ASTVผู้จัดการรายวัน-รฟม.มั่นใจแผนป้องกันรถไฟฟ้าใต้ดิน รับมือน้ำท่วมได้ เผยหากวิกฤติสุด น้ำท่วมสูงจะปิดเป็นรายสถานี ส่วนการย้ายสายใต้ใหม่ไปโรงเบียร์ฮอลแลนด์ยังวุ่นวาย
นายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งผนังกั้นน้ำ และปิดประตูทางเข้าออกสถานีบางจุดทั้ง 18 สถานี มาอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าเป็นห่วงขณะนี้ และมั่นใจว่ารถไฟฟ้าใต้ดินจะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่รถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการได้ โดยการออกแบบรถไฟฟ้าใต้ดินมีการวางแผนรับมือและปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ เช่น การติดตั้งประตูปิดสถานีที่สามารถป้องกันน้ำเข้าภายในสถานีได้ จึงไม่น่าเป็นห่วงว่าน้ำจะไหลเข้าไปภายในสถานี
ทั้งนี้ สถานีที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกจากปัญหาของน้ำที่ไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง คือ สถานีพหลโยธิน สถานีลาดพร้าว และสถานีรัชดาภิเษก ซึ่งทั้ง 3 สถานีดังกล่าวได้เตรียมรองรับไว้แล้ว โดยมาตรการสูงสุดกรณีมีน้ำท่วมสูง คือ การปิดสถานีที่ได้รับผลกระทบนั้นๆ แต่ยังยืนยันที่จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งระบบต่อไป ส่วนสถานีที่อาจจะได้รับผลกระทบเป็นลำดับถัดไป คือ สถานีจตุจักร และสถานีบางซื่อ
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า จากการที่บขส.ได้ย้ายสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ไปให้บริการที่โรงเบียร์ฮอลแลนด์ ถนนพระราม 2 เป็นการชั่วคราวตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 31 ต.ค.2554 ปรากฏว่าขณะนี้การให้บริการยังมีความวุ่นวาย และผู้โดยสารยังมีความไม่สะดวกสบายเท่าใด เนื่องจากพื้นที่จำกัด ห้องน้ำมีไม่เพียงพอ ซึ่งได้ประสานงานไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) นำรถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการ โดยขอความร่วมมือผู้โดยสารให้เดินทางมาใกล้ๆ เวลารถออก เพื่อลดความแออัดภายในพื้นที่ และขอความร่วมมือให้รถร่วมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ให้ไปจอดที่อู่รถของตัวเอง โดยจะประสานให้รถขสมก.บริการไปส่งที่อู่ของรถร่วม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้บริการจะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
นายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งผนังกั้นน้ำ และปิดประตูทางเข้าออกสถานีบางจุดทั้ง 18 สถานี มาอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าเป็นห่วงขณะนี้ และมั่นใจว่ารถไฟฟ้าใต้ดินจะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่รถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการได้ โดยการออกแบบรถไฟฟ้าใต้ดินมีการวางแผนรับมือและปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ เช่น การติดตั้งประตูปิดสถานีที่สามารถป้องกันน้ำเข้าภายในสถานีได้ จึงไม่น่าเป็นห่วงว่าน้ำจะไหลเข้าไปภายในสถานี
ทั้งนี้ สถานีที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกจากปัญหาของน้ำที่ไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง คือ สถานีพหลโยธิน สถานีลาดพร้าว และสถานีรัชดาภิเษก ซึ่งทั้ง 3 สถานีดังกล่าวได้เตรียมรองรับไว้แล้ว โดยมาตรการสูงสุดกรณีมีน้ำท่วมสูง คือ การปิดสถานีที่ได้รับผลกระทบนั้นๆ แต่ยังยืนยันที่จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งระบบต่อไป ส่วนสถานีที่อาจจะได้รับผลกระทบเป็นลำดับถัดไป คือ สถานีจตุจักร และสถานีบางซื่อ
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า จากการที่บขส.ได้ย้ายสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ไปให้บริการที่โรงเบียร์ฮอลแลนด์ ถนนพระราม 2 เป็นการชั่วคราวตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันที่ 31 ต.ค.2554 ปรากฏว่าขณะนี้การให้บริการยังมีความวุ่นวาย และผู้โดยสารยังมีความไม่สะดวกสบายเท่าใด เนื่องจากพื้นที่จำกัด ห้องน้ำมีไม่เพียงพอ ซึ่งได้ประสานงานไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) นำรถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการ โดยขอความร่วมมือผู้โดยสารให้เดินทางมาใกล้ๆ เวลารถออก เพื่อลดความแออัดภายในพื้นที่ และขอความร่วมมือให้รถร่วมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ให้ไปจอดที่อู่รถของตัวเอง โดยจะประสานให้รถขสมก.บริการไปส่งที่อู่ของรถร่วม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้บริการจะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น