ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ปลดล็อก “กทพ.”ไฟเขียวพัฒนาที่ใต้ทางด่วน นำร่อง 5 แห่ง หารายได้เชิงพาณิชย์ สั่งหารือรายละเอียดกับ สศช. จุดไหนทำได้ก่อนเสนอขอดำเนินการอีกครั้ง พร้อมเห็นชอบให้กทพ.จัดเก็บค่าผ่านทาง มอเตอร์เวย์สาย 9 ช่วยกรมทางหลวง
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 ธ.ค.) เห็นชอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อสาธารณะประโยชน์และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เขตทางพิเศษของกทพ. และให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 ซึ่งกทพ.ได้ขอให้ครม.ทบทวนมติ วันที่ 7 ก.ย. 2547 ที่ให้กทพ.ใช้พื้นที่ในเขตทางพิเศษสำหรับด้านจราจรเท่านั้น เพื่อให้กทพ.สามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ นำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลบริหารจัดการโครงการดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มนำร่องพัฒนาพื้นที่ใน 5 แห่งก่อน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้กระทรวงคมนาคม ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกันของพื้นที่นำร่องทั้ง 5 แห่งว่า โครงการใดสามารถดำเนินการได้เลย ก่อนเสนอกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง เพื่อเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ
สำหรับพื้นที่ 5 แห่งนำร่อง ประกอบด้วย 1.บริเวณถนนสีลม พื้นที่ประมาณ 8.4 ไร่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นศูนย์บริการรถขนส่งสาธารณะ ตลาดชุมชน ห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก ลานโล่งสาธารณะ สวนพักผ่อนหย่อนใจ และลานกีฬา 2.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณซอยศาสนา มีแนวคิดพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดระเบียบระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก โดยยกระดับศูนย์บริการรถตู้สาธารณะเดิมให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ส่วนพื้นที่ด้านในซอยอาจจัดเป็นจุดบริการต่อเนื่อง เป็นจุดพักรถตู้คอยก่อนลงคิว และปรับปรุงพื้นที่สวนสาธารณะให้ดียิ่งขึ้น 3.ถนนสุขุมวิทด้านทิศใต้ พื้นที่ประมาณ 4.4 ไร่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นที่จอดรถ ตลาดสินค้า ตลาดอาหาร และลานโล่งสาธารณะ
4.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้โครงสร้างทางพิเศษที่มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ดังนั้น จึงมีแนวคิดใช้พื้นที่เพื่อชุมชน เช่น จัดทำเป็นศูนย์กีฬาและลานกีฬาประเภทต่างๆ รวมถึงการใช้เป็นพื้นที่สีเขียว และเสนอให้สร้างสะพานลอยข้ามในจุดที่ใกล้แยกด้วย และ 5.บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางจตุโชติ
ของทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ มีแนวคิดจัดทำเป็นศูนย์พักรถขนาดใหญ่ สำหรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ เพื่อรองรับกิจกรรมทางอุตสาหกรรมทางด้านเหนือและตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กทพ.เป็นหน่วยงานบริการจัดการจัดเก็บค่าผ่านทาง บำรุงรักษาทาง และงานกู้ภัย บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ที่กม.31+284.46-กม.45+986.31 ให้กับกรมทางหลวง เพื่อนำเงินเข้ากองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ซึ่งกรมทางหลวงและกทพ.จะต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง ทำข้อตกลง เงื่อนไข และวิธีการ ให้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของกทพ.ต่อไป และยังเห็นชอบให้ทบทวนและยกเลิกมติครม.เดิม ที่ให้กรมทางหลวงโอนโครงการทางหลวงพิเศษวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ช่วงถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนสุขสวัสดิ์ ให้กทพ.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและเป็นผู้บริหารโครงการด้วย
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 ธ.ค.) เห็นชอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อสาธารณะประโยชน์และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เขตทางพิเศษของกทพ. และให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 ซึ่งกทพ.ได้ขอให้ครม.ทบทวนมติ วันที่ 7 ก.ย. 2547 ที่ให้กทพ.ใช้พื้นที่ในเขตทางพิเศษสำหรับด้านจราจรเท่านั้น เพื่อให้กทพ.สามารถนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ นำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลบริหารจัดการโครงการดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มนำร่องพัฒนาพื้นที่ใน 5 แห่งก่อน
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้กระทรวงคมนาคม ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกันของพื้นที่นำร่องทั้ง 5 แห่งว่า โครงการใดสามารถดำเนินการได้เลย ก่อนเสนอกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง เพื่อเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ
สำหรับพื้นที่ 5 แห่งนำร่อง ประกอบด้วย 1.บริเวณถนนสีลม พื้นที่ประมาณ 8.4 ไร่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นศูนย์บริการรถขนส่งสาธารณะ ตลาดชุมชน ห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก ลานโล่งสาธารณะ สวนพักผ่อนหย่อนใจ และลานกีฬา 2.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณซอยศาสนา มีแนวคิดพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดระเบียบระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก โดยยกระดับศูนย์บริการรถตู้สาธารณะเดิมให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น ส่วนพื้นที่ด้านในซอยอาจจัดเป็นจุดบริการต่อเนื่อง เป็นจุดพักรถตู้คอยก่อนลงคิว และปรับปรุงพื้นที่สวนสาธารณะให้ดียิ่งขึ้น 3.ถนนสุขุมวิทด้านทิศใต้ พื้นที่ประมาณ 4.4 ไร่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นที่จอดรถ ตลาดสินค้า ตลาดอาหาร และลานโล่งสาธารณะ
4.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้โครงสร้างทางพิเศษที่มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ดังนั้น จึงมีแนวคิดใช้พื้นที่เพื่อชุมชน เช่น จัดทำเป็นศูนย์กีฬาและลานกีฬาประเภทต่างๆ รวมถึงการใช้เป็นพื้นที่สีเขียว และเสนอให้สร้างสะพานลอยข้ามในจุดที่ใกล้แยกด้วย และ 5.บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางจตุโชติ
ของทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ มีแนวคิดจัดทำเป็นศูนย์พักรถขนาดใหญ่ สำหรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ เพื่อรองรับกิจกรรมทางอุตสาหกรรมทางด้านเหนือและตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กทพ.เป็นหน่วยงานบริการจัดการจัดเก็บค่าผ่านทาง บำรุงรักษาทาง และงานกู้ภัย บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ที่กม.31+284.46-กม.45+986.31 ให้กับกรมทางหลวง เพื่อนำเงินเข้ากองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ซึ่งกรมทางหลวงและกทพ.จะต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง ทำข้อตกลง เงื่อนไข และวิธีการ ให้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของกทพ.ต่อไป และยังเห็นชอบให้ทบทวนและยกเลิกมติครม.เดิม ที่ให้กรมทางหลวงโอนโครงการทางหลวงพิเศษวงแหวนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ช่วงถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนสุขสวัสดิ์ ให้กทพ.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการและเป็นผู้บริหารโครงการด้วย