กูเกิล ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลออนไลน์จัดงานเปิดสำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ชู 4 พันธกิจหลักตรงกับ 5 นโยบายกระทรวงไอซีทีไทย ระบุต้องการให้ความรู้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย พร้อมผลักดันธุรกิจโฆษณาออนไลน์ให้เติบโตขึ้น รวมถึงนำกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีให้เข้าสู่โลกออนไลน์ เบื้องต้นเปิดรับคนไทยร่วมทีมบริหารอีก 3 ตำแหน่งเพื่อดูแลการขายครบชุด
นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด กล่าวระหว่างการเปิดสำนักงานกูเกิลในไทยอย่างเป็นทางการว่านโยบายหลักที่กูเกิลวางไว้ 4 หัวข้อหลักนั้นสอดคล้องกับ 5 นโยบายของกระทรวงไอซีที ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรขานรับด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะมากที่สุด
"ในแง่ของการส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะนั้น แน่นอนว่าการดำเนินงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กูเกิลเพียงเจ้าเดียว แต่จะมาจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงในความเร็วที่เพิ่มขึ้น"
สำนักงานกูเกิลในประเทศไทย ถือเป็นแห่งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซียที่เปิดไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยกูเกิลประเทศไทยจะเน้น 4 แนวทางดำเนินการหลัก คือการช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ออนไลน์ที่มีประโยชน์ผ่านการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น พร้อมกับนำเข้านวัตกรรมออนไลน์เพื่อคนไทย โดยจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย และผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยไปออนไลน์ ทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มบี
จุดนี้ นางสาวพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย ให้ข้อมูลเสริมว่ากูเกิลนั้นพร้อมสนับสนุนในแง่การให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดที่ว่า 'การทำเว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์' หรือ 'ธุรกิจไทยโกออนไลน์'
"รัฐบาลนโยบาลรัฐบาลช่วยให้โครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ขณะที่กูเกิลช่วยให้คนไทยสามารถสร้างเว็บได้ ในมุมมองต่างๆ อีเมล เสิร์ช รวมถึงการนำธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่มีแนวคิดให้ผู้ประกอบการนำธุรกิจมาใช้งานบนโลกออนไลน์มากขึ้น"
ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับ 5 นโยบายหลักของกระทรวงไอซีทีที่ประกอบไปด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ การส่งเสริมการใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การส่งเสริมการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และการสนับสนุนการพัฒนาอุสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
นายจูเลียน เพอร์ซูด กรรมการผู้จัดการ กูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงจำนวนประชากรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกูเกิลในประเทศไทยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านคน จากเมื่อช่วงต้นปีอยู่ราว 20 ล้านคน สอดคล้องกับผลสำรวจของบริษัทวิจัย นีลสัน (Nielsen) และสถิติจากเนคเทค
"ในแถบประเทศฝั่งตะวันตก มีการอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในสหรัฐเพียง 3% ขณะที่ยุโรปเพิ่มขึ้น 8% แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับเลข 2 หลัก เช่นเดียวกับอัตรการเติบโตของสมาร์ทโฟนที่มีเพิ่มขึ้นเช่นกัน"
นายอริยะ พนมยงค์ กล่าวเสริมว่า การเข้ามาเปิดสำนักงานในไทย เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยรู้จักกับกูเกิลมากขึ้น เพราะปัจจุบันกูเกิลไม่ได้เป็นเฉพาะบริการค้นหาข้อมูลเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะกูเกิลถือเป็นบริษัทสื่อโฆษณาออนไลน์ ที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอริยะเชื่อว่า อัตราการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีปัจจัยเสริมทั้งจากการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการมาของสมาร์ทโฟน ล้วนทำให้กูเกิลมีแนวโน้มที่ดีในตลาดไทย
"งบประมาณโฆษณาในประเทศไทยถูกใช้ไปกับโฆษณาออนไลน์เพียง 1% เท่านั้น จากงบโฆษณาโดยรวมกว่า 1 แสนล้านบาท ในขณะที่สิงคโปร์ มีการใช้งบไปกับโฆษณาออนไลน์ถึง 7% ส่วนสหรัฐฯใช้งบโฆษณาออนไลน์อยู่ที่สัดส่วน 20 - 30% ของงบโฆษณาทั้งหมด"
รูปแบบธุรกิจโฆษณาของกูเกิลนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ โฆษณาจากการค้นหา (Seach Advertising) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กูเกิล แอดเวิร์ด (Adwords) เป็นรูปแบบข้อความที่ปรากฏขึ้นขณะที่ทำการค้นหา ถัดมาคือโฆษณาผ่านหน้าดิสเพลย์ (Display Advertising) หรือโฆณษาผ่านแบนเนอร์ของเว็บไซต์พันธมิตร และสุดท้ายการโฆษณาผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Advertising) หรือ AdMob ที่ปรากฏขึ้นขณะใช้งานแอปพลิเคชัน ซึ่งพิเศษตรงที่สามารถเลือกแสดงผลตามความสนใจของลูกค้า
ขณะนี้ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัดได้เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งผู้บริหารเพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง ซึ่งล้วนเป็นตำแหน่งงานที่ดูแลการขายโฆษณาทั้งสิ้น สะท้อนว่าการตั้งสำนักงานและจดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศไทยครั้งนี้ แสดงว่ากูเกิลกำลังเร่งเครื่องเพื่อทำตลาดโฆษณาออนไลน์ในเมืองไทยอย่างชัดเจน
นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด กล่าวระหว่างการเปิดสำนักงานกูเกิลในไทยอย่างเป็นทางการว่านโยบายหลักที่กูเกิลวางไว้ 4 หัวข้อหลักนั้นสอดคล้องกับ 5 นโยบายของกระทรวงไอซีที ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรขานรับด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะมากที่สุด
"ในแง่ของการส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะนั้น แน่นอนว่าการดำเนินงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กูเกิลเพียงเจ้าเดียว แต่จะมาจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงในความเร็วที่เพิ่มขึ้น"
สำนักงานกูเกิลในประเทศไทย ถือเป็นแห่งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซียที่เปิดไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยกูเกิลประเทศไทยจะเน้น 4 แนวทางดำเนินการหลัก คือการช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ออนไลน์ที่มีประโยชน์ผ่านการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น พร้อมกับนำเข้านวัตกรรมออนไลน์เพื่อคนไทย โดยจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย และผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยไปออนไลน์ ทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มบี
จุดนี้ นางสาวพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย ให้ข้อมูลเสริมว่ากูเกิลนั้นพร้อมสนับสนุนในแง่การให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดที่ว่า 'การทำเว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์' หรือ 'ธุรกิจไทยโกออนไลน์'
"รัฐบาลนโยบาลรัฐบาลช่วยให้โครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ขณะที่กูเกิลช่วยให้คนไทยสามารถสร้างเว็บได้ ในมุมมองต่างๆ อีเมล เสิร์ช รวมถึงการนำธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่มีแนวคิดให้ผู้ประกอบการนำธุรกิจมาใช้งานบนโลกออนไลน์มากขึ้น"
ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับ 5 นโยบายหลักของกระทรวงไอซีทีที่ประกอบไปด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ การส่งเสริมการใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การส่งเสริมการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และการสนับสนุนการพัฒนาอุสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
นายจูเลียน เพอร์ซูด กรรมการผู้จัดการ กูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงจำนวนประชากรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกูเกิลในประเทศไทยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านคน จากเมื่อช่วงต้นปีอยู่ราว 20 ล้านคน สอดคล้องกับผลสำรวจของบริษัทวิจัย นีลสัน (Nielsen) และสถิติจากเนคเทค
"ในแถบประเทศฝั่งตะวันตก มีการอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในสหรัฐเพียง 3% ขณะที่ยุโรปเพิ่มขึ้น 8% แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับเลข 2 หลัก เช่นเดียวกับอัตรการเติบโตของสมาร์ทโฟนที่มีเพิ่มขึ้นเช่นกัน"
นายอริยะ พนมยงค์ กล่าวเสริมว่า การเข้ามาเปิดสำนักงานในไทย เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยรู้จักกับกูเกิลมากขึ้น เพราะปัจจุบันกูเกิลไม่ได้เป็นเฉพาะบริการค้นหาข้อมูลเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะกูเกิลถือเป็นบริษัทสื่อโฆษณาออนไลน์ ที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอริยะเชื่อว่า อัตราการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีปัจจัยเสริมทั้งจากการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการมาของสมาร์ทโฟน ล้วนทำให้กูเกิลมีแนวโน้มที่ดีในตลาดไทย
"งบประมาณโฆษณาในประเทศไทยถูกใช้ไปกับโฆษณาออนไลน์เพียง 1% เท่านั้น จากงบโฆษณาโดยรวมกว่า 1 แสนล้านบาท ในขณะที่สิงคโปร์ มีการใช้งบไปกับโฆษณาออนไลน์ถึง 7% ส่วนสหรัฐฯใช้งบโฆษณาออนไลน์อยู่ที่สัดส่วน 20 - 30% ของงบโฆษณาทั้งหมด"
รูปแบบธุรกิจโฆษณาของกูเกิลนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ โฆษณาจากการค้นหา (Seach Advertising) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กูเกิล แอดเวิร์ด (Adwords) เป็นรูปแบบข้อความที่ปรากฏขึ้นขณะที่ทำการค้นหา ถัดมาคือโฆษณาผ่านหน้าดิสเพลย์ (Display Advertising) หรือโฆณษาผ่านแบนเนอร์ของเว็บไซต์พันธมิตร และสุดท้ายการโฆษณาผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Advertising) หรือ AdMob ที่ปรากฏขึ้นขณะใช้งานแอปพลิเคชัน ซึ่งพิเศษตรงที่สามารถเลือกแสดงผลตามความสนใจของลูกค้า
ขณะนี้ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัดได้เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งผู้บริหารเพิ่มอีก 3 ตำแหน่ง ซึ่งล้วนเป็นตำแหน่งงานที่ดูแลการขายโฆษณาทั้งสิ้น สะท้อนว่าการตั้งสำนักงานและจดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศไทยครั้งนี้ แสดงว่ากูเกิลกำลังเร่งเครื่องเพื่อทำตลาดโฆษณาออนไลน์ในเมืองไทยอย่างชัดเจน