ภัยน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้เราเห็นชัดว่าในที่สุดหน้าที่ของรัฐก็กลับคืนสู่สิ่งที่เป็นพื้นฐานมากๆ และประชาชนก็ต้องช่วยตัวเอง แม้รัฐจะเข้าไปช่วยทำคันกั้นน้ำ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะน้ำได้
ภัยธรรมชาตินี้ช่วยให้เราทบทวนบทบาทของรัฐ และบทบาทของการเมืองว่าในที่สุดแล้วก็กลับคืนมาอยู่ที่การช่วยให้ประชาชนมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เรื่องที่ไกลตัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือนโยบายต่างประเทศกลายเป็นเรื่องรอง
ประชาชนไม่อาจคาดหวังจากรัฐมากนัก เพราะเมื่อเกิดภยันตรายก็ต้องพึ่งตนเอง และชุมชนต้องร่วมมือกันป้องกันภัยพิบัติ ในแง่นี้เรื่องประชาธิปไตย ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว และข้อถกเถียงกันของนักวิชาการก็ไม่มีความหมาย
มีสมัยหนึ่งที่รัฐขยายบทบาทในการพัฒนาไปยังหลายกิจกรรม จนคนทั่วไปหวังพึ่งแต่รัฐ ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจึงไม่ได้คิดจะพึ่งตนเอง การร่วมมือของคนในชุมชนมีน้อยมาก จะว่าไปแล้วการพัฒนากลับกลายเป็นการทำลายสปิริตของชุมชนที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิม
ปัจจุบันมีชุมชนมากมายที่หันกลับมาพึ่งตนเอง การร่วมมือของชุมชนเกิดขึ้นเพราะชุมชนเกิดปัญหาที่ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สิน พืชผล หรือการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ชุมชนฟื้นตัวได้เพราะการที่สมาชิกมารวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์บ้าง กลุ่มอาชีพต่างๆ บ้าง
การกระทำเหล่านี้จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย ดังนั้นการเข้ามาทำงานรวมกลุ่มกัน จึงไม่มีเรื่องอำนาจและอิทธิพล ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ที่คนใดคนหนึ่งจะตักตวงไป แต่ประโยชน์เป็นของส่วนรวม และเป็นของทุกคน
การเมืองที่ชาวบ้านทุกคนรู้จักคุ้นเคยดี ก็คือการเลือกตั้งซึ่งมักก่อให้เกิดการแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และเป็นเรื่องของการแพ้-ชนะ ชุมชนหลายแห่งต้องพบกับความแตกแยก และนับวันเงินก็ทวีความสำคัญขึ้น คุณค่าอื่นๆ ที่เคยมีอยู่ในสังคมก็เริ่มอ่อนกำลังลง ชาวบ้านกลายเป็นคนที่หวังจะได้แต่เงิน แม้จะเข้าร่วมประชุมก็ยังต้องมีการจ่ายเงินเป็นเบี้ยเลี้ยง
การเมืองในสังคมไทยมีอยู่สองระดับ ในระดับบนการเมืองเป็นเรื่องของคนชั้นนำเพียงไม่กี่ร้อยคน การแสวงหาอำนาจและอิทธิพล ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐนี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ความเกี่ยวโยงมีอยู่อย่างเดียว คือ นักการเมืองต้องอาศัยคะแนนเสียงจากประชาชนเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
ส่วนการเมืองระดับล่างคือ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เป็นการเมืองระดับท้องถิ่น มีองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. และเทศบาล การเมืองระดับนี้มีผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด และเป็นกิจกรรมที่ประชาชนสามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเขาได้
ในหลายชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันช่วยตัวเองได้ การเมืองระดับบนเป็นเรื่องที่ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตของเขามากนัก แม้แต่การเมืองระดับท้องถิ่นเองก็กลายเป็นเรื่องที่เข้ามาเสริมชีวิตที่พอเพียงแล้วเท่านั้น
การที่ชุมชนสนใจกิจกรรมที่เป็นชีวิตประจำวันของตน และมีการรวมกลุ่มกันทำการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบพอเพียง” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน และเป็นวิถีทางที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจ อิทธิพล การมีประชาธิปไตยแบบพอเพียง สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง และเป็นกระบวนการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งทุน และพึ่งปัจจัยภายนอกมากนัก ในระดับชุมชนแล้ว ประชาธิปไตยแบบพอเพียง สอดคล้องกับวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน และเป็นการสร้างความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างสมาชิกในชุมชน แทนที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก และการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น
ภัยน้ำท่วมได้ให้บทเรียนสำหรับทุกคนว่าในที่สุดการช่วยตนเอง และการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างประชาชนด้วยกัน มีความสำคัญกว่ารัฐและรัฐบาล บทเรียนนี้จะทำให้คนไทยเราหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น และจะว่าไปแล้ว ในความโชคร้ายนี้ก็มีเรื่องดีๆคือทำให้เกิดความปรองดองขึ้นระหว่างคนในชาติ
ภัยธรรมชาตินี้ช่วยให้เราทบทวนบทบาทของรัฐ และบทบาทของการเมืองว่าในที่สุดแล้วก็กลับคืนมาอยู่ที่การช่วยให้ประชาชนมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เรื่องที่ไกลตัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือนโยบายต่างประเทศกลายเป็นเรื่องรอง
ประชาชนไม่อาจคาดหวังจากรัฐมากนัก เพราะเมื่อเกิดภยันตรายก็ต้องพึ่งตนเอง และชุมชนต้องร่วมมือกันป้องกันภัยพิบัติ ในแง่นี้เรื่องประชาธิปไตย ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว และข้อถกเถียงกันของนักวิชาการก็ไม่มีความหมาย
มีสมัยหนึ่งที่รัฐขยายบทบาทในการพัฒนาไปยังหลายกิจกรรม จนคนทั่วไปหวังพึ่งแต่รัฐ ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจึงไม่ได้คิดจะพึ่งตนเอง การร่วมมือของคนในชุมชนมีน้อยมาก จะว่าไปแล้วการพัฒนากลับกลายเป็นการทำลายสปิริตของชุมชนที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิม
ปัจจุบันมีชุมชนมากมายที่หันกลับมาพึ่งตนเอง การร่วมมือของชุมชนเกิดขึ้นเพราะชุมชนเกิดปัญหาที่ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สิน พืชผล หรือการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ชุมชนฟื้นตัวได้เพราะการที่สมาชิกมารวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์บ้าง กลุ่มอาชีพต่างๆ บ้าง
การกระทำเหล่านี้จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย ดังนั้นการเข้ามาทำงานรวมกลุ่มกัน จึงไม่มีเรื่องอำนาจและอิทธิพล ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ที่คนใดคนหนึ่งจะตักตวงไป แต่ประโยชน์เป็นของส่วนรวม และเป็นของทุกคน
การเมืองที่ชาวบ้านทุกคนรู้จักคุ้นเคยดี ก็คือการเลือกตั้งซึ่งมักก่อให้เกิดการแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และเป็นเรื่องของการแพ้-ชนะ ชุมชนหลายแห่งต้องพบกับความแตกแยก และนับวันเงินก็ทวีความสำคัญขึ้น คุณค่าอื่นๆ ที่เคยมีอยู่ในสังคมก็เริ่มอ่อนกำลังลง ชาวบ้านกลายเป็นคนที่หวังจะได้แต่เงิน แม้จะเข้าร่วมประชุมก็ยังต้องมีการจ่ายเงินเป็นเบี้ยเลี้ยง
การเมืองในสังคมไทยมีอยู่สองระดับ ในระดับบนการเมืองเป็นเรื่องของคนชั้นนำเพียงไม่กี่ร้อยคน การแสวงหาอำนาจและอิทธิพล ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐนี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ความเกี่ยวโยงมีอยู่อย่างเดียว คือ นักการเมืองต้องอาศัยคะแนนเสียงจากประชาชนเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
ส่วนการเมืองระดับล่างคือ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกันเอง เป็นการเมืองระดับท้องถิ่น มีองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น อบจ. อบต. และเทศบาล การเมืองระดับนี้มีผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุด และเป็นกิจกรรมที่ประชาชนสามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเขาได้
ในหลายชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันช่วยตัวเองได้ การเมืองระดับบนเป็นเรื่องที่ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตของเขามากนัก แม้แต่การเมืองระดับท้องถิ่นเองก็กลายเป็นเรื่องที่เข้ามาเสริมชีวิตที่พอเพียงแล้วเท่านั้น
การที่ชุมชนสนใจกิจกรรมที่เป็นชีวิตประจำวันของตน และมีการรวมกลุ่มกันทำการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบพอเพียง” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน และเป็นวิถีทางที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจ อิทธิพล การมีประชาธิปไตยแบบพอเพียง สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง และเป็นกระบวนการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งทุน และพึ่งปัจจัยภายนอกมากนัก ในระดับชุมชนแล้ว ประชาธิปไตยแบบพอเพียง สอดคล้องกับวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน และเป็นการสร้างความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างสมาชิกในชุมชน แทนที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก และการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น
ภัยน้ำท่วมได้ให้บทเรียนสำหรับทุกคนว่าในที่สุดการช่วยตนเอง และการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างประชาชนด้วยกัน มีความสำคัญกว่ารัฐและรัฐบาล บทเรียนนี้จะทำให้คนไทยเราหันหน้าเข้าหากันมากขึ้น และจะว่าไปแล้ว ในความโชคร้ายนี้ก็มีเรื่องดีๆคือทำให้เกิดความปรองดองขึ้นระหว่างคนในชาติ