วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ. นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด verapat@post.harvard.edu.
ผู้เขียนขอเสนอแนวคิด “ท่วมหมื่นชื่อ” http://www.facebook.com/10000flood เป็น “แนวคิดไม่ปิดตาย” ที่หวังผลิก "วิกฤตอุทกภัย” มาเป็น "โอกาสประชาธิปไตย” เพื่อฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นสุขถ้วนหน้าและแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
วิกฤตเวลานี้แม้ความช่วยเหลือจะมีมาก แต่ที่มากยิ่งกว่า คือ พวกเราที่ยังรอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และพวกเราที่กะจะช่วยแต่ไม่ได้ช่วยเสียที ยิ่งไปกว่านั้น การฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลดต้องใช้เวลาและเงินเกินกว่ากำลังอาสาสมัครหรือการบริจาค และไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งของ เช่น บ้านเรือนไร่นาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฟื้นฟูเชิงโครงสร้าง เช่น การกู้อุตสาหกรรม การช่วยเหลือผู้ตกงาน ตลอดจนการเยียวยาจิตใจซึ่งวันนี้ยังมีคำถามคาใจที่ไม่รู้จะเชื่อคำใคร
ล่าสุดรัฐบาลได้พิจารณาใช้เงินมหาศาลฟื้นฟูประเทศ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าจะนำเงินมาจากไหน หรือจะบริหารได้ดีหรือโปร่งใสเพียงใด
ในยามเช่นนี้ พวกเราซึ่งเป็นเจ้าของประเทศระดมพลังประชาธิปไตยเพื่อร่วมแก้วิกฤตได้ กล่าวคือ คนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 หมื่นคนขึ้นไป สามารถใช้สิทธิร่วมลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเยียวยาฟื้นฟูประเทศ และผลักดันผ่านรัฐสภาให้เป็นกฎหมายประชาชน "ฉบับแรกในประวัติศาสตร์” โดยไม่ต้องและต้องไม่ให้นักการเมืองเป็นผู้กุมชะตาพวกเราไว้ฝ่ายเดียว
แนวคิดกฎหมายจากประชาชนท่วมหมื่นชื่อที่ว่า อาจมีหลักการดังนี้
หลักการรวมใจแบ่งเบาภาระ
พวกเราที่ไม่ได้เสียหายจากวิกฤตอุทกภัย หรือเสียหายน้อยมาก ยินยอมพร้อมใจให้รัฐบาลเก็บรายได้พิเศษ ตามกำลังจ่ายของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยเยียวยาพวกเราส่วนที่ยังเสียหายอย่างสาหัส โดยวิธีที่ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม เช่น การเพิ่มภาษีที่มีการจัดเก็บอยู่แล้ว หรือการเพิ่มค่าน้ำค่าไฟที่จ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว
การเก็บรายได้ควรยกเว้นไม่เก็บจากผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่เสียหายมาก อาจยกเว้นนิติบุคคลเพื่อไม่กระทบต่อการลงทุน และอาจเปิดช่องให้พวกเราสามารถนำเงินที่จ่ายไปให้รัฐบาลหักกลับคืนมาได้บางส่วน โดยเรายินดีช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนละเล็กละน้อยตามความสามารถ แต่ทำอย่างโปร่งใส เป็นระบบและพร้อมเพรียงกัน เพื่อระดมทุนแก้วิกฤตของประเทศ
กรณีดังกล่าวไม่ใช่การขึ้นภาษีเพื่อลงโทษคนที่ไม่ถูกท่วม แต่เป็นข้อเสนอที่อาศัยกระบวนการประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างพร้อมเพรียงตามกำลังความสามารถ เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
เงินที่รัฐบาลเก็บจากพวกเราไม่ได้ให้รัฐบาลนำไปใช้เองอย่างเดียว แต่ต้องแบ่งไปสนับสนุนอาสาสมัครหรือองค์กรท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาเป็นไปอย่างทั่วถึง
หลักการประหยัด
นอกจากรัฐบาลจะเก็บรายได้เพิ่มจากพวกเราแล้ว รัฐบาลต้องเสนอมาตรการตัดลดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งแจกแจงให้พวกเราทราบว่าได้ตัดงบประมาณส่วนใดจากโครงการใดเพื่อนำมาช่วยพวกเราและฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน
หลักการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
กฎหมายให้อำนาจรัฐบาลนำรายได้ที่จัดเก็บไปใช้รักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของคนไทยทุกคน เช่น การจ้างงาน การฟื้นฟูพัฒนาจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ การซ่อมแซมนิคมอุตสาหกรรม การปรับปรุงระบบระบายน้ำ ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่กลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ
หลักการค้นหาความจริง
กฎหมายฉบับนี้จัดให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อรายงานพวกเราว่าวิกฤตครั้งนี้เกิดอะไรขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอมีอะไรบ้างที่จริงหรือไม่จริง มีอะไรบ้างที่พลาดพลั้งไป และประเทศไทยจะมีวิธีเตรียมตัวป้องกันรับมือปัญหาในอนาคตอย่างไร ทั้งนี้ กฎหมายอาจกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการอิสระ มิใช่ปล่อยเงียบจนเรื่องถูกกลบลบหายไป
หลักการป้องกันแก้ไขระยะยาว
กฎหมายฉบับนี้กำหนดกรอบเวลาให้นำความจริงที่ได้รับการตรวจสอบมาตีแผ่พร้อมนำเสนอแผนการแก้ไขต่อประชาชนเพื่อรับฟังความเห็นและนำไปดำเนินการแก้ไขให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่นำขึ้นหิ้งแล้วลืมเหมือนทุกครั้ง
หลักการใช้แล้วไม่ต้องทิ้ง
กฎหมายที่เสนอสามารถนำไปใช้ได้ต่อไปในอนาคตหากเกิดวิกฤตร้ายแรง โดยเปิดช่องให้รัฐบาลขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อเสนอมาตรการพิเศษสำหรับเฉพาะคราวในกรอบเวลาที่จำกัด ส่วนเงินที่เก็บจากพวกเราก็นำไปก็เก็บไว้ในกองทุนเพื่อรับมือแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ต่อเนื่องเช่นกัน
แนวคิดนี้ปฏิบัติได้จริงหรือ?
ในประวัติศาสตร์ชาติไทยยังไม่เคยมีร่างกฎหมายฉบับใดที่เสนอโดยประชาชนและผ่านสภาจนกลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริง ในทางหนึ่งจึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะอาศัยวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้เป็นแรงเคลื่อนประชาธิปไตยไทยให้ก้าวไปอีกขั้น อย่างน้อยก็โดยการเรียนรู้และร่วมจดจำใบหน้าและนามสกุลของผู้ที่ปฏิเสธเสียงของประชาชนอย่างไร้เหตุผล
ตรงกันข้าม หากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดมีแนวคิดตรงกันหรือได้แรงบันดาลใจจากประชาชน ก็ทำหน้าที่ผู้แทนโดยการนำแนวคิดนี้ไปปรับปรุงและเสนอต่อสภาได้เช่นกัน
ผู้เขียนได้นำแนวคิดเหล่านี้มาจัดทำเป็น "ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ...” โดยมีเนื้อหาเป็นกรอบทางกฎหมายให้รัฐบาลและรัฐสภาสามารถร่วมกันกำหนดมาตรการและรายละเอียดที่เหมาะสมว่าจะจัดเก็บรายได้เมื่อใด โดยวิธีใด นานแค่ไหน ใครได้รับการยกเว้นอย่างไร ฯลฯ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจพร้อมให้นำไปเข้าชื่อเพื่อเสนอต่อสภา แต่ก็ยังมีประเด็นที่สามารถนำไปถกเถียงและแก้ไขต่อไป อีกทั้งเสียงที่โต้แย้งด้วยเหตุผลอันหนักแน่นย่อมมีคุณค่าทางประชาธิปไตยยิ่งกว่าเสียงชมตามอารมณ์หรือมารยาทยิ่งนัก
จึงขอเชิญชวนพวกเราร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับ "ท่วมหมื่นชื่อ” และ "ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ...” ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ และช่วยกันปรับปรุงแก้ไข วิพากษ์วิจารณ์ หรือเสนอร่างอื่นได้อย่างอิสระได้ที่เพจ “ท่วมหมื่นชื่อ” http://www.facebook.com/10000flood
นักกฎหมายอิสระ. นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด verapat@post.harvard.edu.
ผู้เขียนขอเสนอแนวคิด “ท่วมหมื่นชื่อ” http://www.facebook.com/10000flood เป็น “แนวคิดไม่ปิดตาย” ที่หวังผลิก "วิกฤตอุทกภัย” มาเป็น "โอกาสประชาธิปไตย” เพื่อฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นสุขถ้วนหน้าและแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
วิกฤตเวลานี้แม้ความช่วยเหลือจะมีมาก แต่ที่มากยิ่งกว่า คือ พวกเราที่ยังรอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และพวกเราที่กะจะช่วยแต่ไม่ได้ช่วยเสียที ยิ่งไปกว่านั้น การฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลดต้องใช้เวลาและเงินเกินกว่ากำลังอาสาสมัครหรือการบริจาค และไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งของ เช่น บ้านเรือนไร่นาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฟื้นฟูเชิงโครงสร้าง เช่น การกู้อุตสาหกรรม การช่วยเหลือผู้ตกงาน ตลอดจนการเยียวยาจิตใจซึ่งวันนี้ยังมีคำถามคาใจที่ไม่รู้จะเชื่อคำใคร
ล่าสุดรัฐบาลได้พิจารณาใช้เงินมหาศาลฟื้นฟูประเทศ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าจะนำเงินมาจากไหน หรือจะบริหารได้ดีหรือโปร่งใสเพียงใด
ในยามเช่นนี้ พวกเราซึ่งเป็นเจ้าของประเทศระดมพลังประชาธิปไตยเพื่อร่วมแก้วิกฤตได้ กล่าวคือ คนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 หมื่นคนขึ้นไป สามารถใช้สิทธิร่วมลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเยียวยาฟื้นฟูประเทศ และผลักดันผ่านรัฐสภาให้เป็นกฎหมายประชาชน "ฉบับแรกในประวัติศาสตร์” โดยไม่ต้องและต้องไม่ให้นักการเมืองเป็นผู้กุมชะตาพวกเราไว้ฝ่ายเดียว
แนวคิดกฎหมายจากประชาชนท่วมหมื่นชื่อที่ว่า อาจมีหลักการดังนี้
หลักการรวมใจแบ่งเบาภาระ
พวกเราที่ไม่ได้เสียหายจากวิกฤตอุทกภัย หรือเสียหายน้อยมาก ยินยอมพร้อมใจให้รัฐบาลเก็บรายได้พิเศษ ตามกำลังจ่ายของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยเยียวยาพวกเราส่วนที่ยังเสียหายอย่างสาหัส โดยวิธีที่ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม เช่น การเพิ่มภาษีที่มีการจัดเก็บอยู่แล้ว หรือการเพิ่มค่าน้ำค่าไฟที่จ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว
การเก็บรายได้ควรยกเว้นไม่เก็บจากผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่เสียหายมาก อาจยกเว้นนิติบุคคลเพื่อไม่กระทบต่อการลงทุน และอาจเปิดช่องให้พวกเราสามารถนำเงินที่จ่ายไปให้รัฐบาลหักกลับคืนมาได้บางส่วน โดยเรายินดีช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนละเล็กละน้อยตามความสามารถ แต่ทำอย่างโปร่งใส เป็นระบบและพร้อมเพรียงกัน เพื่อระดมทุนแก้วิกฤตของประเทศ
กรณีดังกล่าวไม่ใช่การขึ้นภาษีเพื่อลงโทษคนที่ไม่ถูกท่วม แต่เป็นข้อเสนอที่อาศัยกระบวนการประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างพร้อมเพรียงตามกำลังความสามารถ เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
เงินที่รัฐบาลเก็บจากพวกเราไม่ได้ให้รัฐบาลนำไปใช้เองอย่างเดียว แต่ต้องแบ่งไปสนับสนุนอาสาสมัครหรือองค์กรท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาเป็นไปอย่างทั่วถึง
หลักการประหยัด
นอกจากรัฐบาลจะเก็บรายได้เพิ่มจากพวกเราแล้ว รัฐบาลต้องเสนอมาตรการตัดลดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งแจกแจงให้พวกเราทราบว่าได้ตัดงบประมาณส่วนใดจากโครงการใดเพื่อนำมาช่วยพวกเราและฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน
หลักการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
กฎหมายให้อำนาจรัฐบาลนำรายได้ที่จัดเก็บไปใช้รักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของคนไทยทุกคน เช่น การจ้างงาน การฟื้นฟูพัฒนาจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ การซ่อมแซมนิคมอุตสาหกรรม การปรับปรุงระบบระบายน้ำ ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่กลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ
หลักการค้นหาความจริง
กฎหมายฉบับนี้จัดให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อรายงานพวกเราว่าวิกฤตครั้งนี้เกิดอะไรขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอมีอะไรบ้างที่จริงหรือไม่จริง มีอะไรบ้างที่พลาดพลั้งไป และประเทศไทยจะมีวิธีเตรียมตัวป้องกันรับมือปัญหาในอนาคตอย่างไร ทั้งนี้ กฎหมายอาจกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการอิสระ มิใช่ปล่อยเงียบจนเรื่องถูกกลบลบหายไป
หลักการป้องกันแก้ไขระยะยาว
กฎหมายฉบับนี้กำหนดกรอบเวลาให้นำความจริงที่ได้รับการตรวจสอบมาตีแผ่พร้อมนำเสนอแผนการแก้ไขต่อประชาชนเพื่อรับฟังความเห็นและนำไปดำเนินการแก้ไขให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่นำขึ้นหิ้งแล้วลืมเหมือนทุกครั้ง
หลักการใช้แล้วไม่ต้องทิ้ง
กฎหมายที่เสนอสามารถนำไปใช้ได้ต่อไปในอนาคตหากเกิดวิกฤตร้ายแรง โดยเปิดช่องให้รัฐบาลขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อเสนอมาตรการพิเศษสำหรับเฉพาะคราวในกรอบเวลาที่จำกัด ส่วนเงินที่เก็บจากพวกเราก็นำไปก็เก็บไว้ในกองทุนเพื่อรับมือแก้ไขปัญหาในอนาคตได้ต่อเนื่องเช่นกัน
แนวคิดนี้ปฏิบัติได้จริงหรือ?
ในประวัติศาสตร์ชาติไทยยังไม่เคยมีร่างกฎหมายฉบับใดที่เสนอโดยประชาชนและผ่านสภาจนกลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริง ในทางหนึ่งจึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะอาศัยวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้เป็นแรงเคลื่อนประชาธิปไตยไทยให้ก้าวไปอีกขั้น อย่างน้อยก็โดยการเรียนรู้และร่วมจดจำใบหน้าและนามสกุลของผู้ที่ปฏิเสธเสียงของประชาชนอย่างไร้เหตุผล
ตรงกันข้าม หากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดมีแนวคิดตรงกันหรือได้แรงบันดาลใจจากประชาชน ก็ทำหน้าที่ผู้แทนโดยการนำแนวคิดนี้ไปปรับปรุงและเสนอต่อสภาได้เช่นกัน
ผู้เขียนได้นำแนวคิดเหล่านี้มาจัดทำเป็น "ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ...” โดยมีเนื้อหาเป็นกรอบทางกฎหมายให้รัฐบาลและรัฐสภาสามารถร่วมกันกำหนดมาตรการและรายละเอียดที่เหมาะสมว่าจะจัดเก็บรายได้เมื่อใด โดยวิธีใด นานแค่ไหน ใครได้รับการยกเว้นอย่างไร ฯลฯ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจพร้อมให้นำไปเข้าชื่อเพื่อเสนอต่อสภา แต่ก็ยังมีประเด็นที่สามารถนำไปถกเถียงและแก้ไขต่อไป อีกทั้งเสียงที่โต้แย้งด้วยเหตุผลอันหนักแน่นย่อมมีคุณค่าทางประชาธิปไตยยิ่งกว่าเสียงชมตามอารมณ์หรือมารยาทยิ่งนัก
จึงขอเชิญชวนพวกเราร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับ "ท่วมหมื่นชื่อ” และ "ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ...” ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ และช่วยกันปรับปรุงแก้ไข วิพากษ์วิจารณ์ หรือเสนอร่างอื่นได้อย่างอิสระได้ที่เพจ “ท่วมหมื่นชื่อ” http://www.facebook.com/10000flood