ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ออกนั่งบัลลังก์แบบองค์คณะ อ่านคำพิพากษาตัดสินคดีสมาชิกเสื้อแดงร่วมเผาศาลากลางจังหวัด โดยตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 4 ราย อีก 8 ราย จำคุก 1-3 ปี แต่ให้การเป็นประโยชน์ จึงลดโทษให้ส่วนหนึ่ง ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 9 ราย ยกคำฟ้อง เพราะขาดหลักฐานชี้ชัดในการทำผิด
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 24 ส.ค. ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกนั่งบัลลังก์แบบองค์คณะอ่านคำพิพากษาที่พนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองอุบลราชธานี ยื่นฟ้องสมาชิกกลุ่มเสื้อแดงฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และความผิดต่อเจ้าพนักงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บุกรุกสถานที่ราชการ ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน และวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 มีผู้ต้องหาถูกส่งฟ้องรวมทั้งสิ้น 21 คน
ปรากฏว่า คดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของสมาชิกกลุ่มเสื้อแดง ศาลจึงติดตั้งทีวีวงจรปิดถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษา โดยตั้งเต้นท์ให้สมาชิกคนเสื้อแดงราว 200 คน นั่งฟังการอ่านคำพิพากษาบริเวณข้างบันไดทางขึ้นศาล
โดยศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิตมี 4 ราย คือ น.ส.ปัทมา มูลมิล นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ นายสนอง เกตุสุวรรณ นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ แต่ทั้งหมดให้การเป็นประโยชน์กับรูปคดี จึงลดโทษเหลือจำคุก 33 ปี กับ 4 เดือน
ส่วนผู้ต้องหาให้จำคุก 3 ปี แต่ลดโทษเหลือ 2 ปี มี 4 ราย ประกอบด้วย นายประดิษฐ์ บุญสุข นายลิขิต สุทธิพันธ์ นายไชยา ดีแสง นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา และให้ลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ลดเหลือ 8 เดือน มี 3 ราย คือ นายอุบล แสนทวีสุข นายสุพจน์ ดวงงาม และนางอรอนงค์ บรรพชาติ
สำหรับ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ซึ่งเป็นแกนนำและถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่งฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลมีคำพิพากษาว่า พฤติกรรมนายพิเชษฐ์ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้าย แต่กระทำผิดฐานโฆษณาออกอากาศชักชวนให้มีการชุมนุม และการกระทำความผิด แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการเผาทำลายอาคารศาลากลางจังหวัด
จึงพิพากษายกฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย และให้ลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 9 ราย ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เพราะขาดหลักฐานชี้ชัด
หลังศาลอ่านคำพิพากษา เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดลงจากบัลลังก์ นำกลับเข้าไปควบคุมไว้ที่เรือนจำกลางอุบลราชธานี โดยผู้ต้องหาที่จะถูกปล่อยตัวในค่ำวันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ราย โดยเป็นผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวจนครบอัตราโทษจำนวน 3 คน และอีก 9 คนเป็นผู้ต้องหาที่ศาลยกฟ้อง สำหรับ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ที่ถูกจำคุก 1 ปี ในคำพิพากษาครั้งนี้ พนักงานสอบสวนในคดีเผาเรือที่ชุมชนราชธานีอโศก ได้ขออายัดตัวไว้ดำเนินคดีต่อไป
ด้าน นายวัฒนา จันทสิงห์ ทนายความสมาชิกเสื้อแเดง กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะมายื่นประกันตัวผู้ต้องหาที่เหลือในชั้นอุทธรณ์ทั้ง 9 คน ส่วนจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ต่อไป
ขณะที่ นายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งมาร่วมฟังการอ่านคำพิพากษาด้วยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในภาคอีสาน ตนจะเป็นตัวประสาน เพื่อหาแกนนำที่มีความชัดเจน และไม่ใช่กลุ่มที่เข้ามาหากินกับคนเสื้อแดง เพราะหลังคนเสื้อแดงประสบชัยชนะ มีกลุ่มคนแอบแฝงเข้ามาหาประโยชน์ แนวทางที่ชัดเจนคือ คนเสื้อแดงต้องร่วมกันสร้างกลุ่มให้เหนียวแน่น และนำเสนอความเดือดร้อนต่อ ส.ส.รัฐมนตรี หรือรัฐบาล หรือไม่ ก็ส่งไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ช่วยประสานนำข้อเสนอของคนเสื้อแดงให้ได้รับการปฏิบัติ.
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 24 ส.ค. ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกนั่งบัลลังก์แบบองค์คณะอ่านคำพิพากษาที่พนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองอุบลราชธานี ยื่นฟ้องสมาชิกกลุ่มเสื้อแดงฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และความผิดต่อเจ้าพนักงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บุกรุกสถานที่ราชการ ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน และวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 มีผู้ต้องหาถูกส่งฟ้องรวมทั้งสิ้น 21 คน
ปรากฏว่า คดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของสมาชิกกลุ่มเสื้อแดง ศาลจึงติดตั้งทีวีวงจรปิดถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษา โดยตั้งเต้นท์ให้สมาชิกคนเสื้อแดงราว 200 คน นั่งฟังการอ่านคำพิพากษาบริเวณข้างบันไดทางขึ้นศาล
โดยศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิตมี 4 ราย คือ น.ส.ปัทมา มูลมิล นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ นายสนอง เกตุสุวรรณ นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ แต่ทั้งหมดให้การเป็นประโยชน์กับรูปคดี จึงลดโทษเหลือจำคุก 33 ปี กับ 4 เดือน
ส่วนผู้ต้องหาให้จำคุก 3 ปี แต่ลดโทษเหลือ 2 ปี มี 4 ราย ประกอบด้วย นายประดิษฐ์ บุญสุข นายลิขิต สุทธิพันธ์ นายไชยา ดีแสง นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา และให้ลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ลดเหลือ 8 เดือน มี 3 ราย คือ นายอุบล แสนทวีสุข นายสุพจน์ ดวงงาม และนางอรอนงค์ บรรพชาติ
สำหรับ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ซึ่งเป็นแกนนำและถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่งฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลมีคำพิพากษาว่า พฤติกรรมนายพิเชษฐ์ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้าย แต่กระทำผิดฐานโฆษณาออกอากาศชักชวนให้มีการชุมนุม และการกระทำความผิด แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการเผาทำลายอาคารศาลากลางจังหวัด
จึงพิพากษายกฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย และให้ลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 9 ราย ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เพราะขาดหลักฐานชี้ชัด
หลังศาลอ่านคำพิพากษา เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดลงจากบัลลังก์ นำกลับเข้าไปควบคุมไว้ที่เรือนจำกลางอุบลราชธานี โดยผู้ต้องหาที่จะถูกปล่อยตัวในค่ำวันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ราย โดยเป็นผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวจนครบอัตราโทษจำนวน 3 คน และอีก 9 คนเป็นผู้ต้องหาที่ศาลยกฟ้อง สำหรับ นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ที่ถูกจำคุก 1 ปี ในคำพิพากษาครั้งนี้ พนักงานสอบสวนในคดีเผาเรือที่ชุมชนราชธานีอโศก ได้ขออายัดตัวไว้ดำเนินคดีต่อไป
ด้าน นายวัฒนา จันทสิงห์ ทนายความสมาชิกเสื้อแเดง กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะมายื่นประกันตัวผู้ต้องหาที่เหลือในชั้นอุทธรณ์ทั้ง 9 คน ส่วนจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ต่อไป
ขณะที่ นายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งมาร่วมฟังการอ่านคำพิพากษาด้วยกล่าวว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในภาคอีสาน ตนจะเป็นตัวประสาน เพื่อหาแกนนำที่มีความชัดเจน และไม่ใช่กลุ่มที่เข้ามาหากินกับคนเสื้อแดง เพราะหลังคนเสื้อแดงประสบชัยชนะ มีกลุ่มคนแอบแฝงเข้ามาหาประโยชน์ แนวทางที่ชัดเจนคือ คนเสื้อแดงต้องร่วมกันสร้างกลุ่มให้เหนียวแน่น และนำเสนอความเดือดร้อนต่อ ส.ส.รัฐมนตรี หรือรัฐบาล หรือไม่ ก็ส่งไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ช่วยประสานนำข้อเสนอของคนเสื้อแดงให้ได้รับการปฏิบัติ.