ภายใต้สังคมที่คนไทยรู้สึกหงุดหงิด อึดอัดกับความอึมครึมของการเมืองที่เหมือนกับการชักเย่อระหว่างบรรดาบริวารหรือผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามผลักดันให้มีการนิรโทษกรรม อภัยโทษหรือวิธีการพิสดารแบบไหนก็ได้ที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาประเทศไทยอย่างสง่าผ่าเผย ไม่มีความผิด ที่สำคัญไม่ต้องติดคุก กับฝ่ายที่ต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือผิดหลักนิติธรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งการยื้อลองกำลังหรือการปะทะทางความคิดได้ขยายวงไปอย่างกว้างขวาง
ทั้งสร้างความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้สังคมไทยติดหล่มทางการเมือง ทางอารมณ์และหลายๆ ครั้งต้องตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์อย่างการเผาที่ราชประสงค์ และที่ดินแดง ฯลฯ ทั้งทำให้คนไทยที่โหยหาความสันติสุขต่างหวั่นวิตกว่าจะหาทางยุติเรื่องที่ทำให้รู้สึกวุ่นวายได้อย่างไร รวมทั้งคำถามที่ว่าสังคมไทยเราจะรอดภัยพิบัตินี้ได้หรือไม่ และใครจะเป็นคนแก้ปัญหา
คำถามข้างต้นจึงเป็นคำถามที่ท้าทาย ด้วยปัญหาในสังคมไทยมักขาดเจ้าภาพในการจัดการ ขาดความสนใจในเรื่องที่เป็นของส่วนรวมหรือขาดจิตใจสาธารณะ เมื่อต้องการจะก้าวข้ามเรื่องราวปัญหาทางการเมือง จึงต้องทำความเข้าใจว่า ตัวเราแม้ไม่ใช่ตัวปัญหาแต่เราเป็นส่วนหนึ่งในปัญหา เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อสังคมมีปัญหาที่มาจากนักการเมืองโกงบ้านโกงเมือง ไม่ทำหน้าที่โดยสุจริต เราต้องไม่ยอมจำนนต่อการทำผิด ใช้อำนาจโดยมิชอบ แต่การจะต่อต้านหรือต่อสู้กับสิ่งใดนั้น “ซุนวู” สอนไว้นับพันปีแล้วว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
การก้าวข้ามเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เช่นกัน ต้องเรียนรู้ ต้องรู้จักทักษิณในมิติต่างๆ อย่างนายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นโคเฒ่าที่ประกาศเป็นผู้ปั้นนายกรัฐมนตรีมาหลายคน ได้ตั้งคำถามในการเขียนบันทึกในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ” ว่า หากต้องการจะรู้ทันทักษิณต้องเข้าใจเสียก่อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนอย่างไร และมีคำบรรยายต่อมาว่า
“ลักษณะเฉพาะและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้อำนาจและบริหารราชการแผ่นดินของทักษิณทั้งหมดนั้น ประกอบขึ้นมาเป็นระบอบทักษิณ ซึ่งมีทั้งระบบการใช้อำนาจและการแสวงหาผลประโยชน์อยู่ร่วมกัน พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนมีวุฒิการศึกษา แต่ขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ ไม่มีสภาวะผู้นำโดยเฉพาะในระดับประเทศ เป็นคนไม่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการ แม้เคยรับราชการตำรวจก็อยู่ไม่นาน และใช้เวลาว่างไปกับการประกอบธุรกิจ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักเสี่ยงโชค ขาดความรอบคอบ เคยประสบปัญหาทางธุรกิจ แลกเช็คและถูกฟ้องเช็คเด้ง นิยมบริหารธุรกิจแบบคิดไวทำไว โดยใช้การตลาดเป็นเครื่องมือ”
ในเรื่องด้านการตลาดนี้นายเสนาะยังยกประเด็นที่ตนเองไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นทะเบียนคนจน เพราะมองว่าขัดกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับตอบว่า “โธ่...พี่เหนาะ คนตาบอดมันกลัวเสือเหรอ ถ้าเราไม่พูดแบบนี้เราจะได้เสียงเหรอ” ซึ่งนายเสนาะในขณะนั้นมองว่า “ไม่ได้จริงใจกับนโยบาย ประกาศไปก่อน ค่อยหาวิธีการทำการตลาดทีหลัง ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าขอให้ได้คะแนนเสียงไว้ก่อน ไม่สนวิธีปฏิบัติราชการ” หรืออย่างโครงการเอสเอ็มแอล นายเสนาะเตือนว่าเข้าข่ายซื้อเสียง เพราะอยู่ในภาวะเลือกตั้ง ทักษิณตอบว่า “โธ่...อำนาจอยู่ที่เรา กกต.ก็คนของเรา”
การวิจารณ์ของนายเสนาะยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประเด็นไม่ว่า “การใช้ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวง โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง และทุกโครงการจัดเก็บสิบเปอร์เซ็นต์เข้าพรรค”
หรือนักการเมืองที่ทักษิณเรียกใช้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นคนที่ไม่ต้องคิดมาก ขอให้ทำตามก็พอ และคนที่อยู่ได้ดีอย่างนายพินิจเคยพูดว่า “ท่านนายกฯ ผมไม่เคยเห็นใครคิดได้ดีเท่านี้เลย” หรือนายเนวินมักพูดว่า “ดีนายๆ” ซึ่งนายเสนาะโยงต่อไปว่า “ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีบางคนในช่วงเทศกาลเลือกตั้งมักมีบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์เกินอยู่เต็มรถ จึงได้รับการฟูมฟักอย่างดีเหนียวแน่น ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ ในช่วงหลัง”
จากการเขียนของนายเสนาะสะท้อนให้เห็นว่าประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณ ไม่ใช่แค่ใช้หลักการตลาด แต่มีรัฐมนตรีขนบัตรผีเป็นปกติ และการทำผิดยังมี กกต.บางคนคอยช่วยเหลือ และแม้ว่าวันนี้ในหลายประเด็นที่เคยวิจารณ์ จะเป็นการถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองก็ตาม นายเสนาะก็อาจลืมไปแล้วว่าพูดอะไร เขียนอะไร ด้วยต้องมาอาศัยชายคาพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ลูกได้เป็นรัฐมนตรี ยอมเสียศักดิ์ศรีหรือเสียสุนัขในยามชรา แต่การเขียนครั้งนั้น ผู้เขียนยังยอมรับว่า การเขียนนายเสนาะมีคำที่ให้คนอ่านจดจำว่าถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า
“ผมเคยหลงคิดว่าคนคนหนึ่ง รวยแล้วกลับใจ คิดใช้หนี้แผ่นดิน
ตอนนี้ผมรู้ความจริงแล้วว่า รวยจากโกงชาติ
กล้าทำแม้เผาบ้านเมืองเพื่อเอาประกัน คนรวยคนนี้รวยแล้วไม่รู้จักพอ
ไม่ใช้หนี้แผ่นดินยังไม่พอ มันยังโกงกิน ทรยศต่อแผ่นดิน”
หรืออย่างนายเสนาะ พูดถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณว่า “ผมอยู่ในเวทีการเมืองมานานกว่า 30 ปี ไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนเลวทรามเท่ากับรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะเป็นรัฐบาลที่โกงทุกอย่างที่ขวางหน้า”
หลายๆ คนคงงงและสงสัยว่าคนที่ประณามกันขนาดนั้น แล้วยังร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมการเมืองของบรรดาผู้ที่ก้าวเข้าสู่วงจรอำนาจ เข้าสู่ห่วงโซ่วงจรอุบาทว์แล้ว คำว่า “การเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ซึ่งหมายถึงผลประโยชน์และอำนาจแบ่งปันกันได้ ก็จะลืมว่าเคยมีอดีตที่คับแค้น จะพากันไปลงนรกที่ไหนก็ไม่แคร์ทั้งนั้น ถ้าให้มีอำนาจ ให้มีผลประโยชน์หรือมีส่วนต่างที่พอใจ
พฤติกรรมนักการเมืองเลวๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันแบบซ้ำซากจนต้องเรียกว่า “สันดานนักการเมือง” นี้เป็นเรื่องที่ยากที่จะแก้ไข อย่างที่คนไทยในอดีตสอนกันมายุคสู่ยุคว่า “สันดอนขุดได้ แต่สันดานขุดไม่ได้” เมื่อต้องการขุดสันดอนทักษิณคงขุดได้ไม่ยาก ลองดูกับคำใบ้ที่นายเสนาะบอกว่าเคยพูดกับ คุณหญิงอ้อ ว่า “น้อง ถ้ามันได้มาอีกแสนล้าน เอาไปทำไม” เขาพากันตอบว่า “ก็รู้ แต่ในเมื่อเล่นการเมืองมันต้องควักเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นธุรกิจ” เคยเตือนหนักๆ ถึงขั้นว่า “ในอนาคต ถ้ามันจะเดือดร้อนหนักๆ คือคนเป็นหัวนะ” (“หัว” คือหัวหน้า) คุณหญิงอ้อ เขาก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า “ก็รู้ แต่ถ้าพี่ทักษิณจะลง ต้องให้พรรคไทยรักไทยมีอำนาจอย่างน้อยสองสมัยถึงจะปลอดภัย”
คำใบ้ที่จะขุดสันดอนก็คือ ตัดวงจรเงินกับวงจรอำนาจ ส่วนสันดานนักการเมืองนั้น ต้องเข้าใจคำว่า “เมื่อเห็นโรง แล้วจึงหลั่งน้ำตา” และมักจะเดินไปพบจุดจบที่น่าเวทนา ด้วยตัวของมันเอง
ทั้งสร้างความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้สังคมไทยติดหล่มทางการเมือง ทางอารมณ์และหลายๆ ครั้งต้องตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์อย่างการเผาที่ราชประสงค์ และที่ดินแดง ฯลฯ ทั้งทำให้คนไทยที่โหยหาความสันติสุขต่างหวั่นวิตกว่าจะหาทางยุติเรื่องที่ทำให้รู้สึกวุ่นวายได้อย่างไร รวมทั้งคำถามที่ว่าสังคมไทยเราจะรอดภัยพิบัตินี้ได้หรือไม่ และใครจะเป็นคนแก้ปัญหา
คำถามข้างต้นจึงเป็นคำถามที่ท้าทาย ด้วยปัญหาในสังคมไทยมักขาดเจ้าภาพในการจัดการ ขาดความสนใจในเรื่องที่เป็นของส่วนรวมหรือขาดจิตใจสาธารณะ เมื่อต้องการจะก้าวข้ามเรื่องราวปัญหาทางการเมือง จึงต้องทำความเข้าใจว่า ตัวเราแม้ไม่ใช่ตัวปัญหาแต่เราเป็นส่วนหนึ่งในปัญหา เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อสังคมมีปัญหาที่มาจากนักการเมืองโกงบ้านโกงเมือง ไม่ทำหน้าที่โดยสุจริต เราต้องไม่ยอมจำนนต่อการทำผิด ใช้อำนาจโดยมิชอบ แต่การจะต่อต้านหรือต่อสู้กับสิ่งใดนั้น “ซุนวู” สอนไว้นับพันปีแล้วว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
การก้าวข้ามเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เช่นกัน ต้องเรียนรู้ ต้องรู้จักทักษิณในมิติต่างๆ อย่างนายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นโคเฒ่าที่ประกาศเป็นผู้ปั้นนายกรัฐมนตรีมาหลายคน ได้ตั้งคำถามในการเขียนบันทึกในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ” ว่า หากต้องการจะรู้ทันทักษิณต้องเข้าใจเสียก่อนว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนอย่างไร และมีคำบรรยายต่อมาว่า
“ลักษณะเฉพาะและตัวตนของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้อำนาจและบริหารราชการแผ่นดินของทักษิณทั้งหมดนั้น ประกอบขึ้นมาเป็นระบอบทักษิณ ซึ่งมีทั้งระบบการใช้อำนาจและการแสวงหาผลประโยชน์อยู่ร่วมกัน พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนมีวุฒิการศึกษา แต่ขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ ไม่มีสภาวะผู้นำโดยเฉพาะในระดับประเทศ เป็นคนไม่มีประสบการณ์ในการบริหารราชการ แม้เคยรับราชการตำรวจก็อยู่ไม่นาน และใช้เวลาว่างไปกับการประกอบธุรกิจ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักเสี่ยงโชค ขาดความรอบคอบ เคยประสบปัญหาทางธุรกิจ แลกเช็คและถูกฟ้องเช็คเด้ง นิยมบริหารธุรกิจแบบคิดไวทำไว โดยใช้การตลาดเป็นเครื่องมือ”
ในเรื่องด้านการตลาดนี้นายเสนาะยังยกประเด็นที่ตนเองไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นทะเบียนคนจน เพราะมองว่าขัดกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับตอบว่า “โธ่...พี่เหนาะ คนตาบอดมันกลัวเสือเหรอ ถ้าเราไม่พูดแบบนี้เราจะได้เสียงเหรอ” ซึ่งนายเสนาะในขณะนั้นมองว่า “ไม่ได้จริงใจกับนโยบาย ประกาศไปก่อน ค่อยหาวิธีการทำการตลาดทีหลัง ไปเสี่ยงเอาข้างหน้าขอให้ได้คะแนนเสียงไว้ก่อน ไม่สนวิธีปฏิบัติราชการ” หรืออย่างโครงการเอสเอ็มแอล นายเสนาะเตือนว่าเข้าข่ายซื้อเสียง เพราะอยู่ในภาวะเลือกตั้ง ทักษิณตอบว่า “โธ่...อำนาจอยู่ที่เรา กกต.ก็คนของเรา”
การวิจารณ์ของนายเสนาะยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประเด็นไม่ว่า “การใช้ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวง โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง และทุกโครงการจัดเก็บสิบเปอร์เซ็นต์เข้าพรรค”
หรือนักการเมืองที่ทักษิณเรียกใช้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นคนที่ไม่ต้องคิดมาก ขอให้ทำตามก็พอ และคนที่อยู่ได้ดีอย่างนายพินิจเคยพูดว่า “ท่านนายกฯ ผมไม่เคยเห็นใครคิดได้ดีเท่านี้เลย” หรือนายเนวินมักพูดว่า “ดีนายๆ” ซึ่งนายเสนาะโยงต่อไปว่า “ด้วยเหตุนี้รัฐมนตรีบางคนในช่วงเทศกาลเลือกตั้งมักมีบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์เกินอยู่เต็มรถ จึงได้รับการฟูมฟักอย่างดีเหนียวแน่น ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ ในช่วงหลัง”
จากการเขียนของนายเสนาะสะท้อนให้เห็นว่าประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณ ไม่ใช่แค่ใช้หลักการตลาด แต่มีรัฐมนตรีขนบัตรผีเป็นปกติ และการทำผิดยังมี กกต.บางคนคอยช่วยเหลือ และแม้ว่าวันนี้ในหลายประเด็นที่เคยวิจารณ์ จะเป็นการถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองก็ตาม นายเสนาะก็อาจลืมไปแล้วว่าพูดอะไร เขียนอะไร ด้วยต้องมาอาศัยชายคาพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ลูกได้เป็นรัฐมนตรี ยอมเสียศักดิ์ศรีหรือเสียสุนัขในยามชรา แต่การเขียนครั้งนั้น ผู้เขียนยังยอมรับว่า การเขียนนายเสนาะมีคำที่ให้คนอ่านจดจำว่าถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า
“ผมเคยหลงคิดว่าคนคนหนึ่ง รวยแล้วกลับใจ คิดใช้หนี้แผ่นดิน
ตอนนี้ผมรู้ความจริงแล้วว่า รวยจากโกงชาติ
กล้าทำแม้เผาบ้านเมืองเพื่อเอาประกัน คนรวยคนนี้รวยแล้วไม่รู้จักพอ
ไม่ใช้หนี้แผ่นดินยังไม่พอ มันยังโกงกิน ทรยศต่อแผ่นดิน”
หรืออย่างนายเสนาะ พูดถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณว่า “ผมอยู่ในเวทีการเมืองมานานกว่า 30 ปี ไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนเลวทรามเท่ากับรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพราะเป็นรัฐบาลที่โกงทุกอย่างที่ขวางหน้า”
หลายๆ คนคงงงและสงสัยว่าคนที่ประณามกันขนาดนั้น แล้วยังร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมการเมืองของบรรดาผู้ที่ก้าวเข้าสู่วงจรอำนาจ เข้าสู่ห่วงโซ่วงจรอุบาทว์แล้ว คำว่า “การเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร” ซึ่งหมายถึงผลประโยชน์และอำนาจแบ่งปันกันได้ ก็จะลืมว่าเคยมีอดีตที่คับแค้น จะพากันไปลงนรกที่ไหนก็ไม่แคร์ทั้งนั้น ถ้าให้มีอำนาจ ให้มีผลประโยชน์หรือมีส่วนต่างที่พอใจ
พฤติกรรมนักการเมืองเลวๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันแบบซ้ำซากจนต้องเรียกว่า “สันดานนักการเมือง” นี้เป็นเรื่องที่ยากที่จะแก้ไข อย่างที่คนไทยในอดีตสอนกันมายุคสู่ยุคว่า “สันดอนขุดได้ แต่สันดานขุดไม่ได้” เมื่อต้องการขุดสันดอนทักษิณคงขุดได้ไม่ยาก ลองดูกับคำใบ้ที่นายเสนาะบอกว่าเคยพูดกับ คุณหญิงอ้อ ว่า “น้อง ถ้ามันได้มาอีกแสนล้าน เอาไปทำไม” เขาพากันตอบว่า “ก็รู้ แต่ในเมื่อเล่นการเมืองมันต้องควักเงิน ก็ต้องถือว่าเป็นธุรกิจ” เคยเตือนหนักๆ ถึงขั้นว่า “ในอนาคต ถ้ามันจะเดือดร้อนหนักๆ คือคนเป็นหัวนะ” (“หัว” คือหัวหน้า) คุณหญิงอ้อ เขาก็ตอบอย่างไม่สะทกสะท้านว่า “ก็รู้ แต่ถ้าพี่ทักษิณจะลง ต้องให้พรรคไทยรักไทยมีอำนาจอย่างน้อยสองสมัยถึงจะปลอดภัย”
คำใบ้ที่จะขุดสันดอนก็คือ ตัดวงจรเงินกับวงจรอำนาจ ส่วนสันดานนักการเมืองนั้น ต้องเข้าใจคำว่า “เมื่อเห็นโรง แล้วจึงหลั่งน้ำตา” และมักจะเดินไปพบจุดจบที่น่าเวทนา ด้วยตัวของมันเอง