เป็นเรื่องปกติที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่งถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ขึงพืดด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจตลอดทั้งวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2554 จนได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาลอย่างท่วมท้น
การอภิปรายไม่ไว้วางใจกี่ครั้งๆ ก็จะต้องลงเอยอย่างนี้ พวกเขาไว้วางใจกันมาตั้งแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลโน่นแล้ว ยิ่งเป็นรัฐบาลนี้ คือรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วการดำรงอยู่ของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งไม่ได้อยู่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล หากอยู่ที่คนเป็นเจ้าของพรรค คือ ทักษิณ ชินวัตร ที่กำหนดให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นผู้สมัครหมายเลข 1 เป็นนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวง อดีตนายทหาร อดีตนายตำรวจใหญ่ เพียงแต่ต้องเดินตามก้นนางสาวยิ่งลักษณ์ก็พอ
ก่อนที่จะมีการอภิปราย มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กลุ่มชมรมคนรักอุดร กลุ่มชมรมเสียงสตรี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มชมรมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดยโสธร มุกดาหาร อุดรธานีและนครพนม สหพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย กลุ่มครูไทยเพื่อประชาชนจากภาคเหนือ กลุ่มพลังมวลชนชาวอีสาน และสหพันธ์ครูภาคเหนือจากเครือข่ายครูสตรีประมาณ 800 คนเดินทางมาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
ไม่มีรายงานว่า มวลชนที่มาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จะสนใจฟังการอภิปรายของฝ่ายค้านตั้งแต่ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เริ่มเปิดฉากเสนอญัตติ ที่พูดถึงพฤติกรรมการกระทำทุจริต จงใจทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต บริหารราชการโดยขาดจริยธรรม คุณธรรมเพื่อประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มไปจนกระทั่งการอภิปรายของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายศิริโชค โสภา ฯลฯ
การชี้แจงของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก สลับด้วยการประท้วงของนายก่อแก้ว นายสุนัย รวมทั้งลูกกระแป้รายอื่นๆ หรือไม่อย่างไร แต่เชื่อว่าน่าจะไม่สนใจฟัง เพราะภารกิจหลักของพวกเขาคือมาสนับสนุน มาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ และพล.ต.อ.ประชาเท่านั้น
ความคิดความเห็นของคนเหล่านี้ก็คือ อุทกภัยครั้งนี้เป็นภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ ไม่ว่าใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี อุทกภัยครั้งนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว พอใจกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เช่นเดียวกับผลสำรวจที่เอแบคโพล หรือสวนดุสิตโพลไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนมา พวกเขาจะไม่สงสัยว่า เมื่อพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เมื่อได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแล้ว การบริหารจัดการของท่าน สมฉายาอินทรีอีสานอย่างที่ยกยอปอปั้นกันหรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว เสมอเพียงอีแร้ง หรือนกกระจอกเท่านั้น
การลงนามแต่งตั้ง ส.ส.ให้มาจุ้นจ้านในศูนย์มีอำนาจบริหารจัดการข้าวของที่ได้รับบริจาค เช่น เอาข้าวของบริจาคเก็บไว้ให้หัวคะแนน หรือประชาชนที่เป็นฐานเสียง ฐานคะแนนของตน ทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง นำของบริจาค เช่น เรือ ส้วมไปเขียนชื่อตัวเอง ประหนึ่งว่าเป็นคนซื้อหามาเอง เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อข้าวของต่างๆ ส่อให้เห็นการทุจริต มีพยาน หลักฐานให้เห็นชัดเจนทั้งก่อนการอภิปรายของฝ่ายค้าน และหลักฐานต่างๆ ที่ฝ่ายค้านนำมาเปิดเผยในสภา และให้ประชาชนทั่วประเทศได้เห็นนั้น พล.ต.อ.ประชาจะแก้ตัวอย่างไรก็ไม่รอด
เช่นเดียวกับที่รับสารภาพกลางสภาว่า เมื่อได้ลงคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ต่อมาก็ถอนคำสั่ง เมื่อเห็นว่าไม่ถูกต้องนั้น แสดงให้เห็นถึงไม่รู้ ไม่เข้าใจในการบริหารจัดการเลย การอ้างว่า ผ่านการเป็นอธิบดีกรมตำรวจมาแล้ว ผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนระดับพลตำรวจเอกผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว บริหารได้แค่นี้ละหรือ และก็สะท้อนไปถึงคนที่แต่งตั้งพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ให้รับงานใหญ่นี้ ยิ่งแสดงความไม่ประสีประสายิ่งขึ้นไปอีก มิน่าเล่าจึงได้มีคนเข้าใจว่า ศปภ.คือศูนย์ประจานภูมิปัญญา
การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ไม่ต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่จะต้องมีลูกหาบคอยประท้วง คอยขัดจังหวะผู้อภิปราย ทางหนึ่งเพื่อรบกวนสมาธิผู้อภิปรายให้ขาดสมาธิ หงุดหงิด อารมณ์เสีย รบกวนผู้ฟังทางบ้านที่เมื่อเจอการประท้วงที่ไร้สาระก็อาจจะปิดวิทยุ ปิดเครื่องรับโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังเผาเวลาที่ฝ่ายค้านจะได้อภิปราย หรือรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะได้ชี้แจงก็หมดไปกับการประท้วงที่ไร้สาระ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมก็บอกอยู่แล้วว่า พอแล้ว ผมวินิจฉัยแล้ว เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะชี้แจงเอง หรือถ้าหากเกิดความเสียหายกับคนข้างนอกที่ถูกพาดพิง ก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ถูกอภิปรายได้
แต่คนประท้วงหน้าเก่าๆ หน้าเดิมๆ หน้าโง่ๆ ก็ประท้วงซ้ำซากอยู่นั่นเอง มิไยว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมซึ่งก็พรรคเดียวกันจะขอร้องให้นั่งลง ให้หยุดประท้วงก็ไม่ได้ผล
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ถูกขึงพืดกลางสภาต่อหน้าต่อตาประชาชนที่ติดตามฟังการถ่ายทอดทางวิทยุและโทรทัศน์จะต้องได้รับการไว้วางใจ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป นี่คือวิถีของประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยที่พวกเขาเรียกร้องอย่างแข็งขันในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน 2553 จนกระทั่งได้มาให้เห็นนี้แล้ว
การอภิปรายไม่ไว้วางใจกี่ครั้งๆ ก็จะต้องลงเอยอย่างนี้ พวกเขาไว้วางใจกันมาตั้งแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลโน่นแล้ว ยิ่งเป็นรัฐบาลนี้ คือรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วการดำรงอยู่ของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งไม่ได้อยู่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาล หากอยู่ที่คนเป็นเจ้าของพรรค คือ ทักษิณ ชินวัตร ที่กำหนดให้นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นผู้สมัครหมายเลข 1 เป็นนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวง อดีตนายทหาร อดีตนายตำรวจใหญ่ เพียงแต่ต้องเดินตามก้นนางสาวยิ่งลักษณ์ก็พอ
ก่อนที่จะมีการอภิปราย มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กลุ่มชมรมคนรักอุดร กลุ่มชมรมเสียงสตรี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มชมรมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดยโสธร มุกดาหาร อุดรธานีและนครพนม สหพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย กลุ่มครูไทยเพื่อประชาชนจากภาคเหนือ กลุ่มพลังมวลชนชาวอีสาน และสหพันธ์ครูภาคเหนือจากเครือข่ายครูสตรีประมาณ 800 คนเดินทางมาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
ไม่มีรายงานว่า มวลชนที่มาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จะสนใจฟังการอภิปรายของฝ่ายค้านตั้งแต่ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เริ่มเปิดฉากเสนอญัตติ ที่พูดถึงพฤติกรรมการกระทำทุจริต จงใจทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต บริหารราชการโดยขาดจริยธรรม คุณธรรมเพื่อประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มไปจนกระทั่งการอภิปรายของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายศิริโชค โสภา ฯลฯ
การชี้แจงของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก สลับด้วยการประท้วงของนายก่อแก้ว นายสุนัย รวมทั้งลูกกระแป้รายอื่นๆ หรือไม่อย่างไร แต่เชื่อว่าน่าจะไม่สนใจฟัง เพราะภารกิจหลักของพวกเขาคือมาสนับสนุน มาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ และพล.ต.อ.ประชาเท่านั้น
ความคิดความเห็นของคนเหล่านี้ก็คือ อุทกภัยครั้งนี้เป็นภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ ไม่ว่าใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี อุทกภัยครั้งนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว พอใจกับการแก้ปัญหาของรัฐบาล เช่นเดียวกับผลสำรวจที่เอแบคโพล หรือสวนดุสิตโพลไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนมา พวกเขาจะไม่สงสัยว่า เมื่อพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เมื่อได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแล้ว การบริหารจัดการของท่าน สมฉายาอินทรีอีสานอย่างที่ยกยอปอปั้นกันหรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว เสมอเพียงอีแร้ง หรือนกกระจอกเท่านั้น
การลงนามแต่งตั้ง ส.ส.ให้มาจุ้นจ้านในศูนย์มีอำนาจบริหารจัดการข้าวของที่ได้รับบริจาค เช่น เอาข้าวของบริจาคเก็บไว้ให้หัวคะแนน หรือประชาชนที่เป็นฐานเสียง ฐานคะแนนของตน ทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง นำของบริจาค เช่น เรือ ส้วมไปเขียนชื่อตัวเอง ประหนึ่งว่าเป็นคนซื้อหามาเอง เข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อข้าวของต่างๆ ส่อให้เห็นการทุจริต มีพยาน หลักฐานให้เห็นชัดเจนทั้งก่อนการอภิปรายของฝ่ายค้าน และหลักฐานต่างๆ ที่ฝ่ายค้านนำมาเปิดเผยในสภา และให้ประชาชนทั่วประเทศได้เห็นนั้น พล.ต.อ.ประชาจะแก้ตัวอย่างไรก็ไม่รอด
เช่นเดียวกับที่รับสารภาพกลางสภาว่า เมื่อได้ลงคำสั่งแต่งตั้งแล้ว ต่อมาก็ถอนคำสั่ง เมื่อเห็นว่าไม่ถูกต้องนั้น แสดงให้เห็นถึงไม่รู้ ไม่เข้าใจในการบริหารจัดการเลย การอ้างว่า ผ่านการเป็นอธิบดีกรมตำรวจมาแล้ว ผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนระดับพลตำรวจเอกผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว บริหารได้แค่นี้ละหรือ และก็สะท้อนไปถึงคนที่แต่งตั้งพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ให้รับงานใหญ่นี้ ยิ่งแสดงความไม่ประสีประสายิ่งขึ้นไปอีก มิน่าเล่าจึงได้มีคนเข้าใจว่า ศปภ.คือศูนย์ประจานภูมิปัญญา
การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ไม่ต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่จะต้องมีลูกหาบคอยประท้วง คอยขัดจังหวะผู้อภิปราย ทางหนึ่งเพื่อรบกวนสมาธิผู้อภิปรายให้ขาดสมาธิ หงุดหงิด อารมณ์เสีย รบกวนผู้ฟังทางบ้านที่เมื่อเจอการประท้วงที่ไร้สาระก็อาจจะปิดวิทยุ ปิดเครื่องรับโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังเผาเวลาที่ฝ่ายค้านจะได้อภิปราย หรือรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะได้ชี้แจงก็หมดไปกับการประท้วงที่ไร้สาระ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมก็บอกอยู่แล้วว่า พอแล้ว ผมวินิจฉัยแล้ว เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะชี้แจงเอง หรือถ้าหากเกิดความเสียหายกับคนข้างนอกที่ถูกพาดพิง ก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องผู้ถูกอภิปรายได้
แต่คนประท้วงหน้าเก่าๆ หน้าเดิมๆ หน้าโง่ๆ ก็ประท้วงซ้ำซากอยู่นั่นเอง มิไยว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมซึ่งก็พรรคเดียวกันจะขอร้องให้นั่งลง ให้หยุดประท้วงก็ไม่ได้ผล
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ถูกขึงพืดกลางสภาต่อหน้าต่อตาประชาชนที่ติดตามฟังการถ่ายทอดทางวิทยุและโทรทัศน์จะต้องได้รับการไว้วางใจ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อยู่บริหารบ้านเมืองต่อไป นี่คือวิถีของประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยที่พวกเขาเรียกร้องอย่างแข็งขันในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน 2553 จนกระทั่งได้มาให้เห็นนี้แล้ว