ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ประจำภาคใต้ เพื่อบรรยายเรื่อง “สังคมโลก สังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาประเทศ” ให้นักศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันชุมชน (วปช.) รุ่นที่ 3 จำนวนประมาณ 60 คน นักศึกษาส่วนมากเป็นผู้นำชุมชน มีบางคนเป็นนักธุรกิจระดับพันล้าน (ผู้จัดบอกผม) ระดับความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาจึงต่างกันมาก บางคนจบ ป.4 บางคนจบปริญญาโท แล้วผมจะพูดอย่างไรดี
ผมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไมต้องป้องกันชุมชน ชุมชนเป็นอะไรไปแล้ว และมีภัยอะไรบ้างที่อยู่ในชุมชน วปช.มีแนวคิดคล้ายกับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหรือไม่?” แต่ด้วยเวลามีน้อยผมจึงใช้วิธีถามเองตอบเอง อย่างไรก็ตาม ผมสามารถสัมผัสได้ชัดเจนว่านักศึกษาที่นี่ให้ความสนใจมากกว่านักศึกษาที่ผมเคยสอนในมหาวิทยาลัย
ใครจะให้นิยามของ “โลกาภิวัตน์ (Globalization)” ว่าอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา แต่สำหรับผมแล้ว ผมชอบนิยามและความเห็นต่อไปนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายอย่างกลางๆ หลวมๆ ว่าคือ “การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวางซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น”
ผมเริ่มทำให้ชัดเจนขึ้นด้วยยกความเห็นของ Wendell Berry (นักเขียนชาวอเมริกัน) สรุปว่า โลกาภิวัตน์ได้ทำหน้าที่หลอมความคิดของคนทั้งโลกอย่างเป็นระบบ ให้เป็นคนในสังคมที่มีลักษณะ 4 ประการ คือ (1) ไม่รู้เรื่องรู้ราว (2) ไม่สนใจซึ่งกันและกัน (3) โง่เขลา และ (4) ไม่สนใจการค้นหาความจริง ผมมีตัวอย่างประกอบแต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้
Kevin Danaher (นักเขียนชาวอเมริกัน) ให้ความเห็นว่า “เป็นเศรษฐกิจโลกที่ (1) ไม่ตั้งอยู่บนโครงสร้างของกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนในการตัดสินใจของประชาชน และ (2) เป็นการดำเนินการอย่างเป็นความลับ”
Noam Chomsky (นักภาษาศาสตร์ นักคิดชาวอเมริกัน) กล่าวว่า “โลกาภิวัตน์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดระบบทรราช บางทีก็เป็นการปกครองควบคุมโดยคนส่วนน้อย เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และเป็นกลุ่มผูกขาดบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงอย่างแน่นเหนียวของอำนาจรัฐกับเอกชน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วสาธารณะไม่สามารถตรวจสอบได้”
ความเห็นต่อมาซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นของใครแต่เข้าใจได้ง่ายว่า “โลกาภิวัตน์คือรัฐบาลของโลกที่ประชาชนไม่ได้เลือก แต่เขาสามารถเข้าไปจุ้นจ้านรวมทั้งไปลงทุนได้ทั่วโลกโดยประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม”
เพื่อให้ความหมายของโลกาภิวัตน์ชัดเจนขึ้น ผมขยายความว่าคือการพยายามที่จะทำให้คนทั้งโลกบริโภคสินค้าที่ทุนข้ามชาติสามารถผูกขาดได้ เช่น พลังงานที่ต้องใช้ฟอสซิล ไม่ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งการควบคุมระบบการศึกษาและระบบความคิดรวมทั้งระบบการสื่อสาร ข่าวสาร แม้แต่อาหารประเภท “แดกด่วน” เป็นต้น
ความจริงแล้วมีคำที่ตรงกันข้ามกับความหมายของโลกาภิวัตน์ คือความเป็นท้องถิ่น (Localization) ผมได้ให้ข้อมูลว่า คนอเมริกันโดยเฉลี่ยต้องบริโภคอาหารที่ต้องมีการขนส่งจากแหล่งผลิตมาไกลถึง 2,200 กิโลเมตร ทำไมเขาไม่ส่งเสริมให้คนบริโภคสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นของตนเอง นอกจากไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากแล้วยังเป็นการกระจายรายได้อีกด้วย
นักคิดบางกลุ่มได้คิดค้นดัชนีชี้วัดความเป็นท้องถิ่นไว้ 5 ตัว คือ (1) ระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างผู้ผลิตกับบริโภค (2) รู้จักค้นหาความพอดีระหว่างการค้าและการผลิตในท้องถิ่น (3) สินค้าแปรเปลี่ยนตามธรรมชาติของฤดูกาล เพราะเป็นสินค้าท้องถิ่น (4) ความสัมพันธ์และดูแลซึ่งกันและกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และ (5) มีพลังที่ช่วยให้การทำลายท้องถิ่นต้องหยุดลง เช่น การระเบิดภูเขาเพื่อเอาหินสินแร่ไปขายอินเดีย เป็นต้น
ผมสรุปประเด็นด้วยภาพข้างล่างนี้
ผมได้ภาพการ์ตูนซ้ายมือมาหลายปีแล้ว แต่บอกตามตรงว่าผมไม่กล้าเผยแพร่ แต่ไม่เข้าใจความหมายของคำ “Apocalypse” เพราะว่าผู้วาดสะกดผิด แล้วผมก็ไม่มีความรู้มากพอว่าที่ถูกมันควรจะเป็นอะไร จนกว่ามีผู้รู้มาบอกว่าตกตัว P ไปหนึ่งตัว ที่ผมเล่ามานี้ก็เพื่อจะเรียนกับท่านผู้อ่านว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาความรู้ครับ
ผมแปลประโยคของผู้วาดการ์ตูน (Chris Madden ผมชอบความคิดเขามาก ค้นได้จากกูเกิลครับ) ว่า “สี่ขบวนรถบรรทุกแห่งการทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง”
คันแรก เป็นการนำของเสียที่เป็นพิษมาทิ้งในบ้านหรือในชุมชนของเรา เช่น โรงถลุงเหล็กต้นน้ำที่จะมาสร้างที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา หรือที่จังหวัดปัตตานี วัตถุดิบหรือแร่เหล็กมาจากประเทศบราซิล ถ่านหินมาจากอินโดนีเซีย น้ำจืดจากบ้านเรา ถลุงเสร็จแล้วทิ้งของเสียที่เป็นพิษทั้งในรูปน้ำ อากาศ สารตกค้าง ไว้ที่บ้านเรา
คันที่สอง เป็นการขนทรัพยากรธรรมชาติ เราเคยส่งไม้สักจนหมดป่า ส่งดีบุกเป็นอันสองสองของโลก เดี๋ยวนี้หมดเกลี้ยง แล้วหันมาขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลก 40-67% แล้วขายให้บริษัทลูก เพื่อกดค่าภาคหลวงให้ต่ำ เช่น ในปี 52 เราได้ขายก๊าซมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท ได้ค่าภาคหลวงเพียง 2 หมื่นล้านบาท แทนที่จะได้สักอย่างน้อย 7-8 หมื่นล้านบาท) คันที่สาม เป็นการขายอาวุธ และคันที่สี่ เป็นการล้างสมองให้คนทิ้งวัฒนธรรมการกินของคนท้องถิ่นเพื่อหันมากินอาหารที่เขาผูกขาดได้
เมื่อความเป็นโลกาภิวัตน์เข้มข้นขึ้น โลกทั้งโลกก็ถูกรวมศูนย์ ถูกมัดไว้ด้วยโซ่ตรวน และเมื่อเศรษฐกิจของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามีปัญหาระบบเศรษฐกิจของโลกก็ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะ “แตกดังโผละ” เหมือนลูกโป่ง
นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็พูดถึงความเสี่ยงดังกล่าว แต่แทนที่จะ “รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สรรค์สร้างเศรษฐกิจและวัฒนธรรมท้องถิ่น” นโยบายรัฐบาลก็ยิ่งถลำเข้าไปอยู่ในโซ่ตรวนที่รัดแน่นมากขึ้น น่าอันตรายยิ่งนัก
ผมเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไมต้องป้องกันชุมชน ชุมชนเป็นอะไรไปแล้ว และมีภัยอะไรบ้างที่อยู่ในชุมชน วปช.มีแนวคิดคล้ายกับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหรือไม่?” แต่ด้วยเวลามีน้อยผมจึงใช้วิธีถามเองตอบเอง อย่างไรก็ตาม ผมสามารถสัมผัสได้ชัดเจนว่านักศึกษาที่นี่ให้ความสนใจมากกว่านักศึกษาที่ผมเคยสอนในมหาวิทยาลัย
ใครจะให้นิยามของ “โลกาภิวัตน์ (Globalization)” ว่าอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา แต่สำหรับผมแล้ว ผมชอบนิยามและความเห็นต่อไปนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายอย่างกลางๆ หลวมๆ ว่าคือ “การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวางซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น”
ผมเริ่มทำให้ชัดเจนขึ้นด้วยยกความเห็นของ Wendell Berry (นักเขียนชาวอเมริกัน) สรุปว่า โลกาภิวัตน์ได้ทำหน้าที่หลอมความคิดของคนทั้งโลกอย่างเป็นระบบ ให้เป็นคนในสังคมที่มีลักษณะ 4 ประการ คือ (1) ไม่รู้เรื่องรู้ราว (2) ไม่สนใจซึ่งกันและกัน (3) โง่เขลา และ (4) ไม่สนใจการค้นหาความจริง ผมมีตัวอย่างประกอบแต่ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้
Kevin Danaher (นักเขียนชาวอเมริกัน) ให้ความเห็นว่า “เป็นเศรษฐกิจโลกที่ (1) ไม่ตั้งอยู่บนโครงสร้างของกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนในการตัดสินใจของประชาชน และ (2) เป็นการดำเนินการอย่างเป็นความลับ”
Noam Chomsky (นักภาษาศาสตร์ นักคิดชาวอเมริกัน) กล่าวว่า “โลกาภิวัตน์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดระบบทรราช บางทีก็เป็นการปกครองควบคุมโดยคนส่วนน้อย เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และเป็นกลุ่มผูกขาดบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงอย่างแน่นเหนียวของอำนาจรัฐกับเอกชน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วสาธารณะไม่สามารถตรวจสอบได้”
ความเห็นต่อมาซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นของใครแต่เข้าใจได้ง่ายว่า “โลกาภิวัตน์คือรัฐบาลของโลกที่ประชาชนไม่ได้เลือก แต่เขาสามารถเข้าไปจุ้นจ้านรวมทั้งไปลงทุนได้ทั่วโลกโดยประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม”
เพื่อให้ความหมายของโลกาภิวัตน์ชัดเจนขึ้น ผมขยายความว่าคือการพยายามที่จะทำให้คนทั้งโลกบริโภคสินค้าที่ทุนข้ามชาติสามารถผูกขาดได้ เช่น พลังงานที่ต้องใช้ฟอสซิล ไม่ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งการควบคุมระบบการศึกษาและระบบความคิดรวมทั้งระบบการสื่อสาร ข่าวสาร แม้แต่อาหารประเภท “แดกด่วน” เป็นต้น
ความจริงแล้วมีคำที่ตรงกันข้ามกับความหมายของโลกาภิวัตน์ คือความเป็นท้องถิ่น (Localization) ผมได้ให้ข้อมูลว่า คนอเมริกันโดยเฉลี่ยต้องบริโภคอาหารที่ต้องมีการขนส่งจากแหล่งผลิตมาไกลถึง 2,200 กิโลเมตร ทำไมเขาไม่ส่งเสริมให้คนบริโภคสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นของตนเอง นอกจากไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากแล้วยังเป็นการกระจายรายได้อีกด้วย
นักคิดบางกลุ่มได้คิดค้นดัชนีชี้วัดความเป็นท้องถิ่นไว้ 5 ตัว คือ (1) ระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างผู้ผลิตกับบริโภค (2) รู้จักค้นหาความพอดีระหว่างการค้าและการผลิตในท้องถิ่น (3) สินค้าแปรเปลี่ยนตามธรรมชาติของฤดูกาล เพราะเป็นสินค้าท้องถิ่น (4) ความสัมพันธ์และดูแลซึ่งกันและกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และ (5) มีพลังที่ช่วยให้การทำลายท้องถิ่นต้องหยุดลง เช่น การระเบิดภูเขาเพื่อเอาหินสินแร่ไปขายอินเดีย เป็นต้น
ผมสรุปประเด็นด้วยภาพข้างล่างนี้
ผมได้ภาพการ์ตูนซ้ายมือมาหลายปีแล้ว แต่บอกตามตรงว่าผมไม่กล้าเผยแพร่ แต่ไม่เข้าใจความหมายของคำ “Apocalypse” เพราะว่าผู้วาดสะกดผิด แล้วผมก็ไม่มีความรู้มากพอว่าที่ถูกมันควรจะเป็นอะไร จนกว่ามีผู้รู้มาบอกว่าตกตัว P ไปหนึ่งตัว ที่ผมเล่ามานี้ก็เพื่อจะเรียนกับท่านผู้อ่านว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาความรู้ครับ
ผมแปลประโยคของผู้วาดการ์ตูน (Chris Madden ผมชอบความคิดเขามาก ค้นได้จากกูเกิลครับ) ว่า “สี่ขบวนรถบรรทุกแห่งการทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง”
คันแรก เป็นการนำของเสียที่เป็นพิษมาทิ้งในบ้านหรือในชุมชนของเรา เช่น โรงถลุงเหล็กต้นน้ำที่จะมาสร้างที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา หรือที่จังหวัดปัตตานี วัตถุดิบหรือแร่เหล็กมาจากประเทศบราซิล ถ่านหินมาจากอินโดนีเซีย น้ำจืดจากบ้านเรา ถลุงเสร็จแล้วทิ้งของเสียที่เป็นพิษทั้งในรูปน้ำ อากาศ สารตกค้าง ไว้ที่บ้านเรา
คันที่สอง เป็นการขนทรัพยากรธรรมชาติ เราเคยส่งไม้สักจนหมดป่า ส่งดีบุกเป็นอันสองสองของโลก เดี๋ยวนี้หมดเกลี้ยง แล้วหันมาขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลก 40-67% แล้วขายให้บริษัทลูก เพื่อกดค่าภาคหลวงให้ต่ำ เช่น ในปี 52 เราได้ขายก๊าซมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท ได้ค่าภาคหลวงเพียง 2 หมื่นล้านบาท แทนที่จะได้สักอย่างน้อย 7-8 หมื่นล้านบาท) คันที่สาม เป็นการขายอาวุธ และคันที่สี่ เป็นการล้างสมองให้คนทิ้งวัฒนธรรมการกินของคนท้องถิ่นเพื่อหันมากินอาหารที่เขาผูกขาดได้
เมื่อความเป็นโลกาภิวัตน์เข้มข้นขึ้น โลกทั้งโลกก็ถูกรวมศูนย์ ถูกมัดไว้ด้วยโซ่ตรวน และเมื่อเศรษฐกิจของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามีปัญหาระบบเศรษฐกิจของโลกก็ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะ “แตกดังโผละ” เหมือนลูกโป่ง
นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็พูดถึงความเสี่ยงดังกล่าว แต่แทนที่จะ “รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ สรรค์สร้างเศรษฐกิจและวัฒนธรรมท้องถิ่น” นโยบายรัฐบาลก็ยิ่งถลำเข้าไปอยู่ในโซ่ตรวนที่รัดแน่นมากขึ้น น่าอันตรายยิ่งนัก