ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ตนได้เดินทางไปเมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ได้ไปประสานราชการกับรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของจีน ที่รับผิดชอบตำรวจทั้งหมดล้านกว่าคน กรณีจะเปิด 4 ประเทศตรวจตราร่วมกัน ตั้งแต่ท่าเรือกวนเหลย มาถึงสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งในวันที่ 10 ธ.ค. ทางจีน จะเปิดสายตรวจจากท่าเรือกวนเหลย ผ่านประเทศพม่า ลาว มาที่สามเหลี่ยมทองคำ และเข้ามาแถบโครงการ คิงโรมัน ประเทศลาว ซึ่งตนได้เดินทางไปกับ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร.
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการเน้นเรื่องยาเสพติดเป็นหลักหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ครับ ตนขอชี้ปัญหาให้เห็นว่า การปล้นทุกครั้งเกิดมาจากกลุ่มหน่อคำ เป็นไทยใหญ่ และเกี่ยวโยงกับนายจำรัส ที่เป็นคนไทยลื้อใน อ.แม่สาย โดยถ้าจะแก้ปัญหานั้นต้องให้จีนพูดกับพม่า และกวาดล้าง ก็จะไม่มีคนปล้น และเมื่อไม่มีคนปล้น ก็ไม่ต้องมาตรวจตราให้เสียเวลา ซึ่งเขาก็เห็นด้วยและขอมาว่า จากนี้ต่อไปอีกสัก 6 เดือน ซึ่งในการไปประชุมครั้งนี้ถือว่าดีมาก
สำหรับความคืบหน้า 13 ศพลูกเรือจีน ตนไม่ขอพูดในรายละเอียด แต่ขบวนการศาลยุติธรรมสมบูรณ์ไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ ความเท็จจริงก็พอชน และจะได้ผู้ต้องหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นการกระทำเฉพาะบุคคลไม่เกี่ยวกับองค์กร
เมื่อถามว่า มีการระบุว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ขอพูด คือทางกรรมาธิการฯนั้นเรียกคนมาถาม แต่ตนนั้นลงไปสอบเอง ตรวจที่เกิดเหตุเอง ความชัดเจนมีมากกว่า
**จีนเปิดเดินเรือ 10 ธ.ค.นี้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางการจีนเตรียมที่จะปล่อยเรือให้สามารถเดินในลุ่มน้ำโขงได้แล้ว หลังจากที่มีการระงับมาก่อนหน้านี้ โดยในวันที่10 ธ.ค.นี้ จะมีการปล่อยเรืออย่างเป็นทางการวันแรก และตนจะเป็นหัวหน้าตัวแทนในพิธีอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลไทยได้วางนโยบายในการดูแลรักษาความปลอดภัยในลุ่มแม่น้ำโขงโดยมีการให้ตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในลุ่มน้ำโขง (ศปข.) ที่มี พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผบช.ภาค 5 ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์ ซึ่ง ศปข.นั้นจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ตำรวจน้ำ ทหารเรือ และกรมเจ้าท่า
ทั้งนี้ ศปข.จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในลุ่มแม่น้ำโขงร่วมกัน 4 ประเทศในพื้นที่ คือ ประเทศไทย จีน ลาว และ พม่า
ในส่วนคดีลูกเรือจีน 13 ศพนั้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายสืบสวนที่นำโดย พล.ต.อ.ภาณุพงษ์ สิงหรา รองผบ.ตร. ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดทำการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ ที่ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อัยการ ซึ่งความคืบหน้าของคดีล่าสุดที่ตนได้รับรายงานมา มีผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัวแล้ว 9 ราย
** ทหารให้ความร่วมมือเต็มที่
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางกองทัพบกให้ความร่วมมือเต็มที่ หากผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่ากันไปตามถูก ขึ้นอยู่กับการสอบสวนของตำรวจจะพิจารณาว่าลึกซึ้งแค่ไหน ขณะนี้ทางทูตจีนก็มีความพอใจที่ทหารมีความเคลื่อนไหวอย่างทันท่วงที ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย ตำรวจก็ดำเนินการได้ถูกต้อง
สำหรับการลาดตระเวนในบริเวณลุ่มน้ำโขง กับคดี 13 ศพ ต้องแยกกัน เพราะเป็นคนละเรื่อง สำหรับการลาดตระเวนก็ให้ดำเนินการต่อไป ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกำลังสืบสวนอยู่ในทางคดี ก็แล้วแต่ว่าทางตำรวจจะส่งให้อัยการ และอัยการจะฟ้องศาลต่อไปหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการไปตามระเบียบกฎหมายของประเทศไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการเน้นเรื่องยาเสพติดเป็นหลักหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ครับ ตนขอชี้ปัญหาให้เห็นว่า การปล้นทุกครั้งเกิดมาจากกลุ่มหน่อคำ เป็นไทยใหญ่ และเกี่ยวโยงกับนายจำรัส ที่เป็นคนไทยลื้อใน อ.แม่สาย โดยถ้าจะแก้ปัญหานั้นต้องให้จีนพูดกับพม่า และกวาดล้าง ก็จะไม่มีคนปล้น และเมื่อไม่มีคนปล้น ก็ไม่ต้องมาตรวจตราให้เสียเวลา ซึ่งเขาก็เห็นด้วยและขอมาว่า จากนี้ต่อไปอีกสัก 6 เดือน ซึ่งในการไปประชุมครั้งนี้ถือว่าดีมาก
สำหรับความคืบหน้า 13 ศพลูกเรือจีน ตนไม่ขอพูดในรายละเอียด แต่ขบวนการศาลยุติธรรมสมบูรณ์ไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ ความเท็จจริงก็พอชน และจะได้ผู้ต้องหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นการกระทำเฉพาะบุคคลไม่เกี่ยวกับองค์กร
เมื่อถามว่า มีการระบุว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ขอพูด คือทางกรรมาธิการฯนั้นเรียกคนมาถาม แต่ตนนั้นลงไปสอบเอง ตรวจที่เกิดเหตุเอง ความชัดเจนมีมากกว่า
**จีนเปิดเดินเรือ 10 ธ.ค.นี้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางการจีนเตรียมที่จะปล่อยเรือให้สามารถเดินในลุ่มน้ำโขงได้แล้ว หลังจากที่มีการระงับมาก่อนหน้านี้ โดยในวันที่10 ธ.ค.นี้ จะมีการปล่อยเรืออย่างเป็นทางการวันแรก และตนจะเป็นหัวหน้าตัวแทนในพิธีอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลไทยได้วางนโยบายในการดูแลรักษาความปลอดภัยในลุ่มแม่น้ำโขงโดยมีการให้ตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในลุ่มน้ำโขง (ศปข.) ที่มี พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผบช.ภาค 5 ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์ ซึ่ง ศปข.นั้นจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ตำรวจน้ำ ทหารเรือ และกรมเจ้าท่า
ทั้งนี้ ศปข.จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในลุ่มแม่น้ำโขงร่วมกัน 4 ประเทศในพื้นที่ คือ ประเทศไทย จีน ลาว และ พม่า
ในส่วนคดีลูกเรือจีน 13 ศพนั้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายสืบสวนที่นำโดย พล.ต.อ.ภาณุพงษ์ สิงหรา รองผบ.ตร. ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดทำการสืบสวนสอบสวนคดีนี้ ที่ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อัยการ ซึ่งความคืบหน้าของคดีล่าสุดที่ตนได้รับรายงานมา มีผู้ต้องหาได้เข้ามอบตัวแล้ว 9 ราย
** ทหารให้ความร่วมมือเต็มที่
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางกองทัพบกให้ความร่วมมือเต็มที่ หากผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่ากันไปตามถูก ขึ้นอยู่กับการสอบสวนของตำรวจจะพิจารณาว่าลึกซึ้งแค่ไหน ขณะนี้ทางทูตจีนก็มีความพอใจที่ทหารมีความเคลื่อนไหวอย่างทันท่วงที ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย ตำรวจก็ดำเนินการได้ถูกต้อง
สำหรับการลาดตระเวนในบริเวณลุ่มน้ำโขง กับคดี 13 ศพ ต้องแยกกัน เพราะเป็นคนละเรื่อง สำหรับการลาดตระเวนก็ให้ดำเนินการต่อไป ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกำลังสืบสวนอยู่ในทางคดี ก็แล้วแต่ว่าทางตำรวจจะส่งให้อัยการ และอัยการจะฟ้องศาลต่อไปหรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการไปตามระเบียบกฎหมายของประเทศไทย