ASTVผู้จัดการรายวัน-ตั้งงบฟื้นฟูเยียวยา โครงสร้างพื้นฐานหลังน้ำลด 1.84หมื่นล้านบาท กก.ฟื้นฟู เยียวยา (กฟย.)ที่มี"ยงยุทธ"เป็นประธานเห็นชอบชงครม.พิจารณาวันนี้(15 พ.ย.) เผยถนนของทล.และทช. เสียหาย1,257สายทางวงเงิน 1.6หมื่นล้านบาท ส่วนดอนมืองเบื้องต้นตั้งงบเกือบ1,000ล้านบาทฟื้นฟูทางวิ่งทางขับ ส่วนอาคารและระบบต่างๆคาดต้องใช้อีกกว่า1,000ล้านด้าน"สุกำพล"คาดเปิดให้บริการต้นปีหน้า
วานนี้(14 พ.ย) คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย(กฟย.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน(กคฐ.) ที่มีพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานได้ประชุมร่วมกันโดยพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า กฟย.ได้เห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 3 รายการตามที่กคฐ.เสนอ โดยใช้งบประมาณฟื้นฟูรวม 18,441.011 ล้านบาท โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติในวันนี้ (15 พ.ย.)
พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า การฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานจะประกอบด้วย การฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือทอท. วงเงินประมาณ 965 ล้านบาท แบ่งเป็น งานฟื้นฟูทางวิ่งทางขับและลานจอดอากาศยานฝั่งตะวันออก วงเงิน 489.20 ล้านบาทเป็นงบประมาณแผ่นดิน ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน หลังจากน้ำลด และงานฟื้นฟูอาคารผู้โดยสารหมายเลข 1 ทางวิ่งทางขับและลานจอดฝั่งตะวันตก อาคารสำนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง และระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 475.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณของทอท.เอง ใช้เวลาดำเนินการ 60 วันเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการฟื้นฟูดังกล่าว เป็นเพียงงบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ดำเนินการเท่านั้นเนื่องจากการฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมืองยังต้องดำเนินการอีกหลายส่วนเช่น การฟื้นฟูอาอาคารผู้โดยสาร 2 และ 3 เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณฟื้นฟูประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท โดยงบประมาณในส่วนนี้ ทางทอท.จะต้องใช้งบของตัวเองเพราะรัฐบาลจะช่วยเหลือในส่วนของงบประมาณเบื้องต้นที่กำหนดไว้เท่านั้น
ส่วนการฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวง ทั้งเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สำคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งโครงข่ายต่อเนื่องรวม 708 โครงการ (สายทาง)ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาทโดยเป็นเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สำคัญ21 สายทาง 31 โครงการ ในฟื้นที่สำนักงานทางหลวงที่ 9(ลพบุรี) สำนักงานทางหลวงที่ 10(สุพรรณบุรี) และสำนักงานทางหลวงที่ 11(กรุงเทพฯ)จะใช้เวลาฟื้นฟูไม่เกิน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธ.ค.54-ก.พ.55 วงเงิน 1,879.851 ล้านบาท และโครงข่ายต่อเนื่อง จากทางสายหลักและโครงข่ายสำคัญในพื้นที่ทั่วประเทศ 677 โครงการ ใช้เวลาไม่เกิน 9 เดือน ตั้งแต่เดือนธ.ค.-ส.ค.55 วงเงิน 10,019.22 ล้านบาท
สำหรับการซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ที่ได้รับความเสียหาย 549 สายทาง จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4,594.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเส้นทางหลักที่สนับสนุนการขนส่งลอจิสติกส์ และเส้นทางเข้านิคมอุตสาหกรรม จำนวน 4 สายทาง วงเงิน 78 ล้านบาท และเส้นทางสายรองที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 454 สายทาง วงเงิน 4,516.3 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน หลังจากน้ำลด
ในส่วนการฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเร่งฟื้นฟูโดยเน้นสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจริงหลังจากระดับน้ำลดลงจำนวน 34 จังหวัด รวม 799 แห่ง เพื่อให้ทันต่อการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ โดยจะฟื้นฟูทั้งสถานศึกษา และครุภัณฑ์สื่อการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ครั้ง ใช้เงินรวม 982.64 ล้านบาท
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ที่ประชุมวันที่ยังไม่ได้พิจารณางบประมาณในการซ่อมแซมระบบรางรถไฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางไปภาคเหนือ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังมีงบประมาณของตัวเองซ่อมแซมได้ ซึ่งหลังจากน้ำลดระดับลงจะสำรวจเส้นทางอีกครั้งก่อนสรุปรายละเอียดและรายงานมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงวัฒนธรรมยังได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณางบประมาณในการซ่อมแซมโบราณสถานที่สำคัญโดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับผลกระทบและเสียหาย รวมไปถึงวัดในพื้นที่ต่างๆ เป็นวงเงินรวมราว 400 ล้านบาท โดยเสนอให้ที่ประชุมเห็นชอบและนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.เลย แต่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ซึ่งเป็นประธานกฟย.ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการด้านศาสนสถาน และโบราณสถานของกคฐ.มาก่อน จึงกลัวว่าหากอนุมัติไปแล้วอาจมีปัญหาได้ ดังนั้นจึงสั่งให้กระทรวงวัฒนธรรมกลับไปทำรายละเอียดเสนอเรื่องให้คณะอนุฯให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงเสนอขึ้นมาตามขั้นตอน
วานนี้(14 พ.ย) คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย(กฟย.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน(กคฐ.) ที่มีพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานได้ประชุมร่วมกันโดยพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า กฟย.ได้เห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 3 รายการตามที่กคฐ.เสนอ โดยใช้งบประมาณฟื้นฟูรวม 18,441.011 ล้านบาท โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติในวันนี้ (15 พ.ย.)
พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า การฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานจะประกอบด้วย การฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือทอท. วงเงินประมาณ 965 ล้านบาท แบ่งเป็น งานฟื้นฟูทางวิ่งทางขับและลานจอดอากาศยานฝั่งตะวันออก วงเงิน 489.20 ล้านบาทเป็นงบประมาณแผ่นดิน ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน หลังจากน้ำลด และงานฟื้นฟูอาคารผู้โดยสารหมายเลข 1 ทางวิ่งทางขับและลานจอดฝั่งตะวันตก อาคารสำนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง และระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 475.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณของทอท.เอง ใช้เวลาดำเนินการ 60 วันเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการฟื้นฟูดังกล่าว เป็นเพียงงบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ดำเนินการเท่านั้นเนื่องจากการฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมืองยังต้องดำเนินการอีกหลายส่วนเช่น การฟื้นฟูอาอาคารผู้โดยสาร 2 และ 3 เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณฟื้นฟูประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท โดยงบประมาณในส่วนนี้ ทางทอท.จะต้องใช้งบของตัวเองเพราะรัฐบาลจะช่วยเหลือในส่วนของงบประมาณเบื้องต้นที่กำหนดไว้เท่านั้น
ส่วนการฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวง ทั้งเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สำคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งโครงข่ายต่อเนื่องรวม 708 โครงการ (สายทาง)ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 11,899.071 ล้านบาทโดยเป็นเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สำคัญ21 สายทาง 31 โครงการ ในฟื้นที่สำนักงานทางหลวงที่ 9(ลพบุรี) สำนักงานทางหลวงที่ 10(สุพรรณบุรี) และสำนักงานทางหลวงที่ 11(กรุงเทพฯ)จะใช้เวลาฟื้นฟูไม่เกิน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธ.ค.54-ก.พ.55 วงเงิน 1,879.851 ล้านบาท และโครงข่ายต่อเนื่อง จากทางสายหลักและโครงข่ายสำคัญในพื้นที่ทั่วประเทศ 677 โครงการ ใช้เวลาไม่เกิน 9 เดือน ตั้งแต่เดือนธ.ค.-ส.ค.55 วงเงิน 10,019.22 ล้านบาท
สำหรับการซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ที่ได้รับความเสียหาย 549 สายทาง จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4,594.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเส้นทางหลักที่สนับสนุนการขนส่งลอจิสติกส์ และเส้นทางเข้านิคมอุตสาหกรรม จำนวน 4 สายทาง วงเงิน 78 ล้านบาท และเส้นทางสายรองที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 454 สายทาง วงเงิน 4,516.3 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน หลังจากน้ำลด
ในส่วนการฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเร่งฟื้นฟูโดยเน้นสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจริงหลังจากระดับน้ำลดลงจำนวน 34 จังหวัด รวม 799 แห่ง เพื่อให้ทันต่อการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ โดยจะฟื้นฟูทั้งสถานศึกษา และครุภัณฑ์สื่อการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ครั้ง ใช้เงินรวม 982.64 ล้านบาท
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ที่ประชุมวันที่ยังไม่ได้พิจารณางบประมาณในการซ่อมแซมระบบรางรถไฟที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะเส้นทางไปภาคเหนือ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังมีงบประมาณของตัวเองซ่อมแซมได้ ซึ่งหลังจากน้ำลดระดับลงจะสำรวจเส้นทางอีกครั้งก่อนสรุปรายละเอียดและรายงานมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงวัฒนธรรมยังได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณางบประมาณในการซ่อมแซมโบราณสถานที่สำคัญโดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับผลกระทบและเสียหาย รวมไปถึงวัดในพื้นที่ต่างๆ เป็นวงเงินรวมราว 400 ล้านบาท โดยเสนอให้ที่ประชุมเห็นชอบและนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.เลย แต่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ซึ่งเป็นประธานกฟย.ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการด้านศาสนสถาน และโบราณสถานของกคฐ.มาก่อน จึงกลัวว่าหากอนุมัติไปแล้วอาจมีปัญหาได้ ดังนั้นจึงสั่งให้กระทรวงวัฒนธรรมกลับไปทำรายละเอียดเสนอเรื่องให้คณะอนุฯให้ความเห็นชอบก่อน จากนั้นจึงเสนอขึ้นมาตามขั้นตอน