พะเยา-กรมศิลป์จับมือกรมธนารักษ์ และจังหวัดพะเยาเร่งอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง - คูเมืองโบราณ เก่าแก่กว่า 27 เมืองของเมืองกว๊านฯ พบ “เวียงประตูชัย” 1 ในเมืองเก่าแก่มีโฉนดทับซ้อนเพียบ
รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยาแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง-คูเมืองโบราณจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน หัวหน้าหอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา ธนารักษ์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ผู้บริหารเทศบาลเมืองพะเยา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องประชุมจอมทอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพะเยา โดยนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเมื่อเร็ว ๆ นี้นั้นได้มีการหาแนวทางอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาการสร้างเมืองทับซ้อนกำแพงเมือง-คูเมืองโบราณ เนื่องจากพบว่าจังหวัดพะเยาในปัจจุบันตั้งทับซ้อนอยู่บนเมืองโบราณที่เรียกว่า“เวียงพะเยา”ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหา การบุกรุก ทำลาย สภาพคูเมือง กำแพงเมือง ให้หมดสภาพลงไปเรื่อยๆ
นายเมธาดล วิจักขณะ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน กล่าวว่า จังหวัดพะเยา มีเมืองโบราณไม่ต่ำกว่า 27 เมือง และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมธนารักษ์เป็นที่ราชพัสดุ 2 เมือง คือ เวียงพระธาตุจอมทอง-เวียงประตูชัย
ส่วนที่เหลือรอการรับรองจากกรมธนารักษ์ และจังหวัดพะเยาในปัจจุบัน ก็ตั้งทับซ้อนอยู่บนเมืองโบราณที่เรียกว่า “เวียงพะเยา” ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหา การบุกรุก ทำลาย สภาพคูเมือง กำแพงเมืองให้หมดสภาพลงไปเรื่อยๆ อีกทั้งที่ผ่านมามีการบุกรุกเมืองโบราณ ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์พัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้น กรมศิลปากรจึงได้ร่วมมือกับธนารักษ์และจังหวัดพะเยา ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง-คูเมืองโบราณขึ้นโดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ซึ่งประกอบด้วยกรมศิลปากร กรมธนารักษ์ หน่วยงานท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และจังหวัดพะเยา เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาและให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
โดยกรมศิลปากรได้ขอให้กรมธนารักษ์ ดำเนินการโดยเฉพาะกรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่ก่อนแล้วให้กรมธนารักษ์ จัดให้เช่าในระยะสั้นแบบปีต่อปี ส่วนในกรณีที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างให้ทำเป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน หรือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชุมชน และกรมธนารักษ์ ไม่ควรนำที่ดินบริเวณกำแพงเมืองคูเมือง ที่เสื่อมสภาพไปพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการค้าและสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ เพราะจะทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของเมืองที่มีประวัติศาสตร์
ขณะที่นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ให้ความสนใจใน “เวียงประตูชัย” 1 ใน 27 เมืองโบราณใน จ.พะเยา มากเป็นพิเศษเพราะเป็นพื้นที่ ที่มีการออกโฉนดทับซ้อน และที่ดินโดยส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่ได้มีการก่อสร้างเพื่อประกอบธุรกิจ และที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก หากดำเนินการตามกฎหมายก็อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่สำคัญต้องให้ความเป็นธรรมต่อประชาชนด้วย
รายงานข่าวจากจังหวัดพะเยาแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง-คูเมืองโบราณจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน หัวหน้าหอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา ธนารักษ์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ผู้บริหารเทศบาลเมืองพะเยา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่ห้องประชุมจอมทอง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพะเยา โดยนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเมื่อเร็ว ๆ นี้นั้นได้มีการหาแนวทางอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาการสร้างเมืองทับซ้อนกำแพงเมือง-คูเมืองโบราณ เนื่องจากพบว่าจังหวัดพะเยาในปัจจุบันตั้งทับซ้อนอยู่บนเมืองโบราณที่เรียกว่า“เวียงพะเยา”ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหา การบุกรุก ทำลาย สภาพคูเมือง กำแพงเมือง ให้หมดสภาพลงไปเรื่อยๆ
นายเมธาดล วิจักขณะ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 น่าน กล่าวว่า จังหวัดพะเยา มีเมืองโบราณไม่ต่ำกว่า 27 เมือง และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมธนารักษ์เป็นที่ราชพัสดุ 2 เมือง คือ เวียงพระธาตุจอมทอง-เวียงประตูชัย
ส่วนที่เหลือรอการรับรองจากกรมธนารักษ์ และจังหวัดพะเยาในปัจจุบัน ก็ตั้งทับซ้อนอยู่บนเมืองโบราณที่เรียกว่า “เวียงพะเยา” ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหา การบุกรุก ทำลาย สภาพคูเมือง กำแพงเมืองให้หมดสภาพลงไปเรื่อยๆ อีกทั้งที่ผ่านมามีการบุกรุกเมืองโบราณ ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์พัฒนาและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ดังนั้น กรมศิลปากรจึงได้ร่วมมือกับธนารักษ์และจังหวัดพะเยา ร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง-คูเมืองโบราณขึ้นโดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ซึ่งประกอบด้วยกรมศิลปากร กรมธนารักษ์ หน่วยงานท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และจังหวัดพะเยา เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาและให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
โดยกรมศิลปากรได้ขอให้กรมธนารักษ์ ดำเนินการโดยเฉพาะกรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างอยู่ก่อนแล้วให้กรมธนารักษ์ จัดให้เช่าในระยะสั้นแบบปีต่อปี ส่วนในกรณีที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างให้ทำเป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน หรือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชุมชน และกรมธนารักษ์ ไม่ควรนำที่ดินบริเวณกำแพงเมืองคูเมือง ที่เสื่อมสภาพไปพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการค้าและสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่ เพราะจะทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของเมืองที่มีประวัติศาสตร์
ขณะที่นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ให้ความสนใจใน “เวียงประตูชัย” 1 ใน 27 เมืองโบราณใน จ.พะเยา มากเป็นพิเศษเพราะเป็นพื้นที่ ที่มีการออกโฉนดทับซ้อน และที่ดินโดยส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่ได้มีการก่อสร้างเพื่อประกอบธุรกิจ และที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก หากดำเนินการตามกฎหมายก็อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่สำคัญต้องให้ความเป็นธรรมต่อประชาชนด้วย