ASTVผู้จัดการรายวัน-คนบันเทิงเสนอ “ยิ่งลักษณ์”ผลักดันทรัพย์สินทางปัญญาเป็นวาระแห่งชาติ และเดินหน้าโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย
นางสาวมาลา ตั้งประเสริฐ รองประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ภาคเอกชน) หรือปปท.ภาคเอกชน เปิดเผยว่า ภาคเอกชนเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นงานลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร ต้องการที่จะให้รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ให้ความสำคัญกับการผลักดันยุทธศาสตร์เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติในการดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อให้การสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และยังเป็นการสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญและผลักดันโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการรวบรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาไว้ถึง 15 กลุ่มอุตสาหกรรม และสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าและคุณค่าไว้อย่างดี โดยได้กำหนดว่าในอนาคตไทยจะมีรายได้จากเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ไม่ต่ำกว่า 20% ของ GDP หรือมีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท และอยากให้รัฐบาลใหม่สานต่อ โดยอย่ามองว่าเป็นโครงการของรัฐบาลที่ผ่าน เพราะเอกชนมองว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้จริง
นายสัตยะพล สัจจะเดชะ นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการปปท. ภาคเอกชน กล่าวว่า รัฐบาลควรจะมีแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยการสร้างโอกาส สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย เพราะในปี 2558 ไทยและสมาชิกอาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งไทยจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่ขณะนี้ ไม่เช่นนั้น ไทยจะแข่งขันกับอาเซียนอื่นได้ลำบาก โดยต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและทิศทาง เพราะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบโดยตรง
"อยากฝากให้รัฐบาลเร่งผลักดันที่ค้างจากรัฐบาลที่แล้ว โดยเฉพาะกฎหมายความรับผิดของเจ้าของสถานที่ ที่ปล่อยปละให้ผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ใช้สถานที่ กระทำการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งการใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้าละเมิด หรือใช้เป็นสถานที่จำหน่าย เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งหลายๆ ประเทศในยุโรปก็ได้มีกฎหมายในลักษณะนี้"นายสัตยะพลกล่าว
นางสาวมาลา ตั้งประเสริฐ รองประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ภาคเอกชน) หรือปปท.ภาคเอกชน เปิดเผยว่า ภาคเอกชนเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นงานลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร ต้องการที่จะให้รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ให้ความสำคัญกับการผลักดันยุทธศาสตร์เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติในการดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อให้การสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และยังเป็นการสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญและผลักดันโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการรวบรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาไว้ถึง 15 กลุ่มอุตสาหกรรม และสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าและคุณค่าไว้อย่างดี โดยได้กำหนดว่าในอนาคตไทยจะมีรายได้จากเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ไม่ต่ำกว่า 20% ของ GDP หรือมีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท และอยากให้รัฐบาลใหม่สานต่อ โดยอย่ามองว่าเป็นโครงการของรัฐบาลที่ผ่าน เพราะเอกชนมองว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้จริง
นายสัตยะพล สัจจะเดชะ นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการปปท. ภาคเอกชน กล่าวว่า รัฐบาลควรจะมีแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยการสร้างโอกาส สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย เพราะในปี 2558 ไทยและสมาชิกอาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งไทยจะต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่ขณะนี้ ไม่เช่นนั้น ไทยจะแข่งขันกับอาเซียนอื่นได้ลำบาก โดยต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและทิศทาง เพราะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบโดยตรง
"อยากฝากให้รัฐบาลเร่งผลักดันที่ค้างจากรัฐบาลที่แล้ว โดยเฉพาะกฎหมายความรับผิดของเจ้าของสถานที่ ที่ปล่อยปละให้ผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ใช้สถานที่ กระทำการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งการใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้าละเมิด หรือใช้เป็นสถานที่จำหน่าย เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งหลายๆ ประเทศในยุโรปก็ได้มีกฎหมายในลักษณะนี้"นายสัตยะพลกล่าว