ศูนย์ข่าวภูมิภาค - "น้ำมูล-น้ำชี" วิกฤต ทะลักท่วมพื้นที่ภาคอีสานไม่หยุด บุรีรัมย์จมแล้ว 22 อำเภอ ขณะที่ศรีสะเกษประกาศภัยพิบัติแล้ว 18 อำเภอ สั่งชาวบ้านที่อยู่ติดแม่น้ำมูลเร่งอพยพหนีทั้งหมด เผยมี 4 หมู่บ้านใน "โนนสังข์" ถูกตัดขาดขากโลกภายนอกแล้ว ลุ้นระทึก! แม่น้ำมูลจ่อท่วมถนนเศรษฐกิจกลางเมืองอุบลฯ ด้านชาวกรุงเก่าเหลือทน "ปู" ชี้ "ปัญญาชนกรอกทราย ควายบริหารประเทศ"
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ว่า ยังขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้ (23 ต.ค.)น้ำจากลำตะโคงได้เอ่อล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมวัดระหารเกาะแก้วธุดงคสถาน ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน โดยน้ำได้ท่วมทั้งถนน กุฏิพระสงฆ์ กุฏิแม่ชี ศาลาการเปรียญ และสวนป่ารอบบริเวณพื้นที่วัด ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซม.และบางจุดสูงถึง 1 เมตร
ในเบื้องต้นทางจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้นำกำลังพล มาช่วยขนย้ายสิ่งของภายในวัดขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเสียหายแล้ว นอกจากนี้ทางทหารพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ยังได้ใช้เชือกชักลากเรือบริการรับ-ส่งชาวบ้าน และศิษย์ยานุศิษย์ จากทั้งในและต่างจังหวัดที่เดินทางมา ข้ามน้ำเข้าไปทำบุญ และกราบไหว้สรีระของหลวงปู่จันทร์ เขมสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดระหารฯ ที่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ภายในพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ตลอดทั้งวันด้วย โดยทหาร และ อปพร.จะมาคอยบริการอำนวยความสะดวก ให้กับศิษย์ยานุศิษย์ที่จะเข้ามาทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์น้ำจะลดลงเข้าสู่สภาวะปกติ
ด้านนายพรเชษฐ์ แสงทอง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภาวะน้ำท่วมแล้ว 22 อำเภอ จากทั้งจังหวัดมี 23 อำเภอ ได้รับผลกระทบ 137 ตำบล กว่า 1,500 หมู่บ้าน นาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วกว่า 57,000 ไร่ ถนน 94 สาย วัด 3 แห่ง ส่วนบ้านเรือนกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจเนื่องจากขณะนี้น้ำจากลำน้ำมูล ลำน้ำชี ยังเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนในหลายพื้นที่และทางอำเภอยังรายงานข้อมูลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทางจังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่แล้ว
**ศรีสะเกษประกาศภัยพิบัติ18อำเภอ
เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ยังขยายวงกว้างในพื้นที่หลายอำเภอ โดยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า วันนี้ทางจังหวัดศรีสะเกษ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะน้ำท่วมแล้ว 18 อำเภอ 150 ตำบล ราษฎรได้รับผลกระทบ 98,364 ครัวเรือน จำนวน 430,073 ราย ท่วมบ้านเรือน 155 หลัง แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
ส่วนพื้นที่ทำการเกษตรได้รับผลกระทบ 89,104.75 ไร่ ด้านปศุสัตว์ โค 1,289 ตัว กระบือ 272 ตัว บ่อปลา 141 บ่อ ถนนชำรุดเสียหายเป็นบางส่วน 262 สาย ท่อระบายน้ำเสียหาย 21 แห่ง คอสะพาน 1 แห่ง ฝายน้ำล้น 8 แห่ง โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านแดง ต.โนนปูน อ.ไพรบึง ,โรงเรียนบ้านคลองสุด ต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ และโรงเรียนบ้านศาลาประปุน ต.สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธ์
สำหรับเส้นทางสัญจรยังสัญจรไปมาได้สะดวก ยกเว้น ชุมชนโนนสวรรค์ เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ และ บ้านง้อ ต.น้ำคำ อ.เมืองศรีสะเกษ รวมถึง บ้านผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย ยังมีน้ำท่วมขังเส้นทางเข้า-ออกอยู่ รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านเข้า-ออกได้
**“น้ำมูล”จมหลายหมู่บ้านถูกตัดขาด
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่รอบนอก โดยเฉพาะเขต อ.กันทรารมย์ ซึ่งเป็นอำเภอต่อติดกับ จ.อุบลราชธานี มีหมู่บ้านที่อยู่ติดกับลำแม่น้ำมูล ได้ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ถนนบางสายไม่สามารถสัญจรได้ ต้องอาศัยการเดินทางด้วยเรือท้องแบนที่ทางการจัดหาไว้ให้บริการในการเดินทางเข้า-ออกในหลายหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว
ด้านนายทองวัน จิตโชติ นายก อบต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ กล่าวว่า ในเขตพื้นที่ ต.โนนสังข์ มีบ้านเรือนของประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด 1,700 หลังคาเรือน โดยหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดมี 4 หมู่บ้านคือบ้านหนองโอง บ้านหนองหวาย บ้านโนนสังข์ และบ้านหนองบัว ซึ่งถูกน้ำท่วมนาข้าวเสียหายเกือบทั้งหมด ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกนอกไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ต้องเดินทางด้วยเรือท้องแบนเท่านั้น
“ขณะนี้ได้แจ้งให้ชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ติดกับลำน้ำมูลและอยู่ในที่ลุ่มให้รีบขนย้ายข้าวของมีค่าและอพยพขึ้นมาอยู่บนที่สูงทั้งหมด” นายทองวัน กล่าว
**ลุ้นระทึก!ถนนเศรษฐกิจเมืองอุบล
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ระดับน้ำในแม่น้ำมูลที่สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราน้ำไหลผ่านตัวจังหวัดมากถึงวันละกว่า 370 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ มวลน้ำปริมาณมากดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบถึงผู้อพยพที่ปลูกเพิงพักหนีน้ำตามริมถนนสถิตย์นิมานกาล ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ที่ต้องย้ายเพิงพักหนีน้ำถึง 3 รอบแล้ว ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากอิทธิพลของน้ำเหนือทั้งจากแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ก็กำลังจะส่งผลกระทบต่อถนนสถิตย์นิมานกาล ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจของ อ.วารินชำราบ เมืองอุบลราชธานี ด้วย เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำห่างจากผิวการจราจรประมาณ 20 ซม.เท่านั้น หากน้ำไหลท่วมถนนเมื่อใด ห้างสรรพสิน รวมทั้งร้านค้าประกอบการต่างๆ อาทิ ร้านวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อีกหลายค่าย ปั๊มน้ำมัน ที่ตั้งเรียงรายอยู่ 2 ฝั่งถนนแห่งนี้จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
**สั่งปิดเส้นทางเชื่อม 3 จังหวัดอีสานใต้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นอกจากนี้ระดับน้ำแม่น้ำมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลต่อลำน้ำสาขา โดยเฉพาะลำน้ำมูลน้อย ได้ล้นตลิ่งไหลท่วมถนนสรรพสิทธิ์ ที่ใช้เป็นทางลัดเชื่อมออกไปยัง 3 จังหวัดอีสานใต้โดยมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ทำให้ยานพาหนะทุกชนิดแล่นผ่านไม่ได้ นอกจากนี้น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมสนามไดร์ฟกอล์ฟที่ตั้งอยู่ริมถนนสรรพสิทธิ์ จนต้องปิดกิจการชั่วคราวด้วย
ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสงค์จะเดินทางออกจากตัว จ.อุบลราชธานี ไปยัง จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร และ จ.อำนาจเจริญ จะต้องไปใช้เส้นทางอื่น โดยต้องขับรถอ้อมเป็นระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร
ปัจจุบัน จ.อุบลราชธานี มีเขตน้ำท่วมสูงใน 3 อำเภอคือ อ.เมือง อ.วารินชำราบ และ อ.พิบูลมังสาหาร บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 4,880 ครอบครัวและต้องอพยพ 2,497 ครอบครัว ประชากรกว่า 9,500 คน โรงเรียนและวัด 18 แห่งถูกน้ำท่วม พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 250,000 ไร่ โรงแรมและรีสอร์ตจมน้ำ 5 แห่ง
**กรุงเก่าอัด "ปู" ควายบริหารประเทศ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เวลา 14.00 น.ที่บริเวณประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เขตติดต่อ อ.พยอม อ.วังน้อย มีชาวบ้านกว่า 200 คนจากเขตเทศบาลตำบลพระอินทรราชา มาประท้วงเจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่จะมาปิดประตูระบายน้ำ หลังจากมีคำสั่งจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งให้นายชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์ รองอธิบดีกรมชลประทานมีหน้าที่ถือกุญแจปิด-เปิดประตูน้ำพระอินทร์ราชา และ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รอง ผบช.ภ.1 รักษาการแทน ผบช.ภ.1 ดูแลป้องกันไม่ให้ประชาชนขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
พร้อมกันนี้ ผู้ชุมนุมประท้วงยังได้มีการเขียนป้ายข้อความด่าอย่างรุนแรงด้วย เช่น "ปัญญาชนกรอกทราย "ควาย" บริหารประเทศ"
ต่อมานายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายนัทธี บ่อสุวรรณ นายอำเภอบางปะอิน พล.ต.ต.อนุรักษ์ แตงเกษม ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางมาไกล่เกลี่ยโดยนายวิทยา เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข มาเจรจากับชาวบ้านให้ปิดประตูระบายน้ำไว้ครึ่งหนึ่งแล้วจนถึงวันนี้กระแสน้ำยังแรงมากไหลจนล้นประตูน้ำและออกทางด้านข้างทั้งสองข้าง ตนจึงให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานลองปิดประตูระบายน้ำ ปรากฏว่าปิดไม่ได้เพราะแรงน้ำดันประตูปิด-เปิดไว้แน่น ถ้าขืนเปิดอาจพังลงมาได้ เจ้าหน้าที่จึงยุติการปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา แล้วย้ายไปแก้จุดอื่นต่อไป ทั้งนี้ หลังชาวบ้านได้ฟังคำชี้แจงจากผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้แยกย้ายกันกลับ
**C-130ขนผู้ป่วยหนีน้ำท่วมกรุงส่งโคราช
ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อกลางดึกวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับส่งต่อผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 49 ราย
นพ.คำรณ ไชยศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 14 กล่าวว่า เนื่องจากเกิดอุทกภัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทำให้โรงพยาบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประสานงานไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในส่วนภูมิภาคที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อรับดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ ผอ.การโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี แล้ว 49 ราย ซึ่งได้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ C-130 ลงที่สนามบินกองบิน 1 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กองทัพอากาศ จ.นครราชสีมา ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉินกว่า 20 คัน ซึ่งมีโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 รวมทั้งรถฉุกเฉินหน่วยกู้ภัย เข้าร่วมช่วยเหลือในการลำเลียงผู้ป่วยครั้งนี้ด้วย
“วันนี้ (23)จะมีการทยอยส่งผู้ป่วยหนักจากโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี มาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอีกจำนวนหนึ่ง สำหรับญาติของผู้ป่วยที่ต้องการสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่งานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา หมายเลขโทรศัพท์ 044-235000” นพ.ธีรพล กล่าว
**เหนือ-อีสานเย็นลง-ใต้ฝนตกทั่วไป
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานลักษณะอากาศทั่วไป เมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้(23 ต.ค.)ว่า บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน แต่ยังคง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก จะมีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะนี้
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะ 1-2 วันนี้
***หาดใหญ่เปิด6ศูนย์อพยพรับมือน้ำท่วม
ทางด้านนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ได้ตรวจความพร้อมและเปิดศูนย์อพยพประชาชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ทั้ง 6 ศูนย์ที่ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนหากเกิดกรณีฉุกเฉินน้ำท่วมขึ้นภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เหมือนปีที่ผ่านมา โดยศูนย์อพยพที่ 1 อยู่ที่โรงเรียนเทศบาล 1 เอ็งเสียงสามัคคี ศูนย์อพยพที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 วัดหาดใหญ่ใน ศูนย์อพยพที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านหาดใหญ่ ศูนย์อพยพที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดคลองเรียน ศูนย์อพยพที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดคอหงส์ และศูนย์อพยพที่ 6 บ้านพักครูเทศบาลถนนประชายินดี
นอกจากนี้ ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ ยังได้จัดรถขยายเสียงออกประชาสัมพันธ์ไปในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายปีนี้โดยให้ติดตามจากสัญลักษณ์ของป้ายเตือนภัยระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา และคลองระบายน้ำ ร.1 ที่ทางเทศบาลได้ติดไว้ทั้ง 17 จุด ซึ่งขณะนี้ยังคงขึ้นธงเขียวโดยระดับน้ำในคลองทั้งสองแห่งยังอยู่ในภาวะปกติ รวมทั้งการประกาศเตือนของเทศบาลนครหาดใหญ่ในช่วงที่เข้าสู่ช่วงวิกฤต
นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้ย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันหากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันเนื่องจากปริมาณน้ำอาจจะมากกว่าปีที่ผ่านมา และระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาไม่ทันและไหลบ่าเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่.
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ว่า ยังขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้ (23 ต.ค.)น้ำจากลำตะโคงได้เอ่อล้นตลิ่งไหลทะลักเข้าท่วมวัดระหารเกาะแก้วธุดงคสถาน ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน โดยน้ำได้ท่วมทั้งถนน กุฏิพระสงฆ์ กุฏิแม่ชี ศาลาการเปรียญ และสวนป่ารอบบริเวณพื้นที่วัด ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซม.และบางจุดสูงถึง 1 เมตร
ในเบื้องต้นทางจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้นำกำลังพล มาช่วยขนย้ายสิ่งของภายในวัดขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเสียหายแล้ว นอกจากนี้ทางทหารพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ยังได้ใช้เชือกชักลากเรือบริการรับ-ส่งชาวบ้าน และศิษย์ยานุศิษย์ จากทั้งในและต่างจังหวัดที่เดินทางมา ข้ามน้ำเข้าไปทำบุญ และกราบไหว้สรีระของหลวงปู่จันทร์ เขมสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดระหารฯ ที่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ภายในพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ตลอดทั้งวันด้วย โดยทหาร และ อปพร.จะมาคอยบริการอำนวยความสะดวก ให้กับศิษย์ยานุศิษย์ที่จะเข้ามาทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์น้ำจะลดลงเข้าสู่สภาวะปกติ
ด้านนายพรเชษฐ์ แสงทอง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากภาวะน้ำท่วมแล้ว 22 อำเภอ จากทั้งจังหวัดมี 23 อำเภอ ได้รับผลกระทบ 137 ตำบล กว่า 1,500 หมู่บ้าน นาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายแล้วกว่า 57,000 ไร่ ถนน 94 สาย วัด 3 แห่ง ส่วนบ้านเรือนกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจเนื่องจากขณะนี้น้ำจากลำน้ำมูล ลำน้ำชี ยังเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนในหลายพื้นที่และทางอำเภอยังรายงานข้อมูลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทางจังหวัดบุรีรัมย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่แล้ว
**ศรีสะเกษประกาศภัยพิบัติ18อำเภอ
เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ยังขยายวงกว้างในพื้นที่หลายอำเภอ โดยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า วันนี้ทางจังหวัดศรีสะเกษ ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะน้ำท่วมแล้ว 18 อำเภอ 150 ตำบล ราษฎรได้รับผลกระทบ 98,364 ครัวเรือน จำนวน 430,073 ราย ท่วมบ้านเรือน 155 หลัง แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
ส่วนพื้นที่ทำการเกษตรได้รับผลกระทบ 89,104.75 ไร่ ด้านปศุสัตว์ โค 1,289 ตัว กระบือ 272 ตัว บ่อปลา 141 บ่อ ถนนชำรุดเสียหายเป็นบางส่วน 262 สาย ท่อระบายน้ำเสียหาย 21 แห่ง คอสะพาน 1 แห่ง ฝายน้ำล้น 8 แห่ง โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านแดง ต.โนนปูน อ.ไพรบึง ,โรงเรียนบ้านคลองสุด ต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ และโรงเรียนบ้านศาลาประปุน ต.สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธ์
สำหรับเส้นทางสัญจรยังสัญจรไปมาได้สะดวก ยกเว้น ชุมชนโนนสวรรค์ เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ และ บ้านง้อ ต.น้ำคำ อ.เมืองศรีสะเกษ รวมถึง บ้านผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย ยังมีน้ำท่วมขังเส้นทางเข้า-ออกอยู่ รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านเข้า-ออกได้
**“น้ำมูล”จมหลายหมู่บ้านถูกตัดขาด
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่รอบนอก โดยเฉพาะเขต อ.กันทรารมย์ ซึ่งเป็นอำเภอต่อติดกับ จ.อุบลราชธานี มีหมู่บ้านที่อยู่ติดกับลำแม่น้ำมูล ได้ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ถนนบางสายไม่สามารถสัญจรได้ ต้องอาศัยการเดินทางด้วยเรือท้องแบนที่ทางการจัดหาไว้ให้บริการในการเดินทางเข้า-ออกในหลายหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว
ด้านนายทองวัน จิตโชติ นายก อบต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ กล่าวว่า ในเขตพื้นที่ ต.โนนสังข์ มีบ้านเรือนของประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด 1,700 หลังคาเรือน โดยหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดมี 4 หมู่บ้านคือบ้านหนองโอง บ้านหนองหวาย บ้านโนนสังข์ และบ้านหนองบัว ซึ่งถูกน้ำท่วมนาข้าวเสียหายเกือบทั้งหมด ถนนเข้า-ออกหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกนอกไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ต้องเดินทางด้วยเรือท้องแบนเท่านั้น
“ขณะนี้ได้แจ้งให้ชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ติดกับลำน้ำมูลและอยู่ในที่ลุ่มให้รีบขนย้ายข้าวของมีค่าและอพยพขึ้นมาอยู่บนที่สูงทั้งหมด” นายทองวัน กล่าว
**ลุ้นระทึก!ถนนเศรษฐกิจเมืองอุบล
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ระดับน้ำในแม่น้ำมูลที่สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราน้ำไหลผ่านตัวจังหวัดมากถึงวันละกว่า 370 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ มวลน้ำปริมาณมากดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบถึงผู้อพยพที่ปลูกเพิงพักหนีน้ำตามริมถนนสถิตย์นิมานกาล ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ที่ต้องย้ายเพิงพักหนีน้ำถึง 3 รอบแล้ว ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากอิทธิพลของน้ำเหนือทั้งจากแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ก็กำลังจะส่งผลกระทบต่อถนนสถิตย์นิมานกาล ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจของ อ.วารินชำราบ เมืองอุบลราชธานี ด้วย เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำห่างจากผิวการจราจรประมาณ 20 ซม.เท่านั้น หากน้ำไหลท่วมถนนเมื่อใด ห้างสรรพสิน รวมทั้งร้านค้าประกอบการต่างๆ อาทิ ร้านวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อีกหลายค่าย ปั๊มน้ำมัน ที่ตั้งเรียงรายอยู่ 2 ฝั่งถนนแห่งนี้จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
**สั่งปิดเส้นทางเชื่อม 3 จังหวัดอีสานใต้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นอกจากนี้ระดับน้ำแม่น้ำมูลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลต่อลำน้ำสาขา โดยเฉพาะลำน้ำมูลน้อย ได้ล้นตลิ่งไหลท่วมถนนสรรพสิทธิ์ ที่ใช้เป็นทางลัดเชื่อมออกไปยัง 3 จังหวัดอีสานใต้โดยมีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ทำให้ยานพาหนะทุกชนิดแล่นผ่านไม่ได้ นอกจากนี้น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมสนามไดร์ฟกอล์ฟที่ตั้งอยู่ริมถนนสรรพสิทธิ์ จนต้องปิดกิจการชั่วคราวด้วย
ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสงค์จะเดินทางออกจากตัว จ.อุบลราชธานี ไปยัง จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร และ จ.อำนาจเจริญ จะต้องไปใช้เส้นทางอื่น โดยต้องขับรถอ้อมเป็นระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร
ปัจจุบัน จ.อุบลราชธานี มีเขตน้ำท่วมสูงใน 3 อำเภอคือ อ.เมือง อ.วารินชำราบ และ อ.พิบูลมังสาหาร บ้านเรือนถูกน้ำท่วม 4,880 ครอบครัวและต้องอพยพ 2,497 ครอบครัว ประชากรกว่า 9,500 คน โรงเรียนและวัด 18 แห่งถูกน้ำท่วม พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 250,000 ไร่ โรงแรมและรีสอร์ตจมน้ำ 5 แห่ง
**กรุงเก่าอัด "ปู" ควายบริหารประเทศ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เวลา 14.00 น.ที่บริเวณประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เขตติดต่อ อ.พยอม อ.วังน้อย มีชาวบ้านกว่า 200 คนจากเขตเทศบาลตำบลพระอินทรราชา มาประท้วงเจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่จะมาปิดประตูระบายน้ำ หลังจากมีคำสั่งจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งให้นายชัชวาล ปัญญาวาทีนันท์ รองอธิบดีกรมชลประทานมีหน้าที่ถือกุญแจปิด-เปิดประตูน้ำพระอินทร์ราชา และ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รอง ผบช.ภ.1 รักษาการแทน ผบช.ภ.1 ดูแลป้องกันไม่ให้ประชาชนขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
พร้อมกันนี้ ผู้ชุมนุมประท้วงยังได้มีการเขียนป้ายข้อความด่าอย่างรุนแรงด้วย เช่น "ปัญญาชนกรอกทราย "ควาย" บริหารประเทศ"
ต่อมานายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายนัทธี บ่อสุวรรณ นายอำเภอบางปะอิน พล.ต.ต.อนุรักษ์ แตงเกษม ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางมาไกล่เกลี่ยโดยนายวิทยา เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข มาเจรจากับชาวบ้านให้ปิดประตูระบายน้ำไว้ครึ่งหนึ่งแล้วจนถึงวันนี้กระแสน้ำยังแรงมากไหลจนล้นประตูน้ำและออกทางด้านข้างทั้งสองข้าง ตนจึงให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานลองปิดประตูระบายน้ำ ปรากฏว่าปิดไม่ได้เพราะแรงน้ำดันประตูปิด-เปิดไว้แน่น ถ้าขืนเปิดอาจพังลงมาได้ เจ้าหน้าที่จึงยุติการปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์ราชา แล้วย้ายไปแก้จุดอื่นต่อไป ทั้งนี้ หลังชาวบ้านได้ฟังคำชี้แจงจากผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้แยกย้ายกันกลับ
**C-130ขนผู้ป่วยหนีน้ำท่วมกรุงส่งโคราช
ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อกลางดึกวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับส่งต่อผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 49 ราย
นพ.คำรณ ไชยศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 14 กล่าวว่า เนื่องจากเกิดอุทกภัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทำให้โรงพยาบาลที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประสานงานไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในส่วนภูมิภาคที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อรับดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ ผอ.การโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี แล้ว 49 ราย ซึ่งได้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ C-130 ลงที่สนามบินกองบิน 1 กองพลบินที่ 2 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กองทัพอากาศ จ.นครราชสีมา ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉินกว่า 20 คัน ซึ่งมีโรงพยาบาลใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาลค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 รวมทั้งรถฉุกเฉินหน่วยกู้ภัย เข้าร่วมช่วยเหลือในการลำเลียงผู้ป่วยครั้งนี้ด้วย
“วันนี้ (23)จะมีการทยอยส่งผู้ป่วยหนักจากโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี มาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอีกจำนวนหนึ่ง สำหรับญาติของผู้ป่วยที่ต้องการสอบถามข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่งานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา หมายเลขโทรศัพท์ 044-235000” นพ.ธีรพล กล่าว
**เหนือ-อีสานเย็นลง-ใต้ฝนตกทั่วไป
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานลักษณะอากาศทั่วไป เมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้(23 ต.ค.)ว่า บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน แต่ยังคง ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก จะมีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะนี้
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป โดยภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในระยะ 1-2 วันนี้
***หาดใหญ่เปิด6ศูนย์อพยพรับมือน้ำท่วม
ทางด้านนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ได้ตรวจความพร้อมและเปิดศูนย์อพยพประชาชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ทั้ง 6 ศูนย์ที่ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนหากเกิดกรณีฉุกเฉินน้ำท่วมขึ้นภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เหมือนปีที่ผ่านมา โดยศูนย์อพยพที่ 1 อยู่ที่โรงเรียนเทศบาล 1 เอ็งเสียงสามัคคี ศูนย์อพยพที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 วัดหาดใหญ่ใน ศูนย์อพยพที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านหาดใหญ่ ศูนย์อพยพที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดคลองเรียน ศูนย์อพยพที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดคอหงส์ และศูนย์อพยพที่ 6 บ้านพักครูเทศบาลถนนประชายินดี
นอกจากนี้ ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ ยังได้จัดรถขยายเสียงออกประชาสัมพันธ์ไปในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายปีนี้โดยให้ติดตามจากสัญลักษณ์ของป้ายเตือนภัยระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา และคลองระบายน้ำ ร.1 ที่ทางเทศบาลได้ติดไว้ทั้ง 17 จุด ซึ่งขณะนี้ยังคงขึ้นธงเขียวโดยระดับน้ำในคลองทั้งสองแห่งยังอยู่ในภาวะปกติ รวมทั้งการประกาศเตือนของเทศบาลนครหาดใหญ่ในช่วงที่เข้าสู่ช่วงวิกฤต
นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้ย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันหากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันเนื่องจากปริมาณน้ำอาจจะมากกว่าปีที่ผ่านมา และระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาไม่ทันและไหลบ่าเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่.