์ประคองไปได้
แต่กลายเป็นว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ เธอต้องเปลือยตัวตนออกมาให้เห็นจนล่อนจ้อน ว่าที่แท้แล้ว “กลวง” อย่างไม่น่าเชื่อ
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็คือ เมื่อเกิดความล้มเหลวดังกล่าวแล้วทำให้ชาวบ้านต้องจับตาจ้องดูความผิดพลาดของนายกฯ ทุกฝีก้าว จนเวลานี้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไม่ต่างจาก “ตัวตลก” โดยสังเกตจากคำพูดที่สะท้อนออกมาให้เห็นว่า เป็นคนไม่มีภูมิความรู้ เหมือนคนไม่อ่านหนังสือจนขาดความรู้รอบตัว
ด้วยความล้มเหลวดังกล่าว มันก็ต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อลดแรงกดดันให้พ้นไปจากตัว ยิ่งลักษณ์ ด้วยการปรับคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆออกไปบ้าง
แต่คำถามก็คือ การปรับคณะรัฐมนตรีจะออกมาในลักษณะใดบ้าง
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์และความจำเป็นบังคับแล้ว มั่นใจว่าการปรับคณะรัฐมนตรีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในราวต้นปีหน้า น่าจะออกมาในลักษณะเป็นการปรับเล็ก สลับเปลี่ยนกันจำกัดเฉพาะภายในพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ซึ่งหากแยกประเภท ก็น่าจะมีอยู่สองอย่าง นั่นคือ อย่างแรก ก็โละทิ้งบางตำแหน่งออกไปแล้วนำคนใหม่เข้ามาแทน แบบนี้ยังเป็นการลดแรงกดดันภายในพรรคลงได้ระดับหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งก็เป็นการสลับตำแหน่งกันเอง โดยบางคนที่ทำหน้ารับใช้ ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าตา ก็อาจได้ขยับเลื่อนขึ้นไปนั่งเก้าอี้สำคัญมากขึ้น
ขณะที่การปรับคณะรัฐมนตรีจากนอกพรรค น่าจะเป็นไปได้น้อยกว่า เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับภารกิจสำคัญที่รออยู่ข้างหน้า และเป็นความหวังครั้งสุดท้ายของ ทักษิณ สำหรับการหวนกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกรอบ
นั่นคือ วาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แน่นอนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้เสียงสนับสนุนจำนวนมาก และหากประกันความชัวร์ก็ต้องมีเสียงมากพอ โดยเฉพาะการดึงเสียงเข้ามาเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น อย่าได้แปลกใจที่ก่อนหน้านี้เริ่มมีข่าวหนาหูว่ามีความพยายามดึง กลุ่มมัชฌิมา ของ สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ซุกอยู่ในพรรคภูมิใจไทย ให้แยกตัวออกมา
สำหรับบรรหาร ศิลปอาชา และพรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีข่าวออกมาตลอดเวลาว่า ทำให้ ทักษิณ ไม่พอใจ โดยอ้างเรื่องการบริหารจัดการน้ำของ ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ล้มเหลว สร้างความเสียหายให้กับ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย กระทบไปถึง ทักษิณ ดังกล่าว
แต่เชื่อว่านั่นเพียงแค่ความเคลื่อนไหวเพื่อต้องการเบี่ยงเบน หรือเป็นช่องทางในการระบายอารมณ์โกรธเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง และความจำเป็นของทักษิณ ในวันหน้าที่จะต้องพึ่งพาเสียงของ พรรคชาติไทยพัฒนา และบรรหาร ขณะเดียวกัน ฝ่ายบรรหารก็ต้องพึ่งพาอีกฝ่าย ต้องการเป็นรัฐบาลต่อไป
เพราะนั่นคือ อำนาจ และงบประมาณสำหรับใช้ในการฟื้นฟูหลังน้ำลดจำนวนมหาศาล คงไม่มีใครอยากตกขบวนแน่นอน
เมื่อวกกลับมาที่การเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายทักษิณ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่าจะเคลื่อนไหวเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่เปิดสภาสมัยสามัญวันที่ 21 ธันวาคมนี้เป็นต้นไป และหากพิจารณาจากผลที่ออกมา หากสามารถแก้ไขได้สำเร็จ คนที่ได้กำไร มีแต่ได้กับได้ ก็มีแต่เขาเท่านั้น
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการดำเนินการจะมาแบบเป็นขั้นเป็นตอน ประเภทหยั่งเชิงทีละขั้น เช่น เริ่มจากการเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมทั้งพระราชบัญญัติล้างมลทิน แล้วค่อยตามติดมาด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด สำหรับการหวนคืนอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มเห็นการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว และคาดว่าจะดีเดย์ในช่วงเปิดสภาปลายปีนี้ เป็นต้นไป
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากภารกิจและเป้าหมายที่รออยู่ข้างหน้าสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร แล้วก็ต้องหาแนวร่วมและเสียงสนับสนุนให้ได้มากที่สุด และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมเขาถึงไม่กล้าหักบรรหาร ตรงกันข้ามยังต้องหาเสียงมาเพิ่มอีก ซึ่งอย่าได้แปลกใจเมื่อเริ่มมีข่าว “งูเห่า” ในพรรคภูมิใจไทย ด้วยการดึง กลุ่มมัชฌิมา ของ สมศักดิ์ เทพสุทิน มาร่วม อย่างน้อยก็เพื่อประกันความชัวร์ให้ได้มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร
เนื่องจากยังไม่อาจหวังพึ่งวุฒิสภาได้เต็มร้อย และงานนี้ถ้าพลาดอีก ก็คงลากยาวไม่มีกำหนดแน่ !!