เอเอฟพี – แม้ผู้ประท้วงต่อต้านวอลล์สตรีทที่ขณะนี้ขยายวงไปทั่วอเมริกา อ้างว่าได้แรงบันดาลใจจากตะวันออกกลาง แต่หากมองกันจริงๆ การชุมนุมต่อต้านความคับแค้นทางเศรษฐกิจในยุโรปน่าจะใกล้เคียงกว่า
ตอนที่ผู้ต่อต้านระบอบทุนนิยมกลุ่มแรกกางถุงนอนและปักป้ายทำมือในสวนสาธารณะเล็กๆ ใกล้วอลล์สตรีทสองสัปดาห์ที่แล้ว พวกเขาบอกว่าได้ตัวอย่างมาจากผู้ประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ในอียิปต์
แต่ในความเป็นจริง ความต่างดูจะมากกว่าความเหมือน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ชุมนุมที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ไคโร ไม่มีใครพยายามโค่นล้มรัฐบาล และไม่มีความเสี่ยงถูกหน่วยรักษาความปลอดภัยยิง
กระนั้น ‘ขบวนการยึดวอลล์สตรีท’ ที่ล่วงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 เมื่อวันจันทร์ (3) เริ่มมีความจริงจังมากขึ้น มีการชุมนุมในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นจากบอสตันจนถึงชิคาโกและแอลเอ และสัปดาห์นี้ผู้ประท้วงในนิวยอร์กคาดว่าจะอุ่นหนาฝาคั่งขึ้นจากการสนับสนุนของสหภาพแรงงาน
แต่ถ้าถามผู้ประท้วง10 คนที่ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวมีการศึกษาว่ามีเป้าหมายที่สิ่งใด คำตอบที่ได้จะมี 10 แบบต่างๆ กัน
โกรธแค้นรัฐบาลที่อุ้มสถาบันการเงิน ตกงาน หนี้จากค่าเทอม ภาวะโลกร้อน ตำรวจมือหนัก นี่แค่คำตอบเรียกน้ำย่อยเท่านั้น
การหาผู้นำมาพูดแทนกลุ่มยิ่งยากหนัก
แม้แต่ชายคนหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าเป็นคนจัดการอำนวยความสะดวกภายในแคมป์ยังไม่ยอมรับว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ โดยบอกว่าทุกคนที่มามีเหตุผลและเป้าหมายต่างๆ กัน
สำหรับตัวเขาที่บอกแค่ชื่อว่า แอนโธนี อายุ 28 ปี ต้องการเปลี่ยนแคมป์ที่อยู่ห่างจากตลาดหุ้นนิวยอร์กแค่ไม่กี่ก้าวให้กลายเป็น ‘พื้นที่ปกครองตัวเองที่ปลอดภัยและปลอดจากกฎภายนอก’
แต่เมื่อจำนวนผู้ชุมนุมพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประท้วงอเมริกันอาจหลอมรวมเป็นสิ่งที่คล้ายกับขบวนการต่อต้านที่แท้จริงมากขึ้น
ที่ลอสแองเจลีส มีผู้ชุมนุมราว 300 คนปักหลักอยู่ตั้งแต่วันเสาร์ ที่บอสตัน ผู้ประท้วงประมาณร้อยคนตั้งแคมป์อยู่รวมกัน
ที่ชิคาโก คน 50 คนตั้งแคมป์ในย่านการเงินมากว่า 10 วัน ความไม่พอใจมีหลากหลายเรื่องเหมือนที่นิวยอร์ก แต่การตัดสินใจเด็ดขาด
“เวียดนามทำให้คนรุ่นฉันออกมารวมตัวบนถนนและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ฉันเห็นสิ่งเดียวกันกำลังเกิดขึ้นที่นี่ การเคลื่อนไหวขนาดใหญ่มักเริ่มต้นจากคนกลุ่มเล็กๆ แบบนี้” เอลิเนอร์ บัคลีย์ วัย 61 ปี ที่ขนน้ำและอาหารมาสนับสนุนผู้ประท้วงที่ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวบอก
เหตุการณ์คู่ขนานที่สุดอาจไม่ใช่ที่จัตุรัสทาห์รีร์ แต่เป็นยุโรปที่ผู้คนออกมาระบายความคับแค้นจากภาวะถดถอยและวิกฤตการเงินบนถนน
สเปนมีการชุมนุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากความไม่พอใจในการจัดการปัญหาเศรษฐกิจของเหล่านักการเมือง เดือนที่แล้วฝ่ายซ้ายนับพันเรียกร้องให้ลงประชามติว่าควรระงับแผนการปกป้องภาวะงบประมาณสมดุลของรัฐบาลหรือไม่
การประท้วงลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นทั่วอิตาลี รวมถึงกรีซที่เกิดความวุ่นวายใหญ่โต เมื่อหนุ่มสาวและข้าราชการที่ถูกปลดออกจากงาน ลดเงินเดือนและบำนาญ พากันไปยึดอาคารที่ทำการของรัฐบาล
นอกจากการใช้ไซต์เครือข่ายสังคมอย่างแพร่หลายแล้ว การประท้วงทุกที่จากลอสแองเจลีสจนถึงยุโรป ล้วนมีความขมขื่นใจในเรื่องเดียวกันคือ การที่รัฐบาลเข้าไม่ถึงหัวอกชาวบ้านธรรมดาๆ ในยุคที่งบประมาณติดขัดและเศรษฐกิจไร้ความแน่นอน
แม้แต่การจลาจลและการฉกชิงทรัพย์ในลอนดอนและหลายเมืองของอังกฤษช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ยังถูกมองว่ามีสาเหตุมาจากความสิ้นหวังเช่นเดียวกัน
ที่อเมริกา ความกังวลแบบเดียวกันนี้ได้รับการตอกย้ำจากการที่กลุ่มคนที่มีความคิดเอียงซ้ายเริ่มตาสว่างกับจุดยืนของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และความโกรธแค้นที่มีต่อนักการเมืองทุกฝักฝ่ายรวมถึงชนชั้นนำในแวดวงธุรกิจ
แม้แต่จอร์จ โซรอส หนึ่งในมหาเศรษฐีของโลก ยังออกมาสนับสนุนผู้ประท้วงเมื่อวันจันทร์ โดยบอกว่าผู้ประท้วงถูกยั่วยุจากโบนัสก้อนโตที่แบงก์ใหญ่ในวอลล์สตรีทแจกให้พนักงานและผู้บริหาร
และแม้ยากที่จะหาคำจำกัดความเป้าหมายในการประท้วงได้ แต่ขณะนี้ กลุ่มต่อต้านวอลล์สตรีทเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อมากขึ้น
“เป็นไปไม่ได้ที่จะมองข้าม และตอนนี้เรายังปักหลักอยู่ที่นี่” แอนโธนี ผู้จัดการชุมนุมในสวนหย่อมซัคคอตตี้ หัวมุมถนนวอลล์สตรีท ทิ้งท้าย
ตอนที่ผู้ต่อต้านระบอบทุนนิยมกลุ่มแรกกางถุงนอนและปักป้ายทำมือในสวนสาธารณะเล็กๆ ใกล้วอลล์สตรีทสองสัปดาห์ที่แล้ว พวกเขาบอกว่าได้ตัวอย่างมาจากผู้ประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ในอียิปต์
แต่ในความเป็นจริง ความต่างดูจะมากกว่าความเหมือน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ชุมนุมที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ไคโร ไม่มีใครพยายามโค่นล้มรัฐบาล และไม่มีความเสี่ยงถูกหน่วยรักษาความปลอดภัยยิง
กระนั้น ‘ขบวนการยึดวอลล์สตรีท’ ที่ล่วงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 เมื่อวันจันทร์ (3) เริ่มมีความจริงจังมากขึ้น มีการชุมนุมในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นจากบอสตันจนถึงชิคาโกและแอลเอ และสัปดาห์นี้ผู้ประท้วงในนิวยอร์กคาดว่าจะอุ่นหนาฝาคั่งขึ้นจากการสนับสนุนของสหภาพแรงงาน
แต่ถ้าถามผู้ประท้วง10 คนที่ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวมีการศึกษาว่ามีเป้าหมายที่สิ่งใด คำตอบที่ได้จะมี 10 แบบต่างๆ กัน
โกรธแค้นรัฐบาลที่อุ้มสถาบันการเงิน ตกงาน หนี้จากค่าเทอม ภาวะโลกร้อน ตำรวจมือหนัก นี่แค่คำตอบเรียกน้ำย่อยเท่านั้น
การหาผู้นำมาพูดแทนกลุ่มยิ่งยากหนัก
แม้แต่ชายคนหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าเป็นคนจัดการอำนวยความสะดวกภายในแคมป์ยังไม่ยอมรับว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ โดยบอกว่าทุกคนที่มามีเหตุผลและเป้าหมายต่างๆ กัน
สำหรับตัวเขาที่บอกแค่ชื่อว่า แอนโธนี อายุ 28 ปี ต้องการเปลี่ยนแคมป์ที่อยู่ห่างจากตลาดหุ้นนิวยอร์กแค่ไม่กี่ก้าวให้กลายเป็น ‘พื้นที่ปกครองตัวเองที่ปลอดภัยและปลอดจากกฎภายนอก’
แต่เมื่อจำนวนผู้ชุมนุมพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประท้วงอเมริกันอาจหลอมรวมเป็นสิ่งที่คล้ายกับขบวนการต่อต้านที่แท้จริงมากขึ้น
ที่ลอสแองเจลีส มีผู้ชุมนุมราว 300 คนปักหลักอยู่ตั้งแต่วันเสาร์ ที่บอสตัน ผู้ประท้วงประมาณร้อยคนตั้งแคมป์อยู่รวมกัน
ที่ชิคาโก คน 50 คนตั้งแคมป์ในย่านการเงินมากว่า 10 วัน ความไม่พอใจมีหลากหลายเรื่องเหมือนที่นิวยอร์ก แต่การตัดสินใจเด็ดขาด
“เวียดนามทำให้คนรุ่นฉันออกมารวมตัวบนถนนและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ฉันเห็นสิ่งเดียวกันกำลังเกิดขึ้นที่นี่ การเคลื่อนไหวขนาดใหญ่มักเริ่มต้นจากคนกลุ่มเล็กๆ แบบนี้” เอลิเนอร์ บัคลีย์ วัย 61 ปี ที่ขนน้ำและอาหารมาสนับสนุนผู้ประท้วงที่ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาวบอก
เหตุการณ์คู่ขนานที่สุดอาจไม่ใช่ที่จัตุรัสทาห์รีร์ แต่เป็นยุโรปที่ผู้คนออกมาระบายความคับแค้นจากภาวะถดถอยและวิกฤตการเงินบนถนน
สเปนมีการชุมนุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากความไม่พอใจในการจัดการปัญหาเศรษฐกิจของเหล่านักการเมือง เดือนที่แล้วฝ่ายซ้ายนับพันเรียกร้องให้ลงประชามติว่าควรระงับแผนการปกป้องภาวะงบประมาณสมดุลของรัฐบาลหรือไม่
การประท้วงลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นทั่วอิตาลี รวมถึงกรีซที่เกิดความวุ่นวายใหญ่โต เมื่อหนุ่มสาวและข้าราชการที่ถูกปลดออกจากงาน ลดเงินเดือนและบำนาญ พากันไปยึดอาคารที่ทำการของรัฐบาล
นอกจากการใช้ไซต์เครือข่ายสังคมอย่างแพร่หลายแล้ว การประท้วงทุกที่จากลอสแองเจลีสจนถึงยุโรป ล้วนมีความขมขื่นใจในเรื่องเดียวกันคือ การที่รัฐบาลเข้าไม่ถึงหัวอกชาวบ้านธรรมดาๆ ในยุคที่งบประมาณติดขัดและเศรษฐกิจไร้ความแน่นอน
แม้แต่การจลาจลและการฉกชิงทรัพย์ในลอนดอนและหลายเมืองของอังกฤษช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ยังถูกมองว่ามีสาเหตุมาจากความสิ้นหวังเช่นเดียวกัน
ที่อเมริกา ความกังวลแบบเดียวกันนี้ได้รับการตอกย้ำจากการที่กลุ่มคนที่มีความคิดเอียงซ้ายเริ่มตาสว่างกับจุดยืนของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และความโกรธแค้นที่มีต่อนักการเมืองทุกฝักฝ่ายรวมถึงชนชั้นนำในแวดวงธุรกิจ
แม้แต่จอร์จ โซรอส หนึ่งในมหาเศรษฐีของโลก ยังออกมาสนับสนุนผู้ประท้วงเมื่อวันจันทร์ โดยบอกว่าผู้ประท้วงถูกยั่วยุจากโบนัสก้อนโตที่แบงก์ใหญ่ในวอลล์สตรีทแจกให้พนักงานและผู้บริหาร
และแม้ยากที่จะหาคำจำกัดความเป้าหมายในการประท้วงได้ แต่ขณะนี้ กลุ่มต่อต้านวอลล์สตรีทเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อมากขึ้น
“เป็นไปไม่ได้ที่จะมองข้าม และตอนนี้เรายังปักหลักอยู่ที่นี่” แอนโธนี ผู้จัดการชุมนุมในสวนหย่อมซัคคอตตี้ หัวมุมถนนวอลล์สตรีท ทิ้งท้าย